Saturday 27 July 2019

แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

แนวข้อสอบในหนังสือ ถาม-ตอบ วิอาญา หากสนใจสามารถสั่งซื้อได้ทั้งในแบบอีบุ๊คและแบบพิมพ์กระดาษครับ


sds

แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


1. นายแดงเคยสมรสและยังไม่ได้หย่าขาดจากภริยา ได้หลอกลวงนางสาวขาวว่าตนเองไม่เคยสมรส และได้พานางสาวขาวไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยนายทะเบียนก็หลงเชื่อว่านายแดงไม่เคยสมรส จึงจดทะเบียนสมรสให้ แต่ต่อมานางขาวรู้ว่านายแดงมีภริยาอยู่แล้ว ดังนี้ ในความผิดฐานแจ้งความเท็จของนายแดงนั้นมีผู้ใดเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายแดง (แนวคำตอบ หน้า 19)

2. นายแดงเคยสมรสและได้หย่าขาดจากภริยา แต่ได้หลอกลวงนางสาวขาวว่าตนเองไม่เคยสมรสมาก่อน และได้พานางสาวขาวไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ โดยนายทะเบียนก็หลงเชื่อว่านายแดงไม่เคยสมรส จึงจดทะเบียนสมรสให้ แต่ต่อมานางขาวรู้ว่านายแดงเคยมีภริยามาแล้ว ดังนี้ ในความผิดฐานแจ้งความเท็จของนายแดงนั้นมีผู้ใดเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับนายแดง (แนวคำตอบ หน้า 19)

3. ตำรวจสายสืบต้องการแกล้งนายแดงให้ถูกดำเนินคดีอาญา จึงไปเสนอกับแดงว่าหากนายแดงหายาบ้ามาขายให้ตนได้ จะซื้อต่อจากนายแดงในราคาที่สูงเพื่อจูงใจให้นายแดงไปหายาบ้ามาขายให้ตนทั้ง ๆ ที่นายแดงไม่เคยขายยาบ้ามาก่อน เมื่อนายแดงไปหายาบ้ามาขายให้จริง สายสืบและตำรวจก็แสดงตัวเข้าจับกุมนายหนึ่งในความผิดฐานมียาเสพติดไว้เพื่อจำหน่าย ดังนี้ ตำรวจสายสืบถือว่าเป็นผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 20)

4. นายดำทราบว่านายแดงอยากให้ลูกชายสอบติดตำรวจ จึงเสนอต่อนายแดงว่าตนเองเป็นกรรมการสอบคัดเลือกตำรวจสามารถช่วยเหลือลูกของนายแดงเป็นตำรวจได้ แต้ต้องเสียค่าดำเนินการให้นายดำเป็นเงิน 100,000 บาท นายแดงอยากให้ลูกได้เป็นตำรวจจึงยินยอมจ่ายเงินให้นายดำ ต่อมาลูกของนายแดงสอบตำรวจไม่ติดเพราะนายดำไม่ได้เป็นกรรมการสอบคัดเลือก นายแดงรู้ว่าถูกหลอกจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ดังนี้ นายแดงถือเป็นผู้เสียหายหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 21)

5. นายแดงได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากบริษัทรถดี จำกัด โดยในสัญญาเช่าซื้อมาข้อสัญญาระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิที่จะนำรถไปโอนหรือจำนำกับบุคคลอื่นได้ หลังจากที่นายแดงได้ชำระค่าเช่าซื้อมาได้ 1 ปี นายแดงอยากเปลี่ยนรถใหม่ นายดำกับพวกทราบจึงได้เข้ามาเสนอขอซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต่อโดยให้จะให้ค่าดาวน์รถและค่างวดที่นายแดงได้ส่งไปแล้ว และเปลี่ยนสัญญาผู้เช่าซื้อกับบริษัท รถดี จำกัด มาเป็นชื่อของนายดำ นายแดงหลงเชื่อจึงได้ขายดาวน์และมอบรถให้นายดำ เมื่อนายดำได้รับมอบรถยนต์จากนายแดงแล้วไม่ยอมดำเนินการเปลี่ยนสัญญาตามข้อตกลงและได้เอารถยนต์คันดังกล่าวหายไป ดังนี้ผู้ใดเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง ตาม มาตรา 2 (4) (แนวคำตอบ หน้า 22)

6. นายหนึ่งเป็นตัวแทนและผู้จัดการร้านขายรองเท้าชื่อดังยี่ห้อหนึ่ง นายหนึ่งได้แจ้งลูกค้าของร้านว่า ร้องเท้ารุ่นใหม่ของทางร้านปรับราคาขึ้นจากเดิมที่ขายอยู่คู่ละ 1,900 บาท เป็น 2,400 บาท ซึ่งความจริงทางบริษัทไม่ได้มีการขึ้นราคาแต่อย่างใด นายหนึ่งจึงเอาเงินส่วนต่างราคาที่แอบขึ้นราคาไปใช้ส่วนตัว ต่อมาทางบริษัทเจ้าของร้านจับได้ ในการกระทำความผิดของนายหนึ่งผู้ใดถือเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายหนึ่งบ้าง (แนวคำตอบ หน้า 22)

7. นายแดงถูกนายดำทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส นายขาวซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของนายแดง ได้เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับนายดำ พนักงานสอบสวนเห็นว่านายขาวไม่ใช่ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่พนักงานสอบสวนไม่รับร้องทุกข์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 24)

8. นายแดงได้ลักทรัพย์ในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ และได้หลบไปแต่ไปถูกจับได้ที่อำเภอดอยสะเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ พนักงานสอบสวน สภ.ดอยสะเก็ตได้ทำการสอบสวนและสรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 38)

9. พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บ ตาม ป.อาญามาตรา 295 ซึ่งได้มีการสอบสวนโดยชอบมาตลอด ในชั้นพิจารณาคดีของศาลปรากฎว่าดวงตาของผู้เสียหายได้บาดจนไม่สามารถรักษาให้หายได้ เป็นอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 พนักงานอัยการจึงยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง เพื่อขอให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ดังนี้อัยการจะขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในความผิดดังกล่าวได้หรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 38)

10. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ตามที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนมา ครั้นสืบพยานโจทก์ไปได้ 2 ปาก พนักงานอัยการโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นว่า จำเลยกระทำผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 โดยพนักงานสอบสวนยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์มาก่อน ดังนี้พนักงานอัยการจะมีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าวหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 39)

sds

11. ร้อยตำรวจตรีสมหมายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนของ สภ.เมืองพะเยา ได้ใช้ให้จ่าสิบตำรวจเอกสมศักดิ์ทำการสอบปากคำผู้ต้องหาแทน เนื่องจากร้อยตำรวจตรีสมหมายหิวข้าว เมื่อทานข้าวเสร็จแล้วร้อยตำรวจตรีสมหมายก็กลับมาสอบปากคำผู้ต้องหาต่อจนเสร็จ ดังนี้การสอบสวนที่เกิดขึ้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 40)

12. นายแดงยิงนายดำที่เขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา นายดำถูกนำมาส่งโรงพยาบาลพะเยาเพื่อรักษา และต่อมานายดำได้ถึงแก่ความตายที่โรงพยาบาลซึ่งเป็นท้องที่สอบสวนของ สภ.เมืองพะเยา ดังนี้ หากพนักงานสอบสวน สภ.เมืองพะเยา ได้ทำการสอบสวนความผิดที่เกิดขึ้น การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 43)

13. นายหนึ่งทราบดีว่านายสองจะเดินทางจากหมอชิดไปจังหวัดเชียงราย นายหนึ่งต้องการฆ่านายสองจึงแอบเอายาพิษในในน้ำดื่มของนายสอง นายสองดื่มน้ำขณะอยู่ที่สถานีหมอชิด ปรากฏว่าเมื่อถึงจังหวัดพิษณุโลก นายสองถึงแก่ความตายจากการถูกวางยาพิษ ดังนี้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้น (แนวคำตอบ หน้า 43)

14. นายหนึ่งทราบดีว่านายสองจะเดินทางจากหมอชิดไปจังหวัดเชียงราย นายหนึ่งต้องการฆ่านายสองจึงแอบเอายาพิษในในน้ำดื่มของนายสอง นายสองดื่มน้ำขณะอยู่ที่สถานีหมอชิด ปรากฏว่าเมื่อถึงจังหวัดพิษณุโลก นายสองถึงแก่ความตายจากการถูกวางยาพิษ หากพนักงานสอบสวน สภ.เมืองพิษณุโลกได้ทำการสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้น นายสามซึ่งเป็นบิดาของนายสองรู้ว่าพนักงานสอบสวน สภ.เมืองพิษณุโลกไม่มีอำนาจสอบสวนแต่ก็ไม่ได้คัดค้านการสอบสวนดังกล่าว จนพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล พนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลกมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 44)

15. นายแดงยิงนายดำที่เขตอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา นายดำได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกนำมาส่งโรงพยาบาลพะเยา และตายที่โรงพยาบาลซึ่งเป็นท้องที่สอบสวนของ สภ.เมืองพะเยา พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพะเยาได้สอบสวนโดยการสอบปากคำผู้ต้องหาและพยานที่เกี่ยวข้อง และได้ส่งสำนวนให้กับพนักงานสอบ สภ.แม่ใจ ทำการสอบสวนต่อเพราะพนักงานสอบสวน สภ.แม่ใจ เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ การสอบสวนที่เกิดขึ้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 44)

