Monday 23 February 2015

ความผิดฐานเป็นผู้ใช้

ความผิดฐานเป็นผู้ใช้

1. แนวความคิดในการลงโทษผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิด

การใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น การกระทำอันเป็นการใช้ ไม่ว่าจะใช้โดย จ้าง วาน ขู่เข็ญ เป็นการก่อให้ผู้อื่นเกิดเจตนากระทำผิดขึ้นมา เช่น แดงจ้างให้ดำไปฆ่าขาว การที่ไปจ้างเขานั้น เป็นการก่อให้ผู้อื่นเกิดเจตนากระทำความผิดขึ้นมา 

ถ้าเราพิจาณาจะเห็นว่า การที่แดงไปจ้างดำนั้น แม้ดำจะได้ตกลงแล้ว แต่ดำยังไม่ได้กระความผิด ดำยังไม่ได้ลงมือใดๆ ต่อขาวเลย ความเสียหายยังไม่เกิดขึ้น และดำยังไม่มีความรับผิดทางอาญา แต่เหตุใดตามกฎหมายถือว่าการกระทำของแดงมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ ซึ่งต้องรับโทษหนึ่งในสามแล้ว

การลงโทษผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น มีแนวความคิดมาจาก ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น (inchoate crime ) ซึ่งหมายถึงความผิดที่เป็นการเริ่มต้น อันจะนำไปสู่ความผิดอาญาฐานใดฐานใดฐานหนึ่งในอนาคต ซึ่งโดยลักษณะของความผิดที่เป็นการเริ่มต้นนั้น ต้องยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จ แต่เป็นความผิดที่ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดความผิดสำเร็จได้ เช่น 

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กว่าผู้กระทำความผิดจะไปฆ่าคนตายได้นั้น จะต้องมีการวางแผนและเตรียมการ เช่น เขาอาจจะมีการไปจ้างวานมือปืน หรือหายืมปืนมาไว้เพื่อนำไปฆ่าคนตาย

ความผิดฐานปล้นทรัพย์ ผู้กระทำผิดหลายคนอาจมีการสมคมกันวางแผนเพื่อไปปล้นทรัพย์ กำหนดหน้าที่ เสาะหาอาวุธเพื่อนำไปปล้น เป็นต้น

การกระทำที่กล่าวมานี้ ทั้งการไปจ้างมือปืน หายืมอาวุธปืน สมคบกันวางแผนเพื่อไปทำความผิด เหล่านี้ หากพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่า การกระทำเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นอันตรายต่อผู้ใดเลย เพียงแต่จะมีอันตรายต่อผู้ที่กฎหมายต้องการจะคุ้มครองในอนาคต ดังนั้นเพื่อป้องกันอาชญากรรมที่จะได้เกิดขึ้นและจะส่งผลเสียหายต่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกันของประชาชนชน รัฐจึงควรมีอำนาจในการปราบปรามการกระทำนั้นเสียก่อนได้ ดีกว่าปล่อยให้ต้องเกิดความเสียหายขึ้นก่อน อีกทั้งการที่กฎหมายได้กำหนดการกระทำอันเป็นการเริ่มต้นของการกระทำความผิด ก็จะมีประโยชน์ในการป้องกันสังคมโดยส่วนรวมให้ตระหนักถึงการมีกฎหมายดังกล่าวด้วย

2. ความผิดที่ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิด (Incite)

ส่วนการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดนั้นผู้กระทำความผิดนั้นได้กระทำเลยขั้นที่ 3 มาแล้ว กล่าวคือ เขาได้ตัดสินใจแล้วว่าเขาจะกระทำความผิดโดยเจตนา และเข้าสู่กระทำขั้นตอนที่ 4 (การตระเตรียมการที่จะกระทำความผิดโดยการจัดเตรียมขั้นตอน หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการกระทำความผิด) การตระเตรียมของเขาคือการไปก่อให้ผู้อื่นเกิดเจตนาเช่นเดียวกับเขาขึ้นมาโดยวิธีการต่างๆ เช่น บังคับ ขู่เข็ญจ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด

