Sunday 31 March 2013

วิธีจับปลากับการเรียน


วิธีจับปลากับการเรียน

เวลาคนหาปลาโดยการหว่านแห ต้องรอให้ปลาผุดน้ำขึ้นแล้วจึงหว่านไปตรงที่ปลาผุดน้ำนั้น แต่ก็ใช่ว่าหว่านไปแล้วจะได้ปลาแน่นอน มันอาจจะไม่ใช่ปลาก็ได้ที่ผุดน้ำขึ้นมา ผุดมาหลอกๆ หรือหว่านไม่ทันบ้าง ก็ทำให้หว่านพลาดไม่ได้ปลา

เหมือนคนเกร็งข้อสอบเลยครับ แนวข้อสอบที่เอามาเกร็งกันเหมือนน้ำผุด ที่เราคิดว่าปลาว่ายอยู่แถวนั้น แล้วเราก็หว่านแหลงไป ทุ่มอ่านแต่ตรงนี้ เรื่องนี้ เอามันตรงนี้แหล่ะ  เกร็งข้อสอบแบบนี้เหมือนหวานแหเมื่อเห็นน้ำผุด ก็อาจจะได้ปลา ถ้าปลามันอยู่ตรงนั้นจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าจะได้เสมอไป ไม่แน่นอน

แต่ผมว่าก็ยังดีนะที่อุตสาห์เฝ้าสังเกตว่ามีน้ำผุดขึ้นมา ไม่หลับหุหลับตาหว่านแหออกไปมั่วๆ แต่ก็ต้องทำใจยอมรับว่า ขนาดของแหมันมีความกว้างจำกัด ไม่ครอบคลุม หว่านไม่ตรงก็ไม่ได้ปลา

ในการสอบทุกครั้ง ถ้าเป็นไปได้ ต้องไม่ยอมเสี่ยงเลย ออกเรื่องไหนก็รู้เรื่อง เข้าใจ ครอบคลุมทั้งหมด อันนี้ปลอดภัยที่สุด ผ่านชัวร์ ผมเปรียบเทียบเหมือนการจับปลาโดยวิธีสูบน้ำออกให้หมด โอกาสที่จะจับได้ปลามีค่อนข้างชัวร์ ปลาเล็ก ปลาใหญ่ ถูกเราจับหมด แต่วิธีนี้ลงทุนค่อนข้างสูง โครงการใหญ่ ต้องทุมเทกำลังมาก

แต่ถ้าเราไม่สามารถใช้วิธีการแรกได้ ก็จับปลาโดยใช้ตาข่าย โอกาสที่จะจับปลาได้ก็มีมากกว่าการหว่านแห แต่ก็น้อยกว่าการสูบน้ำออก แต่วิธีการนี้ลงทุนน้อยกว่า ส่วนจะจับปลาได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับตาข่ายที่เราจับปลามันห่างหรือถี่แค่ไหน ถ้าตาข่ายห่างมาก โอกาสที่ปลาจะหลุดรอดมันก็มีมาก ปลาเล็กๆน้อยๆ จะหลุดรอดไปหมด เหมือนรู้ทุกเรื่อง แต่รู้ไม่ลึกสักเรื่อง รู้หลักการทั้่วไป แต่พอเจอคำถามที่ลึกๆ แล้วมักจะตอบไม่ได้ แต่ถ้าตาข่ายถี่โอกาสที่ปลาจะหลุดรอดไปก็น้อย ซึ่งความถี่หรือห่างของตาข่ายตรงนี้แล้วแต่ความขยันของแต่ละคน

แล้วแต่เราจะเลือกว่าจะจับปลาโดยวิธีไหน การที่เราจะได้ปลาเยอะ ปลาน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับโชคชะตา เพราะถ้ามันเป็นเรื่องของโชคชะตา คงไม่มีคนจับปลาที่เราเรียกว่า "พรานปลา"

.....................................
ด้วยความปารถนาดีครับ

เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

Monday 25 March 2013

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ตอนที่ 1)




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ตอนที่ 1)


คำถามของนักศึกษาที่กำลังจะเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็มักจะเกิดคำถามว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คืออะไร



ความหมายของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา Criminal procedure refers to the adjudication process of the criminal law. While criminal procedure differs dramatically by jurisdiction, the process generally begins with a formal criminal charge and results in the conviction or acquittal of the defendant.

(http://en.wikipedia.org/wiki/Criminal_procedure)




ขออธิบายให้เข้าใจดังนี้นะครับ

      ก่อนหน้านี้เราเคยศึกษากฎหมายอาญามาแล้ว ทั้งกฎหมายอาญาภาคทั่วไปและกฎหมายอาญาภาคความผิด ซึ่งเป็นการศึกษาถึงหลักการในการวินิจฉัยความรับผิดของบุคคลว่าการกระทำที่เขากระทำเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ซึ่งคำตอบที่เรามุ่งตอบเป็นการตอบคำถามว่า ผิดหรือไม่ผิดอย่างไร

     กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้เรียนเพื่อที่จะตอบคำถามเช่นนั้น แต่เป็นการศึกษาถึงกระบวนการในการที่จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด เมื่อเกิดการกระทำผิดขึ้นแล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรในการที่จัดการเพื่อเป็นการปราบปรามและนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามขั้นตอนและวิธีการตามกฎหมาย รวมถึงศึกษาถึงการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้กระทำผิด ผู้เสียหาย พยานไปพร้อมกันด้วย

     กระบวนการตั้งแต่เกิดความผิดขึ้นมีการจับกุม ควบคุมตัว สอบสวน ฟ้องร้อง จนเข้าสู่การพิจารณาคดีและลงโทษจำเลย กระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้เราเรียกว่า "กระบวนยุติธรรมทางอาญา"

    การเรียนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็คือ การเรียนเกี่ยวกับกระบวนเหล่านี้นี่เองครับ


Monday 18 March 2013

ขั้นตอนการดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550





คดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวเป็นคดีที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าคดีอาญาทั่วไป เพราะคดีความรุนแรงในครอบครัวเป็นการทำร้ายกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว แตกต่างจากการทำร้ายร่างกายในคดีอาญาปรกติ การใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาทั่วไปที่มุ่งการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเดียว อาจไม่เหมาะสมกับคดีความรุนแรงในครอบครัว เหตุผลดังกล่าวที่เป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งมีวิธีการในการดำเนินคดีต่างหาก โดยหวังให้ผู้กระทำผิดกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ รวมถึงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในครอบครัว











          มาตรา 6 วรรค 2 “เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้งตา มาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุเพื่อสอบถามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งให้มีอำนาจจัดให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะดำเนินคดี ให้จัดให้นั้นร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้”









Tuesday 5 March 2013

ความแตกต่างของ ระบบไต่สวน (Inquisitorial system) กับระบบกล่าวหา (Adversarial system)