16. นายแดงได้ลักทรัพย์ของนายดำบนรถไฟความเร็วต่ำ ซึ่งแล่นจากจังหวัดลำปางไปจังหวัดพิษณุโลก เมื่อถึง อ.เมือง จังหวัดพิษณุโลก นายดำรู้ว่าทรัพย์ของตนเองหายไป ดังนี้ หากนายดำต้องการร้องทุกข์ต้องร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนท้องที่ใด (แนวคำตอบ หน้า 47)

17. นายแดงได้ลักทรัพย์นายจอนห์คนอังกฤษที่ประเทศอังกฤษ และได้หลบหนีมาที่ประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้ร้องขอให้ลงโทษนายแดงตามกฎหมาย ดังนี้ พนักงานสอบสวนท้องที่ใดเป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวน (แนวคำตอบ หน้า 50)

18. นายหนึ่งเป็นผู้จัดการร้านของบริษัท พะเยา การค้าจำกัด ได้หลอกขายสินค้าแพงกว่าราคาที่บริษัทกำหนด และเอาเงินส่วนต่างจากราคาที่แท้จริงไป เมื่อบริษัท พะเยาการค้า จำกัดทราบเรื่องจึงให้ นายสองกรรมการผู้จัดการของบริษัท เข้าร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวน สภ.เมืองพะเยาได้ทำการสอบสวนจนเสร็จและส่งสำนวนพร้อมความเห็นควรสั่งฟ้องนายหนึ่งต่อศาลให้อัยการจังหวัดพะเยา นายสามพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนจึงฟ้องคดีนายหนึ่งต่อศาลในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ดังนี้การฟ้องคดีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 53)

19. นายหนึ่งถูกนายสองฉ้อโกงเงินไปหนึ่งหมื่นบาท นายหนึ่งได้ไปทวงถามหลายครั้งให้นายสองคืนเงิน นายสองก็บ่ายเบี่ยงไม่ยอมคืนเงิน นายหนึ่งจึงเข้าไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน โดยกล่าวกับพนักงานสอบสวนว่า มาแจ้งความเพื่อให้ตำรวจลงบันทึกประจำวันว่าตนไม่ได้ประสงค์จะไม่ดำเนินคดี แต่หากนายสองไม่จ่ายเงินคืน จะดำเนินคดีอาญากับนายสองในอนาคต ต่อมาปรากฎว่านายสองไม่จ่ายเงินคืน นายหนึ่งจึงได้แจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีนายหนึ่ง พนักงานสอบสวนจึงได้เรียกตัวนายหนึ่งไปสอบสวน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีดังกล่าวหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 55)

20. นายหนึ่งและนายสองถูกนายสามทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องนายสามต่อศาลในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และคดีได้อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล ดังนี้นายสองจะยื่นฟ้องนายสามเป็นจำเลยในความผิดดังกล่าวได้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 59)

21. นายหนึ่งและนายสองถูกนายสามทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องนายสามต่อศาลในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนี้นายสองจะยื่นฟ้องนายสามเป็นจำเลยในความผิดดังกล่าวอีกได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 59)

22. นายแดงถูกลักทรัพย์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายดำในความผิดฐานลักทรัพย์ต่อศาล โดยนายแดงได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม เมื่อศาลอนุญาต ระหว่างคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา นายแดงตายลง นายขาวบุตรของนายแดงจะดำเนินคดีต่อไปได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 61)

23. นายแดงถูกลักทรัพย์ได้เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คดีอยู่ในระหว่างการสอบสวน นายแดงหัวใจวายถึงแก่ความตาย ดังนี้นายขาวลูกของนายแดงจะดำเนินคดีต่อไปได้หรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 61)

24. นายแดงซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้ยื่นฟ้องนายดำต่อศาล คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล นายแดงประสบอุบัติเหตุทำให้ถึงแก่ความตาย นายขาวบุตรของนายแดงจะดำเนินคดีต่อไปแทนนายแดงได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 62)

25. นายหนึ่งบิดาของนายสองซึ่งถูกนายสามทำร้ายร่างกายจนบาดเจ็บไม่สามารถจะจัดการเองได้ นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องนายดำในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาปรากฎว่านายหนึ่งป่วยเสียชีวิตกระทันหัน นายสี่ซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งอีกคนและเป็นพี่ชายของนายสองจะดำเนินคดีต่อไปแทนนายหนึ่งได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 62)

26. พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยใน 2 ข้อหา คือ กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และความผิดฐานขับรถโดยประมาท ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก ต่อมาผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในความผิดที่ฟ้องจำเลยทั้งสอง ดังนี้ ผู้เสียหายจะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 63)

27. นายจันทร์เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่านายอังคารได้ลักทรัพย์ไป พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนและส่งสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาล คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ต่อมาพนักงานอัยการเห็นว่านายอังคารไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตัวจริงจึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้อต่อศาล ศาลมีคำสั่งอนุญาต นายจันทร์ผู้เสียหายจะฟ้องนายอังคารต่อศาลได้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 69)

28. นายจันทร์เข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่านายอังคารได้ยักยอกทรัพย์ไป พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนและส่งสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลต่อมาพนักงานอัยการเห็นว่านายอังคารไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิดตัวจริง จึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้อต่อศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง นายจันทร์จะยื่นฟ้องนายอังคารในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ได้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 69)

29. นายจันทร์ผู้เสียหายเป็นโจทก์ได้ยื่นฟ้องนายอังคารเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ในระหว่างการพิจารณาคดีนายจันทร์สงสารนายอังคารที่ตกเป็นจำเลยได้รับความลำบากจึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องนายอังคารได้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 69)

30. นายจันทร์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาความผิดฐานยักยอกทรัพย์กับนายอังคาร แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จนายจันทร์รีบร้อนจึงเป็นโจทก์ได้ยื่นฟ้องนายอังคารเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ในระหว่างการพิจารณาคดีนายจันทร์สงสารนายอังคารที่ตกเป็นจำเลยได้รับความลำบากจึงยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต การถอนฟ้องของผู้เสียหายนั้นจะตัดสิทธิพนักงานอัยการที่จะฟ้องคดีใหม่ หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 69)

sds

31. พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลในความผิดฐานหมิ่นประมาท คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ต่อมาผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน การถอนคำร้องทุกข์ดังกล่าวมีผลทำให้คดีอาญาระงับลงหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 74)

32. นายหนึ่งได้ถูกนายสองลักรถยนต์ นายหนึ่งจึงได้แจ้งเรื่องรถหายต่อบริษัทประกันภัยที่ทำประกันโจรกรรมรถไว้ โดยบริษัทประกันได้ชำระเงินให้กับนายหนึ่งตามสัญญาประกันภัยที่ทำไว้กับบริษัทตามมูลค่าราคารถที่เอาประกัน ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายสองต่อศาลในความผิดฐานลักทรัพย์ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา บริษัทประกันภัยผู้รับช่วงสิทธิจึงยื่นคำร้องขอต่อศาลให้นายสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการที่นายสองลักรถยนต์ของนายหนึ่งไป ดังนี้ บริษัทประกันภัยมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้นายสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 91)

33. เจ้าพนักงานตำรวจได้สืบทราบมาว่านายแดงผู้ต้องหากระทำในคดีลักทรัพย์ได้หลบหนีไปอยู่ในบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้ไปร้องขอให้ศาลออกหมายจับนายแดง ศาลเห็นว่ามีพยานพอสมควรว่านายแดงได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ และเป็นคดีที่มีโทษจำคุกสามปี จึงออกหมายจับให้ การออกหมายจับของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 95)

34. นายหนึ่งซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของนายสองทราบวานายสองได้ทะเลาะกับภริยาและได้กักขังภริยาไว้ในห้องไม่ยอมให้ออกมาเป็นเวลาหลายเดือน นายหนึ่งจะนำเรื่องดังกล่าวไปแจ้งตำรวจ เมื่อตำรวจทราบและเห็นว่าการกักขังดังกล่าวเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังโดยมิชอบ จึงขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านของนายสอง เพื่อหรือช่วยเหลือภริยาของนายสองที่ถูกกักขังไว้ได้ ดังนี้ ศาลจะออกหมายค้นให้ในกรณีดังกล่าวได้หรือไม่ เพราะเหตุใด (แนวคำตอบ หน้า 97)

35. สิบตำรวจเอกสมชายและสิบตำรวจโทสมหมายได้ออกตรวจพื้นที่ในเวลากลางคืน เห็นนายหนึ่งกำลังจะปีนข้ามรั้วบ้านของประชาชน จึงขอเข้าตรวจค้นร่างกายพบในตัวของนายหนึ่งมีอุปกรณ์ในการงัดบ้านอยู่จึงจับกุมตัวนายหนึ่งไปยังสถานีตำรวจ ดังนี้ การจับที่เกิดขึ้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 99)

36. นายแดงแอบปีนเข้ามาในบ้านของนายดำเพื่อขโมยไก่ชน พอดีนายดำเห็นจึงได้ร้องเอะอะขึ้นจนเพื่อนบ้านซึ่งเป็นญาติของนายดำพากันวิ่งมาดู นายแดงได้ยินเสียงคนร้องกลัวว่าจะถูกจับได้จึงปีนรั้วหนี แต่นายดำและญาติช่วยกันจับนายแดงไว้ โดยที่คนที่จับนั้นไม่มีใครเป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และไม่มีหมายจับ ดังนี้ การจับที่เกิดขึ้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 102)

