Tuesday 12 July 2016

ฆ่าคนตายโดยเจตนากับฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

 MGR Online - โฆษกอัยการแถลงสั่งฟ้อง 6 โจ๋และแฟนสาว ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คาดยื่นฟ้องต่อศาลอาญาในวันที่ 13 ก.ค.นี้ ระบุหากญาติจะยื่นฟ้องเองข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนก็เป็นสิทธิ
      
       วันนี้ (11 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานศาลอาญา ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก ร.ท. สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายวิเชียร ถนอมพิชัย รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ร่วมกันแถลงความคืบหน้าการสั่งฟ้องกลุ่มวัยรุ่นที่รุมทำร้ายนายสมเกียรติ ศรีจันทร์ อายุ 36 ปี ชายพิการอาชีพส่งขนมปังจนเสียชีวิตย่านโชคชัย 4
       
อ่านต่อ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000069119

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไต่ตรองไว้ก่อน

ไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ ไม่ใช่องค์ประกอบความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรู้ว่าการกระทำของตนเป็นการไตร่ตรองหรือไม่ก็ได้ หากมีพฤติการณ์ปรากฏให้เห็นได้ว่า การฆ่าคนตายนั้นมีการคิดและทบทวนก่อนมีการลงมือฆ่าแล้ว ก็ถือว่าเป็นการฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ผู้กระทำไม่จำต้องไตร่ตรองนานแล้วจึงฆ่า แม้คิดทบทวนไม่นานก็ถือว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เช่น โต้เถียงกันในที่ประชุมแล้วเดินออกไปเอาปืนที่อยู่ในรถมายิงคนในที่ประชุมตาย ก็ถือว่าได้ไตร่ตรองในการฆ่าแล้ว
การจ้างวานฆ่า (Contract Murder) ไปดักรอฆ่า การฆ่าโดยการวางยาพิษ ลักษณะของการฆ่าเหล่านี้ล้วนมีการคิดและวางแผนการฆ่ามาเป็นอย่างดี แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่หากเป็นการฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน เช่น ขับรถปาดหน้ากันจึงโมโหขับรถชนหรือเบียดตกถนน หรือตั้งใจจะมาฆ่า แต่บังเอิญเห็นโดยบังเอิญและมือถือปืนอยู่จึงยิงเขาตายทันที เหล่านี้เป็นการฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน ไม่ใช่ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้
ความแตกต่างระหว่างฆ่าคนตายโดยเจตนากับไตร่ตรองไว้ก่อน
ความผิดทั้งสองฐานนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของจิตใจผู้กระทำ

ในแง่ของจิตใจผู้กระทำความผิด ความผิดทั้งสองฐานนี้ ฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288 กับ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ม.289(4) ผู้กระทำมีเจตนาฆ่าเหมือนกัน แต่ระดับของความชั่วร้ายของจิตใจแตกต่างกัน ฆ่าคนโดยไต่ตรองไว้ก่อนเป็นการฆ่าคนโดยเลือดเย็น เพราะมีเวลาทบทวน ไม่ได้ฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน ดังนั้ยกฎหมายลงโทษหนักกว่าคนตายโดยเจตนา ตามระดับความชั่วร้ายของจิตใจ

การลงโทษผู้กะทำความผิดในทางอาญานั้นพิจารณาจากความชั่วร้ายของจิตใจผู้กระทำเป็นหลัก ดังนั้นโทษเบาหรืิหนักขึ้นอยู่กับจิตใจผู้กระทำ


Miranda warning


มิแรนดากับป.วิอาญามาตรา 83 วรรคสอง

โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

นายเออเนสโต มิแรนดา
ผู้เขียนได้ยินเรื่องคดีมิแรนดากับมลรัฐอริโซนาเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2512 ตอนที่เรียนหนังสืออยู่ที่มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เพราะมีกรณีที่มีชายอเมริกันคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงผู้หญิงคนหนึ่งเป็นระยะทางร่วม 3 สี่แยก กลางนครนิวยอร์ก (ในนครนิวยอร์กนั้นสี่แยกหนึ่งๆ ไม่ห่างกันมากนักเป็นแบบตาหมากรุก) บาดแผลจากมีดที่ร่างกายสตรีผู้นั้นมีร่วม 90 แผล ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเธอเสียชีวิตท่ามกลางประจักษ์พยานเป็นร้อยคน เมื่อตำรวจเข้าทำการจับกุมและตัวผู้ชายคนฆ่าก็จำนนด้วยหลักฐานได้สารภาพผิดต่อตำรวจ แต่กลับคำให้การในชั้นศาล