จะเห็นได้ว่า หากพิจารณาจากความอันตรายของการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดนั้น การกระทำดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ใครเลย เพราะยังห่างไกลจากการกระทำความผิด ไม่เหมือนกับการพยายามกระทำความผิดที่เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่ความผิดยังไม่สำเร็จเท่านั้น แต่ความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด ก็เป็นความผิดที่เป็นการเริ่มต้น (Inchoate crime) แล้ว

แต่ความผิดฐานเป็นผู้ใช้นี่จะต้องปรากฏว่า ผู้ใช้ได้ก่อให้ผู้อื่นจะไปทำความผิดอาญาเจตนาแล้วเท่านั้น หากยังเป็นขั้นตอนของการใช้กันเป็นทอดๆ แต่ยังไม่ถึงผู้ที่จะไปลงมือ เช่นนี้ยังไม่ถือว่าเป็นเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้และไม่ใช่ Inchoate crime เป็นแต่เพียงพยายามเป็นผู้ใช้ซึ่งไม่มีความผิด



ความรับผิดทางอาญากรณีนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ความรับผิดทางอาญากรณีนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

วารสารรพี นิติศาสตร์ พะเยา 2554

                   เฉลิมวุฒิ สาระกิจ


บทนำ
                   ตามกฎหมายอาญาของประเทศไทยนั้นการพาเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปจากความครอบครองโดยเจตนา ถือเป็นการกระทำตามความผิดฐานลักทรัพย์แต่ความผิดฐานนี้หมายความเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์ไปโดยตัดกรรมสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของแต่มิได้รวมถึงการนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปใช้เป็นการชั่วคราวแล้วนำกลับเอามาคืนซึ่งแตกต่างจากกฏหมายต่างประเทศเช่น กฏหมายอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้บัญญัติให้การนำทรัพย์ไปจากความครอบครองผู้อื่นเป็นชั่วคราวเป็นความผิดในบทความนี้จะได้กล่าวถึงข้อพิจารณาของกฏหมายไทยและกฏหมายต่างประเทศเรื่องความรับผิดทางอาญาในกรณีความรับผิดทางอาญากรณีนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

๑. ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฏหมายอาญาของไทย
   ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฏหมายอาญาของไทยนั้น ปรากฏอู่ในประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๓๔๔ ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของอยู่รวมด้วยไปโดยทุจริต ผู้นันกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท" เป็นความผิดที่กฏหมายมุ่งคุ้มครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์และสิทธิการครอบครองของบุคคล ไม่ให้ผู้ใดม่แย่งไป หรือเอาไป หากมีผู้ใดมาแย่งทรัพย์นันหรือเอาทรัพย์นั้นไป ย่อมถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องระวัง ทษตามที่กฏหมายบัญญัติ

ตามหลักกฏหมายอาญาของไทยนั้น ผู้กระทำจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่จะต้องพิจารณาตามโครงสร้างความรับผิดและองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำครบองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในเสียก่อนโดยความผิดฐายลักทรัพย์มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

   องค์ประกอบภายนอก

   มีข้อพิจารณาสำคัญคือ มีการเอาไป ซึ่งหมายถึงจะต้องมีการทำให้ทรัพย์นั้นเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และทรัพย์นั้นต้องอยู่ในลักษณะที่พร้อมจะเอาไปได้ ซึ่งการเอาไปในที่นี้จะต้องเป็นการเอาไปในลักษณะที่เป็นการตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ กล่าวคือ เอาไปแล้วเอาไปเลย ไม่มีความคิดที่จะเอามาคืน หรือต้องไม่ใช่การเอาไปโดยถือวิสาสะ หรือเคยหยิบยืมกันมาก่อน นอกจากนี้หากเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของตัวเองโดยเข้าใจว่าเป็นของผู้อื่นก็ไม่เป็นความผิดเนื่องจากขาดสิ่งที่เรียกว่าเจตนาโดยสุจริต อันเป็นองค์ประกอบถายในซึ่งจะได้กล่าวในหัวข้อต่อไป