37. ตำรวจจับกุมนายหนึ่งได้ในข้อหาพยายามฆ่านายแดง นายหนึ่งให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าปืนของกลางที่นำมาใช้ยิงนายแดงนั้นได้ไปเก็บไว้ที่ห้องพักในหน่วยบริการประชาชนของตำรวจ ตำรวจจึงได้เข้าไปตรวจค้นในห้องพักดังกล่าวพบปืนของกลางเก็บอยู่ในตู้จึงเก็บมาเป็นหลักฐานดำเนินคดีกับนายหนึ่ง นายหนึ่งต่อสู้ว่าการค้นในสถานที่ซึ่งเป็นที่พักนั้นไม่ชอบเพราะเป็นที่รโหฐานต้องมีหมายค้น ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าการค้นเกิดขึ้นโดยชอบหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 110)

38. พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายแดงเป็นจำเลยต่อศาลในความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ในระหว่างการสอบสวนนายแดงได้ขอให้ศาลปล่อยชั่วคราว โดยศาลให้ปล่อยชั่วคราวโดยมีประกัน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลปรากฎว่าไม่ได้นำตัวนายแดงมาศาลเพื่อฟ้องคดีด้วย ศาลจึงไม่รับฟ้องของพนักงานอัยการโดยอ้างว่าต้องนำตัวจำเลยมาศาลด้วย ดังนี้ คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 133)

39. พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาโดยกล่าวในฟ้องว่าจำเลยถูกจำคุกอยู่ในคดีอื่นของศาลนั้น แต่ได้หลบหนีไปจากเรือนจำเสียแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อโจทก์ไม่มีตัวจำเลยอยู่ในขณะที่ยื่นฟ้อง ศาลจึงไม่รับฟ้อง คำสั่งของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 134)

40. พนักงานอัยการยื่นฟ้องนายดำเป็นจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลได้มีคำสั่งประทับฟ้องโดยที่ไม่ได้ไต่สวนมูลฟ้อง คำสั่งศาลที่ประทับฟ้องไว้พิจารณาโดยไม่ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องก่อนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 141)

41. นายหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องนายสองเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันไต่สวนมูลฟ้อง แต่ศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยที่ไม่ได้สั่งประทับรับฟ้องไว้ก่อน คำพิพากษาของศาลที่ยกฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 142)

42. นายหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องนายสองเป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาท ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง ในวันไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่ได้นำพยานมาสืบให้ศาลเห็นได้ว่าคดีมีมูล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโดยที่ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของศาลไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะเห็นว่าเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาของคดีแล้วชอบที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์เท่านั้น คำสั่งยกคำร้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 144)

43. ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง ศาลส่งสำเนาคำฟ้องของโจทก์ให้จำเลยพร้อมทั้งวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง ปรากฎว่าจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาล ศาลจึงทำการไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำมาแสดงนั้นมีมูลจึงมีคำสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา ดังนี้คำสั่งประทับฟ้องของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 146)

44. นายจันทร์ได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่านายอังคารได้ลักทรัพย์ของตนเองไป เมื่อร้องทุกข์เสร็จนายจันทร์เห็นว่าการสอบสวนของตำรวจช้ามาก จึงยื่นฟ้องนายอังคารต่อศาลเอง ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง แต่เมื่อถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องนายจันทร์และทนายความโจทก์มาศาล และศาลเห็นโจทก์ขาดนัดไต่สวนมูลฟ้อง จึงมีคำสั่งยกฟ้อง ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายอังคารในความผิดฐานลักทรัพย์ ดังนี้ พนักงานอัยการจะฟ้องนายอังคารได้อีกหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 149)

45. ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกง ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้อง แต่จำเลยไม่ได้มาในวันไต่สวนมูลฟ้อง ปรากฏว่าศาลมีคำสั่งประทับฟ้องไว้พิจารณา และต่อมาในชั้นพิจารณาคดี ทนายความฝ่ายโจทก์ได้เบิกคำให้การของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายต่อศาล ศาลจะรับฟังคำให้การของโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 152)

46. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายแดงเป็นจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลจึงสั่งงดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งงดสืบพยานของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 156)

47. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายแดงเป็นจำเลยในความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามจำเลยว่าได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลจึงสั่งงดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งงดสืบพยานของศาลชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 156)

48. โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์และขอให้ศาลลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 แต่ในทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่ลักทรัพย์ ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามที่พิจารณาได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 164)

49. ในกรณีที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 แต่ในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เท่านั้น ศาลจะลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ ตามที่พิจารณาได้หรือไม่อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 165)

50. โจทก์ฟ้องและบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 แต่ในทางพิจารณาของศาลได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามที่พิจารณาได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 165)

51. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 แต่ในทางพิจารณาคดีศาลเห็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 167)

52. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้พิจารณาและได้มีคำพิพากษาว่ายกฟ้อง เพราะเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด ดังนี้ หากโจทก์ต้องการจะอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จะยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 170)

53. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้พิจารณาและได้มีคำพิพากษาว่ายกฟ้อง เพราะเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง ดังนี้ โจทก์จะยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 170)

54. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้พิจารณาและได้มีคำพิพากษาว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีลดโทษให้กึ่งหนึ่ง พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ดังนี้ หากโจทก์และจำเลยต้องการจะอุทธรณ์ โจทก์และจำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 171)

55. พนักงานอัยการโจทก์และนายจันทร์จำเลยต่างยื่นอุทธรณ์ โดยโจทก์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยโดยไม่ลดโทษให้ ส่วนจำเลยขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาโดยศาลเห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยนั้นไม่ชอบ ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ลดโทษให้ จึงแก้เป็น จำคุกนายจันทร์จำเลย 5 ปี ดังนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ (แนวคำตอบ หน้า 176)

56. พนักงานอัยการโจทก์พอใจคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่ได้ยื่นอุทธรณ์อีก มีแต่นายจันทร์จำเลยแต่ฝ่ายเดียวที่ยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยนั้นไม่ชอบ จึงพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นไม่ลดโทษให้ เป็นจำคุกจำเลย 5 ปี กรณีเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย (แนวคำตอบ หน้า 177)

57. ในคดีซึ่งจำเลยผู้หนึ่งอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา ซึ่งให้ลงโทษจำเลยหลายคนในความผิดฐานเดียวกันหรือต่อเนื่องกัน ถ้าศาลอุทธรณ์กลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือ ลดโทษให้จำเลยจะมีผลต่อจำเลยคนอื่นหรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 179)

58. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายหนึ่งว่ากระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (11) ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาว่านายหนึ่งกระทำความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษนายหนึ่งในความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ไม่ได้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง แต่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ธรรรมดา ตามาตรา 334 เท่านั้น ลงโทษจำคุก 3 ปี โจทก์และจำเลยต่างยื่นอุทธรณ์ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าขอให้ศาลลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ตามาตรา 335 ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษายื่นตามศาลชั้นต้น คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 183)

59. พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องนายหนึ่งว่ากระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาว่านายหนึ่งกระทำความผิดตามฟ้องพิพากษาลงโทษนายหนึ่งในความผิดฐานชิงทรัพย์ ลงโทษจำคุก 6 ปี โจทก์และจำเลยต่างยื่นอุทธรณ์ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่าขอให้ศาลลงโทษจำเลยสถานหนัก ส่วนจำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาแล้วมีคำพิพากษายื่นตามศาลชั้นต้น คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ อย่างไร (แนวคำตอบ หน้า 184)

sds

Monday 22 April 2019

แนะนำถามตอบกฎหมายพยาน

ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา






คำนำ
         
       กฎหมายลักษณพยานหลักฐานเป็นอีกวิชาหนึ่งที่ยากสำหรับนิสิตนักศึกษา เพราะเป็นการศึกษาถึงกฎเกณฑ์ในการนำพยานหลักฐานมาสืบ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ผู้เขียนตั้งใจเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อให้ง่ายที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนกฎหมายลักษณะพยานทุกคน

เฉลิมวุฒิ สาระกิจ




สารบัญ
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน      
บทที่ 2 ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน        
บทที่ 3 ประเด็นข้อพิพาท                          
บทที่ 4 ภาระการพิสูจน์                           
บทที่ 5 สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ     
บทที่ 6 การยื่นบัญชีระบุพยาน                                   
บทที่ 7 การนำสืบพยานเอกสาร                                   
บทที่ 8 การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ                     
บทที่ 9 การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร                  
บทที่ 10 การนำสืบพยานบุคคล                                
บทที่ 11 พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา           
บทที่ 12 พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ   
บทที่ 13 สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง         
บทที่ 14 การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน           
บทที่ 15 สิทธิในการมีทนายความ                                      
บทที่ 16 พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง  
บทที่ 17 พยานบอกเล่าในคดีอาญา                                
บทที่ 18 มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา                           
บทที่ 19 การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา                        
ประวัติผู้เขียน                                                        