ปรากฏว่าศาลนิวยอร์กได้พิพากษาปล่อยตัวจำเลยไปโดยอ้างว่าตำรวจเข้าจับกุมโดยไม่แจ้งสิทธิของผู้ถูกจับกุมให้ทราบเสียก่อนโดยอ้างคดีมิแรนดากับอริโซนาที่ศาลฎีกาสหรัฐพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานว่าการทำการจับกุมซึ่งผิดมาตราที่ 5 ของกฎหมายว่าด้วยสิทธิของประชาชน (Bill of Rights) ในรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาที่ว่า "บุคคลจะต้องไม่เป็นพยานกล่าวโทษตนเองในคดีอาญา (self-incrimination)" ก็เกิดจากปัญหาถ้าพูดอะไรกับเจ้าพนักงานตำรวจไปแล้วคำพูดเหล่านั้นอาจจะเป็นหลักฐานมีโทษต่อตัวเองได้ ก็เหมือนกรณีที่ผู้ต้องหาคดีอาญาในเมืองไทยมักพูดว่าจะขอให้การในชั้นศาลนั่นเอง

ซึ่งคดีมิแรนดากับอริโซนากับคดีของฆาตกรที่นิวยอร์กนี้เป็นเรื่องราวใหญ่โต เพราะผู้คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลจึงเป็นเรื่องที่อภิปรายถกเถียงกันใหญ่โตทั้งในชั้นเรียนและทางโทรทัศน์ไปนานนับเดือนเลยทีเดียว

คนอเมริกันเมื่อถูกจับในคดีอาญาจึงมักพูดว่า "จะใช้บทที่ 5" คือไม่ให้การอะไรทั้งสิ้นจนกว่าทนายของตนจะมาอยู่ด้วยสืบเนื่องจากบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ 5 นี่เอง เจ้าพนักงานตำรวจของสหรัฐจึงต้องอ่านคำเตือนที่เรียกว่า "คำเตือนมิแรนดา" (The Miranda rules) ให้ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมฟังทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ต้องหาให้การที่เสียผลประโยชน์ต่อตนเอง คำเตือนมิแรนดามีใจความสำคัญ 3 ข้อคือ