   องค์ประกอบภายใน

   การกระทำที่จะถือว่าเป็นความผิดในทางอาญานั้นผู้กระทำจะต้องมีเจตนาหมายความว่า ผู้กระทำจะต้องรู้สำนึกในการกระทำของตนและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำของตน86aว่ากำลังเอาทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือทรัพย์ทีุ่อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป87

   นอกจากรู้สำนึกในการกระทำของตนเองแล้ว ผู้กระทำจะต้องมีเจตนาโดยทุจริตในการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของอยู่รวมด้วย ซึ่งเจตนาโดยทุจริตเป็นเจตนาพิเศษที่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ต้องมีในขณะกระทำ หากการกระทำนั้นขาดเจตนาโดยทุจริตก็ไม่อาจถือว่ามีความผิดฐานลักทรัพย์ได้

ถ้าหากขณะเอาทรัพย์นั้นไปไม่มีเจตนาโดยทุจริตมาตั้งแต่ต้น แต่มาเกิดเจตนาทุจริตในภายหลังจากที่ได้ทรัพย์มาแล้วก็ไม่ผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกัน แต่ทั้งนี้อาจมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์88 ได้

   ที่กล่าวมานั้นเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ ที่ใช้สำหรับพิจารณาว่าผู้ที่เอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปนั้นจะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่aโดยมีคำพิพากษาของศาลไทยได้ตัดสินไว้เป็นแนวทางการพิจารณาดังนี้

   คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๓/๒๕๑๕
จำเลยแอบเอารถของผู้เสียหายออกมาเพือจะขับไปกินข้าวต้มแล้วจะเอากลับมาคืนแสดงว่าไม่มีเจตนาจะเอารถนั้นเป็นของตนหรือของผู้อื้นการกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

   คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๙๔/๒๕๓๑
จำเลยและ ป.ผู้เสียหาย เป็นพี่น้องกัน จำเลยมาขอยืมรถจักรยานยนต์จาก ป. แต่ ป.ไม่ให้ จำเลยแสดงกิริยาเอะอะโวยวาย แล้วต่อมาก็ได้มาเอารถจักรยานยนต์ดังกล่าวไป แล้วขับขี่พาเพื่อนไปรับประทานอาหาร การกระทำของจำเลยในการเอารถจักรยานยนต์ไป เป็นเพียงการถือวิสาสะฉันพี่น้อง และเมื่อเอาไปแล้วก็มิได้หลบหนีแต่อย่างใด จำเลยจึงขาดเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์


คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๑๕/๒๕๔๓
   จำเลยทั้งสองจ้างให้ผู้เสียหายขับขี่รถจักรยายนต์ไปส่ง ระหว่างทางมีการบังคับให้ผู้เสียหายเข้าไปในกระท่อม แต่ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ ๒ เอามือรัดคอผู้เสียหายและดึงเอากุญแจรกให้กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งนั่งคร่อมรถอยู่ เมื่อมีคนผ่านมาจำเลยทั้งสองก็เอารถจักรยานยนต์ไปโดยบอกผู้เสียหายว่าให้ไปเอาคืนที่โรงเรียนแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเพียงต้องการเอารถจักรยานยนต์ไปใช้เพีบงชั่วคราวโดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง ไม่ได้กระทำเพื่อตัดกรรมสิทธิ์ตลอดไป จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วย เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยวิสาสะในความเป็นญาติ ไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

   จากแนวคำพิพากษาของศาลไทยดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า หากผู้กระทำความผิดได้เอาทรัพย์นั้นไปในลักษณะเป็นการตักรรมสิทธิ์ คือมีเจตนาเอาทรัพย์ไปแล้วนำมาคืนให้ในภายหลัง หรือเป็นการเอาทรัพย์นั้นไปโดยถือวิสาสะแล้ว ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะความผิดฐานลักทรัพย์นั้น ต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปในลักษณะที่ตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ หรือผู้ที่ครอบครองทรัพย์นั้นอยู่