  
ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา




พยานหลักฐานในคดีแพ่ง
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน

1. กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานคืออะไร
กฎหมายลักษณะพยาน หรือ Evidence Law นั้นตามพจนานุกรม Black's Law Dictionary ให้ความหมายไว้ว่า "the term that is given to the total of the principles and rules that govern the presentation of evidence in a legal matter." หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักการและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมการนำเสนอพยานหลักฐานในกระบวนยุติธรรม" 
ความหมายตามคำอธิบายรายวิชากฎหมายลักษณะพยาน หมายถึง การศึกษาลักษณะและหลักเกณฑ์การสืบพยานหลักฐานของศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา การรับฟังหรือไม่รับฟังพยานหลักฐาน พยานบอกเล่าและพยานความเห็น ข้อสันนิษฐานของกฎหมายและหน้าที่นำสืบตาม ป.วิ.แพ่ง ภาค 1 และ ป.วิ.อาญา ภาค 5 ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า กฎหมายลักษณะพยานเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการนำพยานหลักฐานเข้าสืบในศาล การรับฟังพยานหลักฐานของศาล ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา
2. กฎหมายลักษณะพยานหลักฐานแตกต่างจากกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาความอาญาอย่างไร
กฎหมายลักษณะพยานเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบในคดีแพ่งและคดีอาญา ดังนั้น ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งก็มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายกฎหมายลักษณะพยาน ในภาค 1 ลักษณะที่ 5 ส่วนในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จะอยู่ในภาค 5
ดังนั้นเมื่อกฎหมายลักษณะพยานเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายวิธีพิจารณาความ การศึกษาจึงมีความเชื่อมโยงกัน การศึกษากฎหมายลักษณะพยานจึงต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และวิธีพิจารณาความอาญา 
ลองพิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้ นายแดงใช้ปืนยิงนายดำ จนนายดำถึงแก่ความตาย หากเป็นการเรียนกฎหมายอาญา คำถามจะถามว่า นายแดงมีความรับผิดทางอาญาฐานใด หากเป็นการเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็จะเป็นคำถามเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับนายแดงมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
แต่สำหรับการเรียนกฎหมายลักษณะพยาน จะถามเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยจะนำมาพิสูจน์ในศาลมีอะไรบ้าง มีวิธีการในการนำมาสืบในศาลอย่างไร และหากนำพยานหลักฐานนั้นมาสืบแล้วศาลจะรับฟังไว้เป็นพยานการพิจารณาได้หรือไม่ อย่างไร
3. ระบบการพิจารณาคดีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายพยานหลักฐานอย่างไร
ระบบกล่าวหา (Adversarial system) แนวคิดของระบบกล่าวหาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประกันสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา (แนวความคิดค่อนไปทาง Due process) แต่แนวคิดของระบบไต่สวน (Inquisitorial system) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะในการที่จะดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำผิด การที่แนวความคิดพื้นฐานที่ต่างกันนี้ทำในระบบกล่าวหาศาลจะวางตัวเป็นกลาง ส่วนระบบไต่สวนศาลจะมีบทบาทในการถามพยาน เพื่อค้นหาความจริง
วิธีพิจารณาคดีของศาลที่ใช้ระบบกล่าวหา (Adversarial system) มีวิธีพิจารณาแบบเปิดเผย ทุกคนมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาได้ และใช้การสืบพยานด้วยวาจา ซึ่งเป็นผลมาจากการพิจารณาแบบเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนที่ฟังการพิจารณาคดีได้ทราบ และมีการพิจารณาคดีแบบคู่พิพาท โดยที่ศาลจะวางตัวเป็นกลางและรับฟังคู่พิพาทเพื่อตัดสิน การพิสูจน์เป็นหน้าที่ของคู่พิพาท ส่วนศาลที่ใช้ระบบไต่สวน (Inquisitorial system) จะมีการพิจารณาคดีด้วยลายลักษณ์อักษร การพิจารณาเป็นแบบไม่มีคู่พิพาท โดยที่ฝ่ายมีแต่ฝ่ายไต่สวนกับฝ่ายที่ถูกไต่สวนเท่านั้น และในระบบไต่สวนมีการพิจารณาคดีแบบลับ กระบวนการไต่สวนจะไม่ทำในที่สาธารณะ และไม่เปิดเผยเหมือนกับศาลที่ใช้ระบบการพิจารณาแบบกล่าวหา
ระบบการพิจารณาคดีทั้งสองรูปแบบย่อมส่งผลโดยตรงต่อกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน เช่น ระบบการพิจารณาแบบไต่สวนนั้นการแสวงหาพยานหลักฐานเป็นหน้าที่ของศาล ไม่ใช่หน้าที่ของคู่ความ ศาลจะถามพยานและหาข้อเท็จจริงในคดีเอง ดังนั้น การพิจารณาคดีในระบบไต่สวนจึงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการนำพยานเข้าสืบมากนัก ตรงกันข้ามกับระบบกล่าวหาที่เป็นการต่อสู้กันของคู่ความ ที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กล่าวหาต้องพยายามหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ข้อกล่าวหาของตนเองนั้นเป็นความจริง ในขณะเดียวกันฝ่ายที่ถูกกล่าวหาก็มีสิทธินำพยานหลักฐานของตนเองมาหักล้างได้ การพิจารณาในระบบกล่าวหานี้จึงต้องมีบทบัญญัติในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบมาก เพื่อให้เกิดการต่อสู้กันอย่างยุติธรรม
ดังนั้น หากกฎหมายวิธีพิจารณาความของประเทศใดมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบพยานมากก็จะเป็นระบบกล่าวหา ส่วนประเทศใดกฎหมายวิธีพิจารณาความมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบพยานน้อยก็จะเป็นระบบไต่สวน
4. ทฤษฎี Crime Control กับ Due Process มีอิทธิพลต่อกฎหมายลักษณะพยานอย่างไร
ในปัจจุบันนั้นมีแนวความคิดที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบด้วยกัน คือ ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) และทฤษฎีความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process Model) โดยแต่ละแนวนั้นมีความแตกต่างกันในแนวความคิดและมีความขัดแย้งกันคอยถ่วงดุลกันอยู่
1) ทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) เป็นรูปแบบที่เน้นการส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมุ่งควบคุม ระงับและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลัก (ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมนั้นต้องรวบรัดและมีประสิทธิภาพ) แม้การกระทำของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมนั้นจะกระทบกระเทือนต่อสิทธิ ของประชาชนก็ตาม แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนรวมแล้วย่อมทำได้ เช่น ตำรวจเป็นผู้ออกหมายจับได้เอง มีอำนาจในการสืบสวนและสอบสวนคดีอย่างมาก เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษนั้นเอง
รูปแบบนี้จะเน้นไปที่การควบคุมและปราบปรามอาชญากรรมอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นเรื่องรองลงไป เช่น กระบวนการในการได้พยานหลักฐานมานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากว่าพยานหลักฐานนั้นสามารถที่จะพิสูจน์ถึงความผิดของจำเลยได้ ศาลก็อาจจะรับฟังได้ เพื่อลงโทษจำเลย
2) ทฤษฎีความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process Model) เป็นรูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญ และเป็นรูปแบบที่ยึดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่ถือค่านิยมในเรื่องกระบวนการยุติธรรมตามขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการต้องชอบด้วยกฎหมาย และต่อต้านการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบซึ่งมักจะเกิดจากการที่รัฐมุ่งที่จะควบคุมอาชญากรรมโดยไม่คำนึงถึงสิทธิของประชาชน เป็นเหตุให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกกระทบกระเทือนจากการปราบปรามอาชญากรรมของรัฐอย่างมาก
ดังนั้น รัฐที่ยึดถือทฤษฎีความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย (Due Process Model) จึงต้องมีกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เน้นหนักไปในทางที่คุ้มครองสิทธิและ เสรีภาพของผู้บริสุทธิ์มิให้ถูกล่วงละเมิดโดยไม่เป็นธรรมจากเจ้าพนักงานของ รัฐ เช่น สิทธิของผู้เสียหาย สิทธิของผู้ถูกกล่าวหา สิทธิของจำเลย การค้น การจับจะต้องมีหมายซึ่งออกโดยศาล เป็นต้น และหากบางกรณีมีพยานหลักฐานชิ้นสำคัญในการที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้ แต่หากว่ากระบวนการที่ได้มานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่อาจจะรับฟังเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้พยานหลักฐานนั้นเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบก็ตาม