มิรานดา เมย์ เคอร์ หนึ่งในนางแบบวิกทอเรียส์ซีเครต ไม่เกี่ยวข้องอะไรในบทความนี้เลยนอกจากมีภาพและเรื่องมากกว่านายเออเนสโตในอินเตอร์เน็ตมาก
1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่พูดอะไรเลย2) หากผู้ต้องหาพูดหรือให้การอะไรไป อาจถูกนำไปใช้กล่าวโทษในการฟ้องร้องตนเองได้3) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะมีทนายความในระหว่างถูกสอบสวนคำเตือนมิแรนดานี้ได้ชื่อมาจากคดีที่นายเออเนสโต มิแรนดา ชาวอริโซนา อายุ 23 ปี ถูกจับที่บ้านตนเอง ในข้อหาลักพาและข่มขืนสตรี ครั้งแรกมิแรนดาปฏิเสธ แต่หลังจากถูกสอบสวน 2 ชั่วโมงเขาก็สารภาพและลงนามในหนังสือสารภาพว่าได้กระทำผิดจริง เขาถูกตัดสินลงโทษจำคุกคดีนี้ แต่มีการอุทธรณ์ไปถึงศาลฎีกาสหรัฐใน พ.ศ.2509 ศาลฎีกาสหรัฐพิพากษาว่า ตำรวจทำผิดละเมิดสิทธิที่จะมีทนายในระหว่างการให้การสอบสวน ศาลฎีกาสหรัฐพิพากษาให้ปล่อยตัวนายมิแรนดา ตั้งแต่นั้นมาตำรวจในสหรัฐก็จะมีใบคำเตือนมิแรนดาติดตัวเอาไว้อ่านให้ผู้ต้องหาฟังทุกครั้งที่มีการจับกุมตัวผู้ต้องหาสำหรับเรื่องที่ว่าบุคคลจะต้องไม่เป็นพยานกล่าวโทษตนเองในคดีอาญา ก็เกิดจากปัญหาถ้าพูดอะไรกับเจ้าพนักงานตำรวจไปแล้วคำพูดเหล่านั้นอาจจะเป็นหลักฐานมีโทษต่อตัวเองได้ ดังนั้น คนอเมริกันส่วนใหญ่ที่รู้กฎหมายเมื่อถูกจับในคดีอาญาจึงมักพูดว่า "จะใช้บทที่ 5" คือไม่ให้การอะไรทั้งสิ้นจนกว่าทนายของตนจะมาอยู่ด้วย ซึ่งก็เหมือนกรณีที่ผู้ต้องหาคดีอาญาในเมืองไทยมักพูดว่าจะขอให้การในชั้นศาลนั่นเองผู้เขียนได้ฟังและเรียนรู้เรื่องนี้เมื่อ พ.ศ.2512 ครั้งนั้นเองแม้ว่าจะโมโหมากในเบื้องแรกที่ศาลสหรัฐและศาลนิวยอร์กได้ปล่อยคนที่น่าจะผิดชัดๆ เป็นอิสระไปได้ด้วยเรื่องของเทคนิคัลลิตี้แท้ๆ แต่ก็รู้สึกชอบใจในคำเตือนมิแรนดาอยู่มากทีเดียวและได้แต่หวังลมๆ แล้งๆ ว่าเมืองไทยคงจะมีขึ้นบ้างละน่าในเวลาต่อไปซึ่งใน พ.ศ.2547 (32 ปีหลังจากนั้น) ก็มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 ความว่า"มาตรา 83 ในการจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่า เขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับ พร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไปในกรณีที่เจ้าพนักงานเป็นผู้จับ ต้องแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ หากมีหมายจับให้แสดงต่อผู้ถูกจับ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับ หรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วยถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่ พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น" ครับ! ด้วยอานิสงส์ของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 แท้ๆ ที่บ้านเราได้ "คำเตือนมิแรนดา" มาด้วยจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 83 แก้ไขเมื่อ พ.ศ.2547 แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2557 เวลา 14.00 น. นางสาวอภีษฎา สัจพันโรจน์ อายุ 21 ปี ซึ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ซึ่งทราบภายหลังว่าเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบรุมล้อม ขณะขับขี่รถยนต์ ยี่ห้อ ซูซูกิ สวิฟท์ สีเทาดำ ทะเบียน 1 กฆ 1993 กรุงเทพมหานคร จึงได้ขับรถหลบหนี จนเป็นเหตุให้ถูกกลุ่มชายดังกล่าวขับรถชนและใช้อาวุธปืนยิงจนได้รับความเสียหาย เหตุเกิดซอยรามคำแหง 118 แยก 44 หมู่บ้านพฤกษชาติ แขวงและเขตสะพาน มีคลิปแพร่อยู่ในอินเตอร์เน็ตกันให้ว่อน เห็นแล้วก็กลุ้มใจเพราะบ้านเรามีกฎหมายดีๆ เยอะครับ แต่ไม่ค่อยได้ปฏิบัติตามกฎหมายกันนักโดยเฉพาะตำรวจที่น่าจะระลึกถึงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 83 เพราะเป็นอาชีพของตำรวจแท้ๆ ที่มีหน้าที่จับกุมผู้ต้องสงสัยอยู่ทุกวัน


.....


(ที่มา:มติชนรายวัน 13 สิงหาคม 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407930503

Sunday 10 July 2016

ความผิดฐานฆ่าคนโดยประมาท



ความผิดฐานฆ่าคนโดยประมาท

ความผิดฐานฆ่าตายโดยประมาทหรือกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นความผิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังของผู้กระทำ แล้วผลของการกระทำเป็นเหตุให้มีคนตายขึ้นมา ความผิดฐานนี้เป็นความผิดที่ต้องการผล หากประมาทแต่ไม่มีคนตายผู้กระทำก็ไม่มีความรับผิด ถ้าผลของการประมาทเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องรับโทษในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามมาตรา 300



มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท
องค์ประกอบความผิดภายนอก
ผู้ใด
กระทำ
ผู้อื่น
องค์ประกอบภายใน
ประมาท
ความหมายของการกระทำโดยประมาทมาตรา 59 วรรคสี่ กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9981/2554 การที่จำเลยเดินเรือโดยฝ่าฝืนประกาศกรมเจ้าท่า อันเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าท่าหรือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 297 วรรคหนึ่ง กับการที่จำเลยเดินเรือด้วยความประมาทเป็นเหตุให้เรือลำเลียงที่จำเลยลากจูงมาโดนกับเรือบรรทุกสินค้า และผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2553 แม้จำเลยจะขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูง แต่จำเลยขับรถในทางเดินรถของตนโดยถูกต้อง ส่วน ส. มิได้จอดรถเพื่อรถกลับรถในช่องกลับรถอย่างในภาวะปกติธรรมดา หากแต่เป็นเพราะรถที่ ส. ขับเกิดเสียการทรางตัวแล้วหมุนเข้าไปในทางเดินรถของจำเลยและขวางรถที่จำเลยขับในระยะกระชั้นชิด ในภาวะเช่นนั้นไม่ว่าจำเลยจะขับมาในลักษณะเช่นใดจำเลยย่อมไม่อาจจะหลบหลีกเพื่อมิให้ชนกับรถที่ ส. ขับได้ ดังนั้น การที่จำเลยขับรถบรรทุกสิบล้อและรถพ่วงด้วยความเร็วสูงและไม่ขับให้อยู่ในช่องเดินรถด้านซ้ายจึงมิใช่เป็นผลโดยตรงที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกัน จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทและกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2869/2553 ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถยนต์กระบะแซงรถจักรยานยนต์ของ ป. ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตาย ขณะเดียวกันผู้ตายก็ขับรถจักรยานยนต์ล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนเข้าไปในช่องเดินรถของจำเลยประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นเหตุให้รถชนกันเช่นนี้ จำเลยจึงขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหายและผู้อื่นถึงแก่ความตาย แม้ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดไปได้