.ความผิดฐานลักทรัพย์ตามกฏหมายต่างประเทศ

   จากกรณีความผิดฐานลักทรัพย์ตามกฏหมายไทยดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ ๑ นั้นการเอาทรัพย์โดยเฉพาะการเอารถหรือย่นพาหนะของผู้อื่นไปใช้โดยมิชอบนั้นไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และไม่มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา แต่ในทางกฏหมายอาญาต่างประเทศ ยกตัวแอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกการเอารถหรือยานพาหนะของหูอื่นไปใช้โดยมิชอบนั้นถือเป็นการก่อให้เกิดความเสียหายและกระทบกระเทือนต่อความสงบสุขส่วนรวมจึงสมควรที่จะใช้มาตราทางอาญาเข้ามา


จัดการกับผู้ที่กระทำความผิดดังกล่าว89 ซึ่งในสหรัฐอเมริกาได้มีการบัญญัติกฏหมายขึ้นเพื่อลงโทษผู้ที่นำรถหรือยานพาหนะของผู้อื่นไปใช้โดยมิชอบและในขณะเดียวกันถือได้ว่าเป็นการปรามผู้ที่จะกระทำละเมิดต่อกฏหมายดังกล่าวด้วยไปในตัว90aดังปรากฏในประมวลกฏหมายอาญาของสหรัฐอเมริกา มาตรา ๒๒๓.(Model penal code, Article ๒๒๓.)
บุคคลถือว่าได้กระทำความผิดอาญาที่โทษเบาหรือความผิดลหุโทษ เพือได้นำไปซึ่งรถยนต์ เครื่องบิน มอเตอร์ไซค์ เรือยนต์หรือยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ ข้อต่อสู้ที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คำกล่าวหาของโจทก์ ในการพิจารณาคดีภายใต้มาตราดังกล่าว คือ ผู้กระทำเชื่อว่า เจ้าของทรัพย์จะให้ความยินยอมหากว่าเขาได้รู้ถึงการกระทำนั้น91


  
สรุป
จากบทบัญญัติตีความผิดฐานลักทรัพย์ตามกฏหมายอาญาของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา จะเห็นได้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ได้มีการบัญญัติฐานความผิกขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อนำมาใช้ในกรณีของการนำรถหรือยานพาหนะของผู้อื่นไปใช้โดยมิชอบโดยกำหนดเป็นความผิดที่มีโทษไม่ร้ายแรงหรือเป็นความผิดลหุโทษ

ส่วนในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีบทบัญญัติของกฏหมายที่จะลงโทษการกระทำดังกล่าวเหมือนกฏหมายขงสหรัฐอเมริกา แต่ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาการนำรถหรือยานพาหนะขอวผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติหรือว่าโดยมิชอบนั้น มีแนวโน้มว่าจะเกิดมากขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่เอื้อต่อการกระทำเช่นนั้น และการวินิจฉัยความผิดฐานลักทรัพย์ตามแนวคำพิพากษาฎีกาของไทยที่ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นอาจก่อให้เกิดปัญหาอีกประการหนึ่งคือ ผู้ที่กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ของผู้อื่นอาจนำมาอ้างเป็นข้อแก้ตัวว่า ไม่ได้มีเจตนาที่จะเอารถหรือยานพาหนะของผู้อื่นไปโดยทุจริต เพียงแต่หยิบยืมหรือถือวิสาสะเอาไปขับเล่น หรือเอาไปทำธุระเสร็จแล้วจะนำมาคืน เพื่อให้ตนเองนั้นพ้นจาความผิดฐานลักทรัพย์

   ดังนี้ ผู้เขียนเห็นว่านักกฏหมายมีหน้าที่ ที่จะมองปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีเพื่อให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรีบยร้อยอยู่รวมกันอย่างสงบสุข เราจึงควรนำประเด็นปัญหาทางกฏหมายที่ได้นำเสนอในบทความนี้มาพิจารณาว่าประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฏหมายอาญาโดยบัญญัติให้มีความรับผิดทางอาญากรณีนำเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาต่อไปในอนาคตหรือไม่