บทที่ 2
ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน

1. พยานหลักฐานมีความสำคัญอย่างไร
พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 หากท่านเป็นพนักงานสอบสวน ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้รับการแจ้งจากสายตรวจทางวิทยุว่า พบศพชายไม่ทราบชื่อนอนตายอยู่ริมถนน ในฐานะพนักงานสอบสวนท่านทราบข้อเท็จจริงอะไรบ้าง
ตัวอย่างที่ 2 หากท่านเป็นพนักงานสอบสวน ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ได้รับจากการสายตรวจทางวิทยุว่า มีการฆ่ากันตาย ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ผู้ตายชื่อนายแดง ส่วนคนที่ฆ่ายังไม่ทราบเพราะได้หลบหนีไป ต่อมาตำรวจจับนายดำได้พร้อมมีดของกลางได้ เชื่อว่าเป็นคนที่ลงมือฆ่านายแดง นายดำปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนฆ่านายแดง ในฐานะพนักงานสอบสวนท่านทราบข้อเท็จจริงอะไรบ้าง
เราไม่มีทางจะทราบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในคดีอาญาได้ ไม่เหมือนกับการทำข้อสอบกฎหมายอาญาที่โจทย์หรือคำถามจะมีข้อเท็จจริงที่ครบถ้วนมาให้ เราเพียงแต่นำข้อเท็จจริงในโจทย์นั้นมาวินิจฉัยกับหลักกฎหมายให้ถูกต้อง ผิดถูกก็ว่ากันไป แต่ในการดำเนินคดีอาญาจริง ๆ กว่าข้อเท็จจริงจะปรากฏชัดเจนจนสามารถวินิจฉัยได้นั้นต้องมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่ามีการกระทำอันเป็นความผิดหรือไม่ โดยสิ่งที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ คือ พยานหลักฐาน (Evidence) ดังนั้นหากจะพิสูจน์ข้อเท็จจริง (Fact) ต้องอาศัยพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ส่วนข้อกฎหมายนั้นไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐานในการพิสูจน์ เป็นเรื่องที่ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการตัดสินปัญหาข้อกฎหมายได้เลย
หากความจริงไม่ปรากฏ ความยุติธรรมก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น บุคคลที่เกี่ยวข้องในกระบวนยุติธรรมทางอาญามีหน้าที่ต้องทำความจริงปรากฏ เพราะหากไม่สามารถค้นหาความจริงในคดีได้ ศาลก็ไม่อาจตัดสินได้ถูกต้อง เช่น อาจไม่สามารถลงโทษจำเลยได้ หรือลงโทษจำเลยที่ไม่ได้ทำผิด



  

ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา



2. พยานหลักฐานนำมาใช้พิสูจน์อะไร
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วหากเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐานในการพิสูจน์ เพราะเป็นปัญหาที่ต้องนำตัวบทกฎหมายมาใช้ในการวินิจฉัยโดยมีข้อเท็จจริงที่ได้ฟังเป็นยุติแล้วเป็นฐาน เช่น ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง ปัญหาเกี่ยวกับอายุความ ปัญหาว่าดำเนินกระบวนพิจารณาผิดกฎหมาย เป็นต้น แต่หากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง (Fact) ต้องใช้พยานหลักฐานพิสูจน์ เช่น เกิดเหตุนายแดงเอามีดฟันนายดำจนนายดำทนพิษบาดแผลไม่ไหวจนถึงแก่ความตาย ในคดีนี้มีอะไรบ้างที่จะนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ว่านายแดงมีความผิด สิ่งที่นำมาพิสูจน์ให้เห็นว่านายแดงมีความผิดหรือบริสุทธิ์ก็คือ พยานหลักฐานนั้นเอง เช่นตัวอย่างดังต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1 นายหนึ่งถูกนายสองยักยอกทรัพย์ไป แต่ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 4 เดือน ปัญหาว่าคดีขาดอายุความ (ความผิดต่อส่วนตัว) หรือยังนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนปัญหาว่ามีการยักยอกทรัพย์กันจริงหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ในคดีนี้ปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้นที่จะต้องมีการสืบพยาน เอาพยานหลักฐานมาสืบว่ามีการยักยอกทรัพย์กันจริงหรือไม่จริง ส่วนปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เมื่อเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน
ตัวอย่างที่ 2 นายแดงอ้างว่าถูกนายดำขับรถโดยประมาทเลินเล่อชนรถที่ตนเองขับมาทำให้นายดำได้รับบาดเจ็บ และรถยนต์เสียหายต้องซ่อมแซม จึงฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดของนายดำต่อศาล เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท นายดำต่อสู้ว่าไม่ได้ขับรถโดยประมาทไม่ได้ทำละเมิด และนายแดงฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดซึ่งขาดอายุความแล้ว กรณีเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ในคดีแพ่งเรื่องนี้ ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องของนายแดงขาดอายุความหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าขาดอายุความหรือไม่ขาด แต่ปัญหาว่านายดำทำละเมิดหรือไม่นั้นต้องอาศัยพยานหลักฐานมาพิสูจน์ หากฝ่ายที่เป็นผู้กล่าวหา (โจทก์) เอาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้ว่านายดำทำละเมิดอย่างไร ศาลก็ย่อมยกฟ้องให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีไป




3. พยานหลักฐานหมายถึงอะไร
พยานหลักฐาน (Evidence) มีหลายความหมาย พิจารณาความหมายของพยานดังต่อไปนี้
ความหมายที่ 1 "พยานหลักฐาน หมายถึง สิ่งที่สามารถให้ข้อเท็จจริงแก่ศาล ซึ่งตามความหมายนี้พยานหลักฐานย่อมหมายถึงข้อเท็จจริงทุก ๆ อย่างที่อาจพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อศาลได้"
ความหมายที่ 2 "พยานหลักฐาน หมายถึง พยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ ซึ่งตามความหมายนี้หมายถึง เฉพาะพยานหลักฐานที่คู่ความนำเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีต่อศาลเท่านั้น ดังนั้นหากพยานหลักฐานใดที่อาจพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ แต่คู่ความไม่ได้นำสืบต่อศาล พยานหลักฐานนั้นก็ไม่อาจพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีได้"
ความหมายที่ 3 พยานหลักฐาน หมายถึง พยานหลักฐานที่ศาลยอมรับ ความหมายนี้พยานหลักฐานหมายถึงแต่เฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลยอมรับหรือยอมให้นำสืบได้เท่านั้น ดังนั้นพยานหลักฐานใดที่คู่ความนำสืบเข้ามาในคดี แต่ศาลไม่ยอมรับก็ไม่ถือเป็นพยานหลักฐานในคดี เป็นพยานหลักฐานที่ศาลตัดออกหรือไม่รับฟัง ก็ไม่ข้อเท็จจริงที่เกิดจากการพิสูจน์พยานหลักฐานนั้น เช่น คำให้การในชั้นสอบสวนที่จำเลยรับสารภาพ แต่เจ้าพนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการแจ้งสิทธิต่าง ๆ ก่อนมีการสอบสวน ศาลจึงไม่อาจรับฟังคำให้การในชั้นสอบสวนนั้นได้ ต้องตัดออกไป ดังนั้นแม้จะเป็นพยานหลักฐานโดยทั่วไปที่สามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้ แต่อาจเป็นพยานที่ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี หรือเป็นพยานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดีแต่เป็นพยานหลักฐานที่ศาลไม่ยอมรับ
จะเห็นว่า พยานหลักฐานในแต่ละคดีนั้นอาจจะมีมาก แต่คู่ความอาจไม่ได้นำมาสืบทั้งหมด หรือพยานที่นำมาสืบแล้วแต่ศาลไม่ได้รับฟังทั้งหมด ซึ่งวิธีการนำสืบพยาน และการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจะอธิบายในบทถัดไป




4. พยานหลักฐานมีกี่ประเภท
การแบ่งประเภทของพยานหลักฐานนั้นสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการแบ่งว่าจะแบ่งเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของพยานหลักฐานได้ดังต่อไปนี้
1) พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
2) พยานโดยตรง พยานแวดล้อมกรณี
3) ประจักษ์พยาน พยานบอกเล่า
4) พยานชั้น 1 พยานชั้น 2
5) พยานนำ พยานหมาย
5. พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ หมายถึงอะไร
พยานบุคคล (Witness) คือบุคคลที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงในคดีต่อศาล โดยการเล่าเรื่องหรือตอบคำถามของศาลหรือคู่ความที่เกี่ยวข้อง คำเบิกความหรือถ้อยคำเท่านั้นที่ถือเป็นพยาน ไม่ใช่ตัวพยาน เรียกพยานบุคคลได้อีกอย่างว่า “พยานถ้อยคำ (Oral Evidence) และในคดีอาญา พยานบุคคลถือเป็นพยานที่สำคัญที่สุด การสืบพยานบุคคลนั้นในทางอาญาแล้วมีความยุ่งยากมากมายหลายประการ และมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เพราะการสืบพยานบุคคลจะต้องให้พยานคนนั้นเบิกความออกมา โดยการเล่าเรื่องหรือตอบคำถามของศาลหรือทนายความ การเบิกความนั้นก็ต้องเบิกความโดยพยานนั้นสมัครใจ จะไปบังคับ ขู่เข็ญให้เขาเบิกความย่อมทำไม่ได้ อีกทั้งในปัจจุบันมีหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการสืบพยานเด็กซึ่งต้องสืบโดยวิธีการพิเศษแตกต่างจากการสืบพยานผู้ใหญ่อีกด้วย
พยานเอกสาร (documentary evidence) สิ่งซึ่งมีการบันทึกตัวอักษร ตัวเลข หรือเครื่องหมายไว้ สิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ จะบันทึกด้วยวิธีใด ๆ ก็ได้ สิ่งที่พยานเอกสารพิสูจน์ คือ ข้อความที่เอกสารแสดงออก ไม่ใช่ตัววัตถุเอกสาร พยานเอกสารนั้นเป็นพยานสำคัญในคดีแพ่ง พยานเอกสารนั้นหากแยกประเภทของเอกสารก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น เอกสารธรรมดา เอกสารสิทธิ เอกสารราชการ และเอกสารมหาชน เมื่อเอกสารมีหลายประเภทการนำสืบพยานเอกสารก็ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามประเภทของเอกสารนั้น ๆ พยานเอกสารสำคัญมากในการนำมาสืบในคดีแพ่ง เพราะในคดีแพ่งมักทำสัญญากันไว้เป็นหลักฐานในการก่อนิติสัมพันธ์กัน ดังนั้นเมื่อเกิดข้อพิพาทกันตามสัญญา ก็จะต้องเอาสัญญามาเป็นหลักฐานในคดี
พยานวัตถุ (physical evidence, real evidence หรือ material evidence) ได้แก่ วัตถุหรือสิ่งอื่นใดที่อาจจะพิสูจน์ความจริงต่อศาลได้โดยการตรวจดู มิใช่โดยการอ่านหรือพิจารณาข้อความที่บันทึกไว้ เช่น มีด ปืน ยาเสพติดของกลาง บาดแผลของผู้เสียหาย ศพของผู้เสียชีวิต พยานวัตถุอาจเป็นพยานที่เป็นสังหาริมทรัพย์หรือเป็นอสังหาริมทรัพย์ วัตถุใดที่สามารถนำมาศาลเพื่อให้ตรวจดูได้ก็นำมา ส่วนวัตถุไหนนำมาไม่ได้ศาลอ่านจะต้องออกไปตรวจดู
การแบ่งประเภทของพยานเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร และพยานวัตถุนั้น แบ่งตามลักษณะของพยาน ส่วนคุณค่าหรือน้ำหนักของพยานก็แล้วแต่คดี เช่น ในคดีแพ่งที่มีการก่อนิติสัมพันธ์กันของคู่สัญญา เอกสารที่ทำกันขึ้นมา เช่น สัญญาเช่า สัญญาซื้อขาย ย่อมมีความน่าเชื่อถือกว่าคำพูดของพยาน ดังนั้น พยานเอกสารจึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานบุคคล 