ข้อสังเกต
ความผิดฐานกระทำโดยประมาท ไม่มีความผิดฐานพยายาม เป็นความผิดที่ต้องการผล หากผลไม่เกิด ความรับผิดก็ไม่มี


          ความผิดฐานกระทำโดยประมาทไม่มีตัวการร่วม ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ต่างคนต่างประมาท (ประมาทร่วม แต่ไม่ใช่ร่วมกันประมาท)
















กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้




108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส

เมื่อตำรวจเป็นจิตแพทย์

พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ เชื่อ "หญิงไก่" มีอาการจิตไม่ปกติ ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ แฉจดทะเบียนแต่ง-หย่า 6-7 ครั้ง.... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/social/general/441955
http://www.posttoday.com/social/general/441955

การจะวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นบุคคลวิกลจริตหรือไม่ ต้องให้แพทย์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านจิตเป็นคนวินิจฉัย พนักงานสอบสวนไม่อาจจะวินิจฉัยได้ว่าใครวิกลจริตหรือไม่ เพราะไม่มีความรู้ ไม่ได้จบแพทย์มา อีกทั้งแม้จะวิกลจริตก็ต้องดูว่าตอนกระทำความผิดนั้นถึงขั้นไม่รู้ผิดชอบหรือไม่

การแสดงความเห็นว่าใครมีความผิดปกติทางจิตหรือไม่นั้นไม่ควร ด้วยเหตุผลเพราะทำให้ผู้นั้นได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสีย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชังได้



Friday 8 July 2016

พยานหลักฐานที่ต้องห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญา







พยานหลักฐานเป็นสิ่งที่เรานำมาพิสูจน์ข้อเท็จจริง(ข้อกฎหมายไม่ต้องใช้พยานหลักฐาน) ที่โจทก์หรือจำเลยกล่าวอ้างเพื่อแสดงให้ศาลเชื่อว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่กล่าวอ้างนั้น หากศาลเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากกว่า(ศาลรับฟังพยานหลักฐาน) ก็จะตัดสินให้ฝ่ายนั้นชนะคดี ตามมาตรฐานการพิสูจน์ของประเภทคดี เช่น ในคดีแพ่งหากพยานหลักฐานฝ่ายใดมีน้ำหนักมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ศาลก็จะตัดสินให้ชนะคดี แต่หากเป็นคดีอาญา โจทก์ต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้เชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะชนะคดี หากศาลสงสัยศาลก็อาจจะยกประโยชน์ความสงสัยแก่จำเลยได้