85เฉลิมวุฒิ สาระกิจ, (น.บ.เกียรตินิยมอันดับ ๑ ), (เนติบัณฑิตไทย), อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
86 ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๕๙ วรรคสาม
87 ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๓๓๔
88ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๓๔๒ ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ต้องระวังโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื้นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำคว่มผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวังโทษแค่เพียง กึ่งหนึ่ง.
89อุไรวรรณaอุดมวัฒนกุล,ความผิดฐานลักทรัพย์,ศึกษากรณีเอายานพาหนะของผู้อื่นไปใช้โดยมิชอบ,วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.. ๒๕๓๑
90เกียรติขจรaวัจนะสวัสดิ์,ความรับผิดพิเศษ,เอกสารประกอบคำบรรยายปริญญาโท,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๕๔
91 The Model Penal Code Article ๒ ๒ ๓ .๙. Unauthorized Use of Automobiles anther Vehicles.
   "A personacommitsaaamisdemeanoraifaheaoperatesaanother's automobile,airplane,motorcyde,motorboot,or othermtor-propelled vehicle without consent of the ower.it is an affirmative defense to prosecution under this Section that theater reasonably believed that the owner would have consented to the operation had known of it."



Friday 13 February 2015

ความผิดฐานลักทรัพย์


ความผิดฐานลักทรัพย์

(โดยเฉลิมวุฒิ สาระกิจ)


2. ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา

ความผิดฐานลักทรัพย์เป็นการกระทำที่มุ่งต่อสิ่งที่กฎหมายมุ่งประสงค์จะคุ้มครอง คือ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น และการครอบครอง[1]ซึ่งหากทรัพย์นั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ หรือไม่ได้อยู่ในความครอบครองของผู้ใด แม้จะมีการเอาไปก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ ซึ่งความผิดฐานลักทรัพย์นั้นเป็นความผิดที่เป็นพื้นฐานของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ โดยเพิ่มองค์ประกอบความผิดขึ้น[2] และมีผลทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นตามความผิดนั้น ๆ

2.1 องค์ประกอบความผิด
            องค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์พิจารณาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ซึ่งบัญญัติความผิดฐานลักทรัพย์ไว้ความว่า

“ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท”

โดยพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ คือ การทีบุคคลเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย โดยเจตนาเอาไปหรือเจตนาลักทรัพย์ และมีมูลเหตุชักจูงใจคือ โดยทุจริต[3] ซึ่งแยกพิจารณาองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบได้ดังนี้

2.1.1 องค์ประกอบภายนอก

1) เอาไป

หมายความว่า มีการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่น โดยศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่า “จำเลยเข้าไปในห้องรับแขกเพื่อลักทรัพย์ตัดสายโทรทัศน์ออกแล้วยกเอาเครื่องรับโทรทัศน์ที่ตั้งอยู่บนโต๊ะเคลื่อนจากที่ตั้งเดิมมาที่กลางห้อง เผอิญผู้เสียหายมาพบเข้าจำเลยจึงวางไว้ที่พื้นห้องก็ถือได้ว่าเอาทรัพย์ไปแล้ว เป็นความผิดลักทรัพย์สำเร็จไม่ใช่พยายามลักทรัพย์”[4] ซึ่งจากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เมื่อมีการทำให้ทรัพย์เคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง ไม่ว่าระยะทางจะไกลเท่าไหร่ ก็ถือว่าเป็นการเอาไปแล้วจำเลยจึงมีความผิดฐานลักทรัพย์สำเร็จ แต่ความเห็นของนักกฎหมายบางท่านไม่เห็นพ้องด้วย โดยเห็นว่าการเอาไปจะสำเร็จบริบูรณ์เมื่อการครอบครองเก่าหมดไปและมีการครอบครองใหม่เข้ามาแทนที่อย่างสมบูรณ์[5]