6. พยานโดยตรง พยานแวดล้อมกรณี หมายถึงอะไร
พยานโดยตรง (Direct Evidence) เป็นพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ได้โดยตรง เช่น บุคคลที่เห็นเหตุการณ์ยิงกันตาย ศาลสามารถรับฟังข้อเท็จจริงจากคำเบิกความพยานได้โดยที่ไม่ต้องหาเหตุผลอื่นมาเพื่ออนุมานว่ามีข้อเท็จจริงบางอย่างที่ความกล่าวอ้างหรือไม่อีก
พยานแวดล้อมกรณี (Circumstantial Evidence) เป็นพยานที่ไม่ได้แสดงถึงข้อเท็จจริงที่พิสูจน์โดยตรง แต่อาจทำให้ศาลอนุมานได้ว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความประสงค์จะพิสูจน์มีอยู่จริงหรือไม่มี เช่น คำเบิกความของพยานว่าเห็นจำเลยถือมีดเปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากในบ้าน เช่น เห็นจำเลยขับรถเข้าในซอยบ้านผู้ตายอย่างมีพิรุธ หรือรอยเบรกรถบนถนนเป็นทางยาวแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยอาจขับรถมาด้วยความเร็วเพราะใช้ระยะเวลาในการเบรกยาว
การแบ่งพยานโดยตรงกับพยานแวดล้อมกรณี มีผลต่อการตัดสินคดีของศาล คุณค่าในการพิสูจน์ของพยานโดยตรงย่อมมีน้ำหนักมากกว่าพยานแวดล้อมกรณี



  
ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา



7. ประจักษ์พยาน พยานบอกเล่า หมายถึงอะไร
ประจักษ์พยาน (Eye Witness) เป็นพยานที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงแก่ศาลตามที่ตนได้รับรู้มาจากประสาทของตน มิใช่รู้มาจากการบอกเล่าของผู้อื่น เช่น คนที่เห็นจำเลยเอาปืนยิง คนที่เอามีดแทง คนที่เห็นโจทก์และจำเลยทำสัญญากัน (ข้อสังเกต ประจักษ์พยานนั้นแม้ภาษาไทยจะใช้คำว่า ประจักษ์พยาน และภาษาอังกฤษใช้คำว่า Eye Witness ก็ไม่ได้หมายถึงต้องเป็นพยานที่เห็นเหตุการณ์ด้วยตาเท่านั้น แต่หมายถึงรับรู้เรื่องราวโดยประสาทสัมผัสของตนเอง)
พยานบอกเล่า (Hearsay) คือ พยานที่ไม่ได้เห็นเหตุการณ์หรือไม่ได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง แต่เป็นพยานที่รับฟังมาจากผู้อื่น แล้วเอาความที่ได้รับฟังมาเล่าหรือมาเบิกความต่อศาลอีกที พยานบอกเล่านี้ไม่อาจถูกซักค้านได้เพราะไม่ได้เห็นหรือรับรู้เหตุการณ์มาด้วยตนเอง เป็นพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ (unreliable) (ข้อสังเกต พยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วศาลจะไม่รับฟัง เพราะถือว่าเป็นพยานที่ไม่น่าเชื่อถือในคดีแพ่งและในคดีอาญาก็จะมีบทบัญญัติที่ห้ามศาลรับฟังพยานบอกเล่าไว้)
พิจารณาตัวอย่าง นายแดงเห็นนายเอเอามีดแทงนายบี แล้ววิ่งหนีออกไปทางหลังบ้าน นายดำเห็นนายเอถือมีดที่เปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากบ้านอย่างมีพิรุธ สงสัยว่านายเอจะเป็นคนฆ่านายบี จึงเอาเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้นายขาวฟัง
แดง คือ ประจักษ์พยาน
ดำ คือ พยานแวดล้อมกรณี
ขาว คือ พยานบอกเล่า
8. พยานชั้น 1 พยานชั้น 2 หมายถึงอะไร
พยานชั้น 1 พยานชั้น 2 ไม่มีในกฎหมายไทย แต่นำมาจากหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษ ตามหลักที่ว่า ต้องนำพยานหลักฐานที่ดีที่สุดมาสืบในศาล (The best Evidence) เช่น การนำสืบพยานเอกสารต้องนำต้นฉบับเอกสารมาสืบเท่านั้น การนำพยานบุคคลมาสืบ พยานบุคคลนั้นต้องเป็นประจักษ์พยานเท่านั้น เป็นต้น



9. พยานนำ และพยานหมาย หมายถึงอะไร
พยานนำและพยานหมาย เป็นภาษาที่ใช้เรียกประเภทพยานที่มาเบิกความในศาล โดยหากพยานบุคคลนั้นเป็นพยานที่คู่ความพามาศาลเอง เช่น โจทก์ได้ไปขอให้นายแดงซึ่งเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์มาเบิกความในศาล โดยพานายแดงมาศาลในวันนัด หรือได้นัดแนะให้นายแดงมาศาลในวันนัด โดยที่ศาลไม่ได้ออกหมายเรียกให้มาเบิกความ กรณีเช่นนี้เรียกว่า พยานนำ (พยานที่คู่ความนำมาเอง)
ส่วนพยานหมาย เป็นกรณีที่พยานที่คู่ความต้องการให้มาเบิกความในศาลไม่ยอมมา จึงต้องขอให้ศาลหมายเรียกให้มาเบิกความในศาลในฐานะพยาน 



  

ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา



บทที่ 3
ประเด็นข้อพิพาท

1. ประเด็นข้อพิพาทคืออะไร
การพิจารณาคดีในศาลนั้นต้องมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทก่อนที่จะเริ่มสืบพยาน ด้วยเหตุผลว่าการพิจารณาคดีเป็นการต่อสู้กันระหว่างโจทก์ผู้ฟ้องคดีกับจำเลยผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งต้องมีการนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาตัดสินคดี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ศาลจะต้องกำหนดให้คู่ความนำเสนอพยานหลักฐานได้ถูกต้องตรงกัน ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า การกำหนดประเด็นข้อพิพาท เมื่อศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว คู่ความฝ่ายที่มีภาระพิสูจน์ก็ต้องพยายามหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า เป็นไปตามที่ตนเองกล่าวอ้าง หากไม่มีการกำหนดประเด็นข้อพิพาท คู่ความอาจจะนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ตรงกัน ทำให้การพิจารณาคดีเกิดความล่าช้าและเกิดความยุ่งยากในการตัดสินคดีของศาล



พิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ไป เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระหนี้แล้ว จำเลยไม่ยอมนำเงินมาชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยให้การว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปจริงแต่ได้ชำระหนี้ตามสัญญานั้นแล้ว เมื่อศาลพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยแล้ว ศาลก็ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ว่าคู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าเป็นไปตามที่ตนเองกล่าวอ้าง ดังนั้นเมื่อเข้าใจถึงความสำคัญของประเด็นข้อพิพาทแล้ว มาพิจารณาถึงความหมายของประเด็นข้อพิพาทต่อไปนี้
ประเด็น (ISSUE) หมายถึง หัวข้อหรือจุดสำคัญของเรื่อง เวลาเราพูดคุยกันเรามักจะบอกให้อีกฝ่ายหนึ่งพูดเข้าประเด็น ซึ่งก็หมายถึงการพูดจุดสำคัญของเรื่องที่จะคุยกัน
ส่วนความหมายในทางพิจารณาคดี ประเด็น หมายถึง เรื่องต่าง ๆ ที่คู่ความยกขึ้นให้ศาลพิจารณาหรือวินิจฉัย ซึ่งเรียกว่า ประเด็นแห่งคดี
       