พยานวัตถุ และพยานเอกสารที่ศาลจะรับฟังได้นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น ซึ่งหมายความว่า หากพยานวัตถุหรือพยานเอกสารนั้นแต่เดิมนั้น ไม่มีอยู่ แต่เพราะได้เกิดมีขึ้นมาเพราะการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบด้วยประการอื่นนั้นเอง เช่น แต่เดิมจำเลยไม่ได้จำหน่ายแผ่นซีดีปลอมและไม่มีเจตนาจะจำหน่าย แต่เพราะโจทก์ไปจูงใจให้จำเลยทำปลอมขึ้นมา จำเลยจึงทำแผ่นปลอมมาจำหน่ายให้โจทก์ โจทก์จึงนำแผ่นปลอมนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากการจูงใจ
พยานวัตถุและพยานเอกสารนั้นหากได้มาโดยการจับ การค้น ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การจับ การค้น โดยไม่หมายค้นหรือหมายจับที่ออกโดยศาลอย่างถูกต้อง หรือไม่ใช่กรณีที่จับหรือค้นโดยไม่มีเหตุที่ค้นหรือจับโดยไม่มีหมาย หากการค้นหรือการจับโดยไม่ชอบนั้นเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งพยานวัตถุหรือพยานเอกสาร ก็ไม่อาจอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ อ้างไปศาลก็ถูกห้ามมิให้รับฟัง แม้เป็นพยานหลักฐานนั้นเกิดขึ้นโดยชอบ แต่เพราะการได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้นไม่ชอบ กฎหมายจึงห้ามไม่ให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานนั้น เช่น ตำรวจสืบทราบมาว่านายแดงเป็นผู้ค้ายาบ้ารายใหญ่ แต่ด้วยความรีบร้อนกลัวว่านายแดงจะรู้ตัวเสียก่อน จึงไม่ทันได้ไปขอให้ศาลออกหมายค้นบ้านนายแดง แต่จากการค้นบ้านนายแดงตำรวจได้พบยาบ้าจำนวน 2 กระสอบ ยาบ้า 2 กระสอบที่เป็นพยานวัตถุนี้จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้เพียงใดหรือไม่
คำรับสารภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นพยานซึ่งแตกต่างจากพยานวัตถุและพยานเอกสาร เพราะเป็นถ้อยคำ(ภาษาอังกฤษเรียกว่า Intangible Evidence) หากว่าเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจ(Voluntary) แล้ว ย่อมเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ คำรับสารภาพนั้นจะต้องเป็นคำรับสารภาพที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ (ตามหลักMiranda Rule) จึงจะเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ หากคำรับสารภาพนั้นเกิดขึ้นด้วยความไม่สมัครใจ (Involuntary) ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ ดังนั้นถ้าคำรับสารภาพที่เกิดขึ้นจากความไม่สมัครใจ เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยมิชอบ จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
ในทางกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีหลักการประการสำคัญอยู่ข้อหนึ่งเรียกว่า "สิทธิจะไม่ให้การอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ถูกฟ้องคดี" หรือเรียกว่า เขามีสิทธิที่จะไม่ให้การปลักปรำตัวเอง ดังนั้นเมื่อเขามีสิทธิที่จะไม่ให้การใดๆ เลยก็ย่อมทำได้ เป็นสิทธิของจำเลย การจะบังคับให้จำเลยให่้การย่อมเป็นการกระทำที่จำเลยไม่สมัครใจ ถ้อยคำดังกล่าวก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ดังนั้นการที่จะให้จำเลยให้การซัดทอดจำเลยเองรวมถึงจำเลยคนอื่นด้วย ย่อมเป็นการขัดกับหลักการข้างต้น จึงเป็นที่มาของการบัญญัติกฎหมายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232 "ห้ามมิให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน" โดยมีหลักการดังข้างต้นที่ได้อธิบายไป ดังนั้นในคดีใดที่จำเลยถูกฟ้อง โจทก์จะอ้างจำเลยเป็นพยานฝ่ายโจทก์ไม่ได้
ปัญหาว่าพยานวัตถุที่ได้มาจากคำให้การที่ไม่ชอบนั้น เป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบหรือไม่ โดยพิจารณาได้ดังนี้หากพยานวัตถุนั้นแต่เดิมนั้น ไม่มีอยู่ แต่เพราะได้เกิดมีขึ้นมาเพราะการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบด้วยประการอื่นนั้นเอง เช่นนี้ถือว่าเป็นพยานหลักฐานเกิดขึ้นโดยมิชอบ แต่ตามข้อเท็จจริงการที่ทั้งทรัพย์ของกลางและมีดที่พกติดตัวไป เป็นพยานวัตถุที่ได้มาจากคำให้การที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการแจ้งสิทธิ เป็นพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นมาใหม่จากการอันมิชอบแต่อย่างใด จึงเป็นพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบ แต่ได้มาโดยมิชอบ "เป็นผลไม้ของต้นไม้ที่มีพิษ" (Fruit of the Poisonous Tree)
ปัญหาต่อมา คือ พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยการกระทำที่ไม่ชอบนั้นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ แต่เดิมนั้นเราก็ถือกันว่า พยานหลักฐานต้องเกิดขึ้นโดยชอบและได้มาโดยชอบด้วยจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ในหลายๆกรณีก็เป็นที่น่าเสียดายที่มีพยานหลักฐานที่ชอบอยู่ แต่วิธีการได้มาไม่ชอบ ทำให้การปราบปรามอาชญากรรมไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดแนวคิดว่าเพื่อให้การปราบหรามอาชญากรรมมีประสิทธิภาพศาลอาจใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นโดยชอบแต่ได้มาโดยไม่ชอบได้ เป็นเหตุผลของการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226/1(แก้ไขเมือ ปี พศ.51)