ดังนั้นความผิดฐานลักทรัพย์หากทรัพย์นั้น อยู่ในสภาพที่สามารถเอาไปได้แล้วย่อมเป็นความผิดสำเร็จแต่ถ้าหากว่าทรัพย์นั้นยังไม่อยู่ในสภาพที่สามารถออกไปได้ เช่น รถจักรยานมีโซ่คล้องอยู่แม้จะจูงจักรยานเคลื่อนที่แล้ว แต่ตราบใดที่ยังไม่ตัดโซ่ที่คล้องอยู่ก็ผิดเพียงแค่พยายามลักทรัพย์เท่านั้น หรือหากเป็นพืชผลหรือผลไม้ก็ต้องแยกออกจากต้นหรือหากติดอยู่กับดินก็ต้องจุดขึ้นมาพร้อมที่จะเอาไปได้แล้วจึงจะผิดลักทรัพย์สำเร็จ หากเด็ดหรือถอนขึ้นมาจากดินแล้ว แต่ยังไม่พร้อมที่ตะเอาไปได้ก็ผิดเพียงแค่พยายามเท่านั้น เช่น เด็ดมะม่วงหล่นจากต้นแต่ยังไม่ได้เอาใส่ถุง ผิดเพียงแค่พยายาม ต้องปรากฎว่าเอามะม่วงที่เด็ดลงมาใส่ถุงหรือใส่อะไรที่พร้อมจะเอาไปได้แล้วจึงจะผิดสำเร็จ

การเอาไปนั้นจะต้องเป็นเป็นการทำร้ายกรรมสิทธิ์และการครอบครอง หมายความว่า การเอาไปนั้นจะต้องเป็นการเอาที่มีลักษณะตัดกรรมสิทธิ์และการครอบครองของผู้อื่น หรือเข้าครอบครองทรัพย์นั้นโดยการแย่งครอบครอง โดยผู้ครอบครองเดิมไม่อนุญาต[6] แต่หากเป็นการเอาไปเพียงชั่วคราว เอาไปใช้ หรือถือวิสาสะ ย่อมไม่ใช่เป็นการเอาไปในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “จำเลยแอบเอารถของผู้เสียหายออกมาเพื่อจะขับไปกินข้าวต้มแล้วจะเอากลับมาคืน แสดงว่าไม่มีเจตนาจะเอารถนั้นเป็นของตนหรือของผู้อื่นการกระทำของจำเลยยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์[7]

การได้มาซึ่งการครอบครองต้องไม่อยู่ที่ผู้กระทำความผิด หากทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้กระทำผิด และมีการเอาไปก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ แต่อาจจะมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ความผิดฐานลักทรัพย์ ทรัพย์นั้นจะต้องอยู่ในการครอบครองของผู้อื่นในขณะที่มีการเอาไป[8] ซึ่งหมายความว่าผู้อื่นนั้นได้ครอบครองทรัพย์ตามความเป็นจริงและมีเจตจำนงในการครอบครองทรัพย์นั้นด้วย

ผู้นั้นใช้อำนาจปกครองทรัพย์อยู่ตามความเป็นจริงหมายความว่า ทรัพย์นั้นอยู่ในอำนาจของเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่จะจัดการทรัพย์นั้นได้ การครอบครองไม่จำเป็นจะต้องมีการจับต้องตัวทรัพย์ไว้เสมอไป[9] เพียงแต่หวงกันตามควรแก่พฤติการณ์และสภาพของทรัพย์ซึ่งคนทั่วไปยอมรับรู้ได้ ไม่ว่าทรัพย์นั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลเท่าไหร่ เช่น ของที่อยู่ในบริเวณบ้าน แม้เจ้าของไม่อยู่บ้าน ก็ยังถือว่าเจ้าของนั้นมีการปกครองอยู่ตามเป็นจริง สัตว์ที่เจ้าของปล่อยให้หากินในบริเวณทุ่ง โดยเจ้าของยืนดูอยู่ห่างๆ ก็ยังถือว่าเจ้าของนั้นใช้อำนาจปกครองอยู่ตามความเป็นจริง

ผู้นั้นมีเจตจำนงที่จะครอบครองทรัพย์นั้น หมายความว่า การครอบครองของเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์นั้นจะต้องมีเจตจำนงในการครอบครองทรัพย์ที่ตนยึดถือนั้นด้วย หากเขาไม่เจตจำนงในการครอบครองทรัพย์ แม้เขาครอบครองอยู่ตามความเป็นจริงก็ไม่อาจจะถือว่าเขาครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ เช่น ของที่คนอื่นทิ้งแล้ว เมื่อมีการเอาไป ย่อมไม่อาจจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ได้

2) ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

ความผิดฐานลักทรัพย์นั้น ประมวลกฎหมายอาญาใช้คำว่า ทรัพย์ ซึ่งก็ไม่ได้มีการนิยามไว้ในประมวลกฎหมายอาญาว่า ทรัพย์ มีความหมายว่าอย่างไร[10] ดังนั้นการตีความคำว่าทรัพย์จึงต้องอาศัยการตีความตามความหมายของประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์ ซึ่งมีบัญญัติไว้ใน มาตรา 137 “ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง” ดังนั้นทรัพย์ที่จะลักได้ต้องเป็นทรัพย์ที่สามารถเอาไปได้[11] เช่นอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะต้องเปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์ที่สามารถเอาไปได้ก่อน เช่น ปกติบ้านไม่สามารถเป็นทรัพย์ที่ถูกเอาไปได้ แต่หากมีการเปลี่ยนสภาพแล้ว เช่น ถอดเอาประตู หน้าต่างออกมา ย่อมเป็นทรัพย์ที่เอาไปได้

พลังงานโดยปรกติแล้วเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง เพราะไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่อย่างไรก็ตามศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้ว่า การลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี[12] ซึ่งศาลฎีกาไม่ได้เหตุผลในการตัดสินไว้ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นกระแสไฟฟ้าจึงเป็นทรัพย์

ความผิดฐานลักทรัพย์ มูลค่าราคาของทรัพย์นั้นไม่ได้จำกัดว่าต้องมีค่าหรือมีราคาเท่าใดจึงเป็นความผิด หากทรัพย์นั้นไม่ไร้ค่า แม้จะมีค่ามีราคาน้อย ผู้เอาทรัพย์ดังกล่าวไปก็มีความผิดเช่นเดียวกัน รวมถึงกรณีหากทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์สินหาย แม้จะมีเจ้าของแต่เมื่อมีการเอาไปก็ไม่ใช่ความผิดฐานลักทรัพย์เพราะทรัพย์นั้นไม่อยู่ในความครอบครองของใคร[13]

3) ทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย

หมายความว่าทรัพย์นั้นจะต้องไม่ใช่ของผู้ลักทรัพย์เอง แม้เขาจะเข้าใจว่าทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น แต่ความจริงทรัพย์นั้นเป็นของเขาเอง ก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ เพราะไม่มีทรัพย์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานลักทรัพย์ และหากทรัพย์ไม่มีเจ้าของหรือมีเจ้าของแต่เจ้าของสละกรรมสิทธิ์แล้ว[14]  ย่อมไม่อาจเป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่ลักกันได้ ส่วนคำว่าทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น มีความหมายว่า ทรัพย์นั้นมีเจ้าของหรือผู้ครอบครองมากกว่าคนเดียว และหนึ่งในนั้นคือผู้กระทำผิด แต่ปัญหาที่จะเกิดทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยว่า หากขณะที่มีการเอาทรัพย์นั้นไปนั้น ใครเป็นผู้ครอบครอง[15]

3.1.2 องค์ประกอบภายใน

ความผิดฐานลักทรัพย์นั้นเป็นความผิดที่ต้องกระทำโดยเจตนา ซึ่งเป็นเจตนาธรรมดาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 3 แล้ว ผู้กระทำจะต้องมีมูลเหตุชักจูงใจโดยทุจริตในการเอาทรัพย์นั้นไปอีกด้วย ซึ่งหากขาดเจตนาประเภทใด การเอาทรัพย์นั้นไปก็ไม่อาจจะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ โดยแยกพิจารณาเจตนาแต่ละประเภทออกเป็นดังนี้

