Saturday 2 November 2013

โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายคอมมอนลอว์ Actus Reus, Mens Rea


โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายคอมมอนลอว์
Actus Reus, Mens Rea

สำหรับองค์ประกอบความผิดอาญา อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าองค์ประกอบความผิดทางอาญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ องค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน

การที่จะวินิจฉัยความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายอาญาคอมมอนลอว์นั้น ก่อนอื่นต้องพิจารณาเสียก่อนว่าการกระทำนั้นครบองค์ประกอบความผิดหรือไม่ โดยพิจารณาไปทีละส่วน คือ จากภายนอกเสร็จแล้วค่อยไปพิจารณาภายในของผู้กระทำผิด



วันนี้ผมจะขออธิบาย โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ซึ่ง ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา วางโครงสร้างความรับผิดทางอาญาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย (Actus Reus) และส่วนที่เป็นเจตนาร้ายหรือจิตใจที่ชั่วร้าย (Mens Rea)

1. ส่วนที่เป็นการกระทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย (Actus Reus) หมายถึง การกระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้ ว่าเป็นความผิด จุดเริ่มต้นของการพิจารณาความรับผิด คือ จะต้องมีการกระทำเพราะกฎหมายอาญามุ่งลงโทษสิ่งที่เป็นการกระทำจะไม่ลงโทษสิ่งที่เป็นความคิด

(Actus) ตรงกับค าว่า Act หมายถึง การกระทำส่วน Reus ตรงกับคำว่า Wrong หมายถึง ความผิด

การกระทำ (Actus) ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ 

     
     อิริยาบท 
     พฤติการณ์ประกอบอิริยาบท และ
     ผลของอิริยาบทและพฤติการณ์ประกอบอิริยาบทนั้น

ส่วนที่เรียกว่า ความผิด (Reus) เป็นการพิจารณาว่าการกระทำนั้นมีกฎหมายบัญญัติว่าเป็น “ความผิด” หรือไม่ ซึ่งในที่นี้จะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้าหากไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิด ก็ถือว่าขาดองค์ประกอบของความผิดแล้ว การพิจารณาส่วนนี้เรียกว่า Reus

2. เจตนาร้าย (Mens Rea) คือ สิ่งที่บ่งบอกสภาวะที่แท้จริงของจิตใจ อันเกี่ยวกับจิตใจที่ชั่วร้าย (evil mind) นอกจากนี้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ คำว่า เจตนาร้าย หมายความครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็น การกระทำโดยเจตนา (intention) และส่วนที่เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (Recklessness) ด้วย

สำหรับความเห็นของนักกฎหมายที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจุบันเห็นว่า เจตนาร้าย (mens rea) มีอยู่ในส่วนของการกระทำโดยเจตนาและการกระทำประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) ส่วนกรณีการประมาทธรรมดา (negligence) ยังมีข้อโต้เถียงกันว่าจะถือว่าผู้กระทำมีเจตนาร้าย (mens rea) หรือไม่

ประมาทโดยรู้ตัวเช่น นายแดงรู้ทราบว่ารถของตนเบรกไม่ดี แต่ก็ยังฝืนขับไป และเกิดชนคนตายเพราะรถเบรกไม่อยู่ เป็นการกระทำโดยประมาทโดยรู้ตัว (recklessness) เพราะรู้ถึงความบกพร่องของรถ แต่ยังฝืนใช้ไปม่ซ่อมให้ดี ตามกฎหมายคอมมอนลอว์ ถือว่ามีเจตนาร้าย (Mens Rea)

แต่ถ้าเป็นกรณประมาทธรรมดาหรือประมาทเพราะความผลั้งเผลอ (negligence) เช่น ขับรถด้วยความเร็วเพราะรีบกลับบ้าน จนถึงทางแยกเบรกไม่ทัน รถเลยไปชนคนตาย เช่นนี้เป็นความประมาทธรรมดา (negligence) ไม่ถือว่ามีเจตนาร้าย (mens rea)

คราวหน้าจะมาอธิบายโครงสร้างความรับผิดทางอาญาของระบบ Civil Law นะครับ

เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

อ้างถึง รองศาสตราจารย์ณฐัฐ์วฒัน์ สุทธิโยธิน, ทฤษฎีความรับผิดทางอาญาhttp://www.stou.ac.th/Schools/Slw/upload/41716_2.pdf

No comments:

Post a Comment