ประเด็นแห่งคดี
สามารถเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ 1. ประเด็นที่เกิดจากคำฟ้อง และ2. ประเด็นที่เกิดจากคำให้การ
ตัวอย่างที่ 1 แดงฟ้องว่าดำกู้ยืมเงินไป 100,000 บาท โดยแดงได้ทวงถามดำไปแล้ว แต่ดำปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยชำระเงินกู้คืนพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นว่าจากคำฟ้องของโจทก์มีประเด็น คือ จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้กับโจทก์ และเมื่อนายดำยื่นคำให้การว่า นายดำได้ไม่ได้กู้เงินของแดงไป สัญญาที่นายแดงนำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม จะเห็นว่าประเด็นตามคำให้การของจำเลยมีประเด็นคือ จำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์
ตัวอย่างที่ 2 นายหนึ่งฟ้องว่านายสองขับรถโดยประมาทชนรถของนายหนึ่งจนเสียหายต้องซ่อม ขอให้ศาลสั่งให้นายสองชำระค่าสินไหมทดแทนจำนวน 100,000 บาท จากคำฟ้องจะเห็นว่า มีประเด็นแห่งคดี คือ นายสองทำละเมิดนายหนึ่งหรือไม่ ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 100,000 หรือไม่ จำเลยยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่ได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถโจทก์ และค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์เรียกร้องไม่ใช่จำนวนที่โจทก์เสียหาย จะเห็นว่าตามคำให้การของจำเลยมีประเด็นแห่งคดีคือ จำเลยไม่ได้ทำละเมิดโจทก์ ค่าสินไหมทดแทนไม่ใช่จำนวนที่โจทก์เรียกร้อง
จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ 1 และที่ 2 ว่า ประเด็นแห่งคดีเกิดขึ้นจากคำฟ้องและคำให้การของจำเลยว่ามีเรื่องสำคัญอะไร และเรื่องสำคัญนั้นก็เป็นประเด็นแห่งคดีของโจทก์และจำเลย (ประเด็นแห่งคดีจะกลายไปเป็นประเด็นข้อพิพาทต่อไป)
ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำฟ้องและคำให้การ
ประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่เป็นหลักฐานแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.แพ่ง ม.172 วรรคสอง ด้วย หากเป็นคำฟ้องที่ไม่ชัดแจ้งก็อาจจะไม่ก่อให้เกิดประเด็นแห่งคดี เป็นฟ้องที่ไม่ชอบไป ส่วนคำให้การนั้นประเด็นตามคำให้การต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ม.177 วรรคสอง หากเป็นจำเลยไม่ได้ให้การถึงหรือจำเลยปฏิเสธไม่ชัดแจ้งตามกฎหมายถือว่าจำเลยรับสารภาพ ดังนั้นย่อมไม่มีประเด็นข้อพิพาท
       


ประเด็นข้อพิพาท
ประเด็นข้อพิพาท (point in dispute หรือ matter in issue) หมายถึง ประเด็นแห่งคดีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ หรือเป็นปัญหาที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่ ดังนั้น การกำหนดประเด็นข้อพิพาทก็คือการพิจารณาประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ ประเด็นไหนที่เป็นข้อพิพาทกันก็ต้องให้ศาลตัดสินในประเด็นที่พิพาทกันนั้น ส่วนประเด็นไหนที่ไม่พิพาทกันศาลก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาอีก
พิจารณาตัวอย่าง แดงฟ้องว่าดำกู้ยืมเงินไป 100,000 บาท โดยแดงได้ทวงถามดำไปแล้ว แต่ดำปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ดำให้การว่า ดำได้ไม่เคยกู้ยืมเงินของแดงไปสัญญาที่แดงนำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอม ให้กำหนดประเด็นข้อพิพาท (ประเด็นข้อพิพาทหมายถึง ประเด็นแห่งคดีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ) ดังนั้นในคดีนี้จึงพิพาทกันเกี่ยวกับ จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริงหรือไม่
ประเด็นข้อพิพาทมี 2 ประเภท คือ ประเด็นข้อพิพาทในข้อกฎหมาย (legal issue) ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลรับรู้ได้เอง ไม่ต้องมีการสืบพยาน และประเด็นข้อพิพาทในข้อเท็จจริง (issue of fact) ซึ่งเป็นประเด็นที่ศาลไม่สามารถรับรู้เองได้ คู่ความต้องนำสืบพยานให้ศาลรู้ถึงข้อเท็จจริง
    พิจารณาตัวอย่างที่ 1 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าห้องพักจากโจทก์โดยตกลงค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท แต่จำเลยผิดนัดไม่ยอมชำระค่าเช่าติดต่อกันจำนวน 6 เดือน ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระจำนวน 60,000 บาท พร้อมเบี้ยปรับอีกจำนวน 12,000 บาท จำเลยยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า และค่าปรับที่โจทก์เรียกร้องมานั้นไม่ได้อยู่ในข้อตกลงในสัญญา เมื่อพิจารณาถึงคำฟ้องและคำให้การจะเห็นได้ว่า มีประเด็นข้อพิพาทดังนี้ 1. จำเลยผิดสัญญาเช่าจริงหรือไม่ 2. เบี้ยปรับเป็นไปตามที่โจทก์เรียกร้องหรือไม่
พิจารณาตัวอย่างที่ 2 โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่า นายแดงลูกจ้างของจำเลยได้ขับรถไปในทางการที่จ้างด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้ชนกับรถโจทก์เสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า นายแดงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย จึงไม่ได้ขับรถไปในทางการที่จ้าง และไม่ได้ขับรถด้วยความเร็วจนชนรถของโจทก์ โจทก์ต่างหากที่ขับรถตัดหน้านายแดงโดยกะทันหัน และถ้าหากว่าต้องซ่อมรถค่าซ่อมก็ไม่ถึง 10,000 บาท ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง มีประเด็นข้อพิพาทดังนี้
1. นายแดงทำละเมิดโจทก์หรือไม่
2. นายแดงเป็นลูกจ้างและทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยหรือไม่
3. ค่าสินไหมทดแทนจำนวน 10,000 หรือไม่
(ข้อสังเกต เมื่อมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วต้องพิจารณาต่อไปว่า ในแต่ละประเด็นนั้น คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ ตามหลักที่ว่า "ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นนำสืบ" ซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป)
2. การชี้สองสถานคืออะไร
การชี้สองสถาน คือ กระบวนการที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบของคู่ความหลังจากที่จำเลยได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์แล้ว ซึ่งปรกติแล้วในคดีแพ่งศาลจะกำหนดวันชี้สองสถานเพื่อให้คู่ความมาศาลเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ แต่ก็มีกรณีที่ศาลไม่จำต้องชี้สองสถานก็ได้ หากเป็นไปตามมาตรา 182
มาตรา 183 ในวันชี้สองสถาน ให้คู่ความมาศาล และให้ศาลตรวจคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู และสอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังก็ได้
กระบวนการในวันชี้สองสถานมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ศาลตรวจคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความแล้วนำข้ออ้างข้อเถียงที่ปรากฏในคำคู่ความและคำแถลงของคู่ความเทียบกันดู (การถามถึงคำแถลงของคู่ความนั้นศาลต้องทำเพื่อทำให้ประเด็นชัดเจนขึ้น จะตั้งประเด็นขึ้นใหม่ไม่ได้ เพราะคำแถลงไม่ใช่คำคู่ความจึงตั้งประเด็นใหม่ไม่ได้ ศาลฟังคำแถลงเพื่อเพิ่มประเด็นข้อพิพาทไม่ได้ แต่ลดได้)
ฎีกา 751-752/2509 ศาลมีอำนาจตัดหรืองดสืบพยานตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่ศาลสอบทนายโจทก์ว่าจะสืบพยานต่อไปในข้อใด และทนายโจทก์แถลงว่ายังแถลงไม่ได้ ขอสงวนไว้ก่อน แม้ทนายอีกฝ่ายแถลงว่าพยานที่จะสืบข้อใด หากรับข้อเท็จจริงได้ก็จะรับเพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ทนายโจทก์ก็ยังยืนยันเช่นเดิม ดังนี้ การที่ทนายโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลจึงชอบจะงดสืบพยานโจทก์ต่อไปได้
2. สอบถามคู่ความทุกฝ่ายถึงข้ออ้าง ข้อเถียง และพยานหลักฐานที่จะยื่นต่อศาลว่าฝ่ายใดยอมรับหรือโต้แย้งข้ออ้าง ข้อเถียงนั้นอย่างไร ข้อเท็จจริงใดที่คู่ความยอมรับกันก็เป็นอันยุติไปตามนั้นส่วนข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับและเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับประเด็นข้อพิพาทตามคำคู่ความให้ศาลกำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท
3. คู่ความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็จะทำการชี้สองสถานไปโดยถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบการชี้สองสถานแล้ว ตาม มาตรา 183 ทวิ ในกรณีที่คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ให้ศาลทำการชี้สองสถานโดยให้ถือว่าคู่ความที่ไม่มาศาลได้ทราบกระบวนพิจารณาในวันนั้นแล้ว
คู่ความที่ไม่มาศาลนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านว่าประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบที่ศาลกำหนดไว้นั้น ไม่ถูกต้อง เว้นแต่เป็นกรณีที่ไม่สามารถมาศาลได้ในวันชี้สองสถาน เพราะเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้ หรือเป็นการคัดค้านในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 183 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
3. ประเด็นข้อพิพาทในปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงแตกต่างกันอย่างไร
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ปัญหาข้อกฎหมายเป็นเรื่องที่ไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบและศาลวินิจฉัยได้เอง ส่วนปัญหาข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานเสียก่อนศาลจึงจะวินิจฉัยได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่นักศึกษาต้องทำความเข้าใจและแยกแยะได้ว่า ประเด็นปัญหาข้อกฎหมายมีอะไรบ้าง และปัญหาข้อเท็จจริงมีอะไรบ้าง
ข้อสังเกต สิทธิในเรื่องอุทธรณ์ ฎีกาของคู่ความ ซึ่งกฎหมายจะจำกัดในเรื่องการอุทธรณ์ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไว้โดยกำหนดทุกทรัพย์ในคดี หากทุนทรัพย์น้อยก็ไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาได้ แต่ในส่วนปัญหาข้อกฎหมายอุทธรณ์ฎีกาได้เสมอเพียงแต่ต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้กล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้นเท่านั้น
ประเด็นปัญหากฎหมาย เป็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความตัวบทกฎหมาย และการปรับข้อเท็จจริงกับตัวบทกฎหมาย ซึ่งประเด็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นหากเป็นกฎหมายไทยคู่ความไม่ต้องนำพยานหลักฐานมาสืบ ศาลย่อมพิพากษาได้เอง แต่หากเป็นปัญหาข้อกฎหมายต่างประเทศแล้ว คู่ความต้องนำสืบเพราะศาลไม่อาจทราบเองได้
ประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง เป็นประเด็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในคดี ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นต้องพิสูจน์โดยการสืบพยานหลักฐาน
4. ข้อเท็จจริงใดบ้างที่ต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน
โดยปกติแล้วการฟังข้อเท็จจริงใดของศาลจะต้องมาจากการนำสืบพยานหลักฐานนั้นตามที่กฎหมายกำหนด พยานหลักฐานที่ไม่ได้มีการนำเสนอด้วยวิธีการสืบพยาน ศาลก็รับฟังไม่ได้ ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 84 "การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในคดีใดจะต้องกระทำโดยอาศัยพยานหลักฐานในสำนวนคดีนั้น" แต่อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงบางอย่างที่ไม่ต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 84
(1) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
(2) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หรือ
(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล

(1) ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป หมายถึง ข้อเท็จจริงที่บุคคลทั่วไปต้องรู้กันอย่างแพร่หลายมิใช่รู้กันเฉพาะหมู่เหล่าหรือเฉพาะท้องถิ่น เช่น ถ้อยคำภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันหรือที่ประชาชนพบเห็นเป็นประจำ สิ่งที่ปรากฏตามธรรมชาติ สิ่งที่ปรากฏทางภูมิศาสตร์ ข้อเท็จจริงเหล่านี้ประชาชนโดยทั่วไปย่อมรู้ได้ จึงไม่จำเป็นต้องพิสูจน์อีก
(2) ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ หมายถึง ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นเช่นนั้นโดยเด็ดขาด ไม่มีผู้ใดโต้เถียงได้ เช่น ประวัติศาสตร์ของชาติ กิจการความเป็นไปได้ของบ้านเมือง
(3) ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล
3.1) การรับกันในชั้นคำให้การ เป็นกรณีที่จำเลยยื่นคำให้การให้ศาลภายหลังจากได้รับหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและสำเนาคำฟ้อง ซึ่งคำให้การของจำเลยนั้นอาจเป็นคำรับโดยตรง หรือเป็นคำรับโดยปริยายก็ได้ ซึ่งคำให้การรับโดยปริยายนั้นเป็นกรณีที่คำให้การของจำเลยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ได้รับโดยตรง แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธโดยชัดแจ้ง จึงถือว่าเป็นคำให้การรับเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีการพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานอีก
หากจำเลยปฏิเสธโดยชัดแจ้ง แต่ไม่มีเหตุในการปฏิเสธซึ่งในกรณีนี้ทางกฎหมายถือว่าเป็นคำให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้ง แต่เมื่อจำเลยไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธจำเลยจึงไม่มีสิทธิในการนำพยานหลักฐานมาสืบ
ส่วนกรณีที่จำเลยยื่นคำให้การแต่มีบางประเด็นจำเลยไม่ให้การถึง กรณีเช่นนี้ย่อมถือว่าจำเลยรับในประเด็นที่ไม่ได้ให้การถึง (ในทางแพ่งจำเลยนิ่งถือว่ายอมรับ)
หากเป็นกรณีที่จำเลยไม่ยื่นคำให้การ หรือขาดนัดยื่นคำให้การนั้น จะถือว่าจำเลยยอมรับไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การจึงไม่มีประเด็นตามคำให้การก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวก็ยังมีประเด็นตามคำฟ้องของโจทก์ ดังนั้นจึงต้องมีการสืบพยาน
3.2) การรับกันในชั้นพิจารณา เป็นกรณีที่ตัวความ หรือทนายความของตัวความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้กล่าวหรือแถลงในศาลรับตามข้ออ้างของคู่ความฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการพิจารณา
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่กฎหมายถือว่าเป็นคำรับของคู่ความอีกด้วย พิจารณาดังต่อไปนี้
มาตรา 123 ถ้าต้นฉบับเอกสารซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเป็นพยาน หลักฐานนั้นอยู่ในความครอบครองของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ส่งต้นฉบับเอกสารแทนการที่ตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานสำคัญ และคำร้องนั้นฟังได้ ให้ศาลมีคำสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นต้นฉบับเอกสารต่อศาลภายใน เวลาอันสมควรแล้วแต่ศาลจะกำหนด ถ้าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีต้นฉบับ เอกสารอยู่ในครอบครองไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเช่นว่านั้น ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่ผู้ขอจะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งได้ยอมรับแล้ว
มาตรา 124 ถ้าคู่ความฝ่ายที่อ้างเอกสารไม่ยอมนำมาหรือยื่น ต้นฉบับเอกสาร หรือถ้าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทำให้เสียหาย ทำลาย ปิดบัง หรือทำด้วยประการอื่นใดให้เอกสารนั้นไร้ประโยชน์โดย มุ่งหมายที่จะกีดกัน ไม่ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารนั้นเป็น พยานหลักฐาน ให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้นคู่ความฝ่ายที่ไม่นำมาหรือยื่นเอกสาร ดั่งกล่าวข้างต้นนั้นได้ยอมรับแล้ว
มาตรา 125 วรรค 3 ถ้าคู่ความซึ่งประสงค์จะคัดค้านไม่คัดค้านการอ้างเอกสารเสียก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จหรือศาลไม่อนุญาตให้คัดค้านภายหลังนั้น ห้ามมิให้คู่ความนั้นคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ ความแท้จริงหรือความถูกต้องเช่นว่านั้นในเมื่อศาลเห็นสมควร และไม่ตัดสิทธิของคู่ความนั้นที่จะอ้างว่าสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด
        กรณีที่กฎหมายถือว่าเป็นคำรับของคู่ความ
มาตรา 183 วรรคสาม ในการสอบถามคู่ความตามวรรคหนึ่ง คู่ความแต่ละฝ่ายต้องตอบคำถามที่ศาลถามเองหรือถามตามคำขอของคู่ความฝ่ายอื่นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายอื่นยกขึ้นเป็นข้ออ้าง ข้อเถียง และพยาน หลักฐานต่าง ๆ ที่คู่ความจะยื่นต่อศาล ถ้าคู่ความฝ่ายใดไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับข้อเท็จจริงใด หรือปฏิเสธข้อเท็จจริงใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงนั้นแล้ว เว้นแต่คู่ความฝ่ายนั้นไม่อยู่ในวิสัยที่จะตอบหรือแสดงเหตุผลแห่งการปฏิเสธได้ในขณะนั้น
กรณีที่คู่ความท้ากันการที่คู่ความฝ่ายหนึ่งแถลงว่าจะรับกันในข้อเท็จจริงอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมดำเนินกระบวนการพิจารณาเพียงเท่าที่ท้านั้น ซึ่งคำถ้านั้นต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ต้องเป็นการท้ากันในเรื่องของกระบวนพิจารณาหรือเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีเท่านั้นเช่น ท้าว่าคดีโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ คู่ความจะไปท้ากันเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นไม่ได้
2. ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าผลของการดำเนินกระบวนพิจารณาหรือการชี้ขาดออกมาอย่างหนึ่งให้ฝ่ายหนึ่งชนะคดี

  

ถาม-ตอบ กฎหมายพยาน
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบกฎหมายพยาน เนื้อหาครอบคลุม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายพยานหลักฐาน ความหมายและประเภทของพยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ภาระการพิสูจน์ สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ การยื่นบัญชีระบุพยาน การนำสืบพยานเอกสาร การรับฟังสำเนาเอกสารแทนต้นฉบับ การสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร การนำสืบพยานบุคคล พยานหลักฐานที่อ้างเป็นพยานในคดีอาญา พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยมิชอบ สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง การรับฟังถ้อยคำในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน สิทธิในการมีทนายความ พยานหลักฐานที่ศาลต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง พยานบอกเล่าในคดีอาญา มาตรฐานการพิสูจน์ในคดีอาญา การนำสืบพยานบุคคลในคดีอาญา