เจตนาธรรมดา เจตนาในความผิดฐานลักทรัพย์ในส่วนของเจตนาธรรมดาก็แยกพิจารณาออกเป็น เจตนาประสงค์ต่อผลและเจตนาย่อมเล็งเห็นผล และผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ที่ตนเอาไปนั้นเป็นทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หากผู้กระทำไม่รู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่นแต่เข้าใจว่าเป็นของตัวเอง กรณีเช่นนี้ก็จะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปไม่ได้ เจตนาเอาไปนั้นผู้กระทำต้องมีอยู่ในขณะกระทำความผิดหากมีเจตนาเอาไปภายหลังจากได้เข้าครอบครองทรัพย์นั้นแล้วไม่อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เช่น ไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร[16] โดยถอดเสื้อนอกแขวนไว้ กลับมาถึงบ้าน พบว่ามีซองบุหรี่ของผู้อื่นอยู่ในเสื้อของตนเอง โดยที่ไม่ทราบมาก่อน แต่เกิดเจตนาทุจริตขึ้นในภายหลังก็ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

มูลเหตุชักจูงใจโดยทุจริต ความผิดฐานลักทรัพย์แม้ว่าผู้กระทำนั้นเอาทรัพย์นั้นไปโดยรู้ว่าทรัพย์นั้นเป็นของผู้อื่น โดยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลต่อทรัพย์นั้นก็ตาม ก็ยังไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ ผู้กระทำจะมีความผิดฐานลักทรัพย์ได้จะต้องปรากฏว่าการเอาทรัพย์นั้นไป เป็นการกระทำโดยทุจริตด้วย

ซึ่งความหมายของคำว่าโดยทุจริตนั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) "โดยทุจริต" หมายความว่าเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยที่ชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

จากบทนิยามคำว่า โดยทุจริต พอจะแยกองค์ประกอบออกมาได้ 2 ประการ ดังนี้

1) เพื่อแสวงหาประโยชน์มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า โดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ การแสวงหา คือการกระทำใด ๆ เพื่อให้ได้มาสำหรับตนหรือผู้อื่น และเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มีลักษณะในทางบวก หากเป็นในทางลบเช่น การทำลายทรัพย์หรือการทำให้ทรัพย์หลุดมือจากผู้อื่นจึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์[17] คำว่าประโยชน์ในที่นี้อาจจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือไม่ใช่ประโยชน์ในทางทรัพย์สินก็ได้ เพราะมาตรา 1(1) ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าประโยชน์ที่ไม่ควรได้นั้นหมายถึงเฉพาะประโยชน์ในทางทรัพย์สิน บทบัญญัติมาตราใดไม่ได้บัญญัติเฉพาะประโยชน์ในทางทรัพย์สิน ย่อมหมายความถึงประโยชน์โดยทั่วไป ทั้งที่เป็นทรัพย์สินและไม่เป็นทรัพย์สิน[18]หากการแสวงหาประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินหรือไม่ใช่ประโยชน์ในทางทรัพย์สินก็ตาม ผู้นั้นแสวงหามาโดยชอบย่อมไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์

2) สำหรับตนเองหรือผู้อื่น
การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายนั้น ไม่ว่าผู้กระทำจะกระเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือของผู้อื่นก็ย่อมเป็นการกระทำโดยทุจริตทั้งสิ้น และการทุจริตนั้นต้องมีขณะเอาทรัพย์นั้นไป ถ้าเจตนาโดยทุจริตเกิดขึ้นภายหลังก็ไม่อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้








[1] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2553. หน้า 306
[2] หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. หน้า 260
[3] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2553.หน้า 306
[4] คำพิพากษาศาลฎีกาที่  2074/2514
[5] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2553.หน้า 308
[6] จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546. หน้า 569
[7] คำพิพากษาฎีกาที่ 443/2515
[8] หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. หน้า 261
[9] จิตติ ติงศภัทิย์. คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546. หน้า 543
[10] หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. หน้า 264
[11] จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546. หน้า 525
[12] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501
[13] จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546. หน้า 545
[14] จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546. หน้า 527
[15] หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. หน้า 265
[16] หยุด แสงอุทัย, กฎหมายอาญา ภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553. หน้า 266
[17] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2553. หน้า 311
[18] จิตติ ติงศภัทิย์, คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : เนติบัณฑิตยสภา, 2546.หน้า 624