Monday 28 January 2013

ขั้นตอนการดำเนินคดีตาม “พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545”









ในคดียาเสพติดนั้นมีกฎหมายเฉพาะที่ได้กำหนดวิธีการดำเนินคดียาเสพติดไว้ต่างหากครับ และโดยเฉพาะผู้ที่เสพหรือครอบครองไว้เพื่อเสพ

ความผิดดังกล่าวนี้ เราถือว่า เป็นอาชญกรรมที่ไม่มีผู้เสียหาย (Victimless Crime) ผู้เสพยาเสพติดมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง เมื่อตัวเองเสพยาเข้าไปแล้วตัวผู้เสพเป็นผู้ได้รับผลร้าย มิใช่อาชญากรปกติ การฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดจึงสมควรกระทำให้กว้างขวาง และโดยที่ผู้เสพยาเสพติดจำนวนหนึ่งถูกบังคับให้เป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดเพื่อแลกกับการได้ยาเสพติดไปเสพด้วย อันนี้เป็นแนวคิดและที่มาของการตรา “พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545”




มาตรา 19 "ผู้ใดต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้าไม่ปรากฏว่าต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุกหรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล ให้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ต้องหานั้นมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่งให้ส่งตัวผู้นั้นไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่เกิดจากตัวผู้ต้องหานั้นเอง หรือจากพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้
การส่งไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด ให้ศาลพิจารณาส่งตัวไปควบคุมเพื่อตรวจพิสูจน์ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหรือการควบคุมตัวตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงอายุ เพศ และลักษณะเฉพาะบุคคลประกอบด้วย แล้วให้ศาลแจ้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทราบ
ในระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้พนักงานสอบสวนดำเนินกระบวนการสอบสวนคดีต่อไป และเมื่อสอบสวนเสร็จให้ส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย และแจ้งให้ทราบว่าผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่ ณ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือการควบคุมตัวอย่างแห่งใด

1. คดียาเสพติดที่อยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าวต้องมีปริมาณเท่าใดที่จะถือว่าเป็น ผู้เสพยาเสพติด เสพและมีไว้ในครอบครอง เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือเสพและจำหน่ายยาเสพติด

1. ยาเสพติดสำหรับฐานความผิดที่ถือว่าเป็นผู้เสพ ได้แก่ เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี โคคาอีน ฝิ่น และกัญชา

2. ยาเสพติดสำหรับฐานความผิดในข้อ 2-4 ต้องมีปริมาณ ดังนี้ เฮโรอีน มีน้ำหนักสิทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ยาบ้าไม่เกิน 5 เม็ด หรือไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ยาอีไม่เกิน 5 เม็ด หรือไม่เกิน 1,250 มิลลิกรัม โคคาอีนไม่เกิน 200 มิิลลิกรัม ฝิ่นและกัญชาไม่เกิน 5,000 มิลลิกรัม





โปรดดูรายละเอียดของกฎกระทรวงได้ที่ www.correct.go.th/lawcorrects/lawfile/52005.pdf

2. ขั้นตอนวิธีการดำเนินคดีแตกต่างจากคดีอาญาทั่วไปนะครับ คร่าวๆ ดังนี้

1. เมื่อมีการจับกุมผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามลักษณะชนิด ประเภท และปริมาณที่กำหนด ในกฎกระทรวงใน 4 ฐานความผิด คือ เสพ, เสพและครอบครอง, เสพและครอบครองเพื่อจำหน่าย, เสพและจำหน่ายยาเสพติด

2. พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง (หากผู้ต้องหามีอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ต้องส่งภายใน 24 ชั่วโมง) นับแต่ผู้ต้องหามาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลพิจารณามีคำสั่ง ส่งตัวผู้ต้องหาไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด

3. เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตรวจพิสูจน์และแจ้งต่อคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ ติดยาเสพติดแห่งท้องที่ พนักงานสอบสวนจะสอบสวนคดี แล้วส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการโดยไม่ต้องส่งผู้ต้องหาไปด้วย

4. เมื่อคณะอนุกรรมการรับตัวผู้ต้องหาไว้เพื่อตรวจพิสูจน์ตามคำสั่งศาลแล้ว เจ้าหน้าที่จะบันทึกประวัติ พฤติกรรมในการกระทำความผิด สภาพแวดล้อม ของผู้ต้องหา รวมทั้งตรวจพิสูจน์ โดยให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน นับแต่วันที่รับตัวไว้ เว้นแ่ต่มีเหตุจำเป็นคณะอนุกรรมการฯ อาจส่งให้ขยายระยะเวลาออกไปได้อีก ไม่เกิน 30 วัน ซึ่งระหว่างนั้นผู้ต้องหาจะถูกควบคุมตัวภายในสถานที่ควบคุมตัวเพื่อการตรวจ พิสูจน์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในเรือนจำของกรมราชทัณฑ์หรือสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน

5. ระหว่างถูกควบคุมตัวเพื่อตรวจพิสูจน์ ผู้นั้นหรือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิร้องขอปล่อยชั่วคราว ต่อคณะอนุกรรมการฯ โดยมีประกันหรือไม่มีประกันก็ได้

6. หากคณะอนุกรรมการฯ วินิจฉัยว่าผุ้เช้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นผู้เสพ หรือผู้ติดยาเสพติดแล้ว จะแจ้งผลต่อพนักงานอัยการ พร้อมทั้งจัดแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด แต่หากผลการตรวจพิสูจน์ ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหาเป็นผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด ก็จะแจ้งผลพร้อมส่งตัวผู้ต้องหาคืนเพื่อดำเนินคดีต่อไป

7. เมื่อผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการฟื้นฟูฯ ตามแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเ้สพติดเป็นเวลาไม่เกิน 6 เดือน หากผลการฟื้นฟูฯ ยังไม่เป็นที่พอใจ สามารถขยายออกไปอีกกี่ครั้งก็ได้ โดยครั้งหนึ่งไม่เกิน 6 เดือน แต่รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 3 ปี ซึ่งมีทั้งแบบควบคุมตัว และไม่ควบคุมตัว โดยแบบควบคุมตัวนั้น ผู้ต้องหาจะเข้่ารับการฟื้นฟูฯ ที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของกรมคุมประพฤติหรือในค่ายทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ รวมทั้งกองร้อยอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ

8. การฟื้นฟูแบบไม่ควบคุมตัวเป็นการฟื้นฟูในชุมชน ภายใต้ดูแลของสำนักงานคุมประพฤติกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนนั้น และหากผลการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นที่น่่าพอใจ คณะอนุกรรมการฯ สามารถขยายระยะเวลาออกไปอีกกี่ครั้งก็ได้โดยครังหนึ่งไม่เกิน 6 เดือน รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ถูกส่งตัวเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

9. หากผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหลบหนี จากการควบคุมของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ถือว่าผู้นั้นหนีการคุมขัง ตามมาตรา 190 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

10. เมื่อผู้ติด หรือผู้เสพยาเสพติด ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพจนครบถ้วน ตามแผนการฟื้นฟูฯ และผลการฟื้นฟูเป็นที่พอใจแล้ว ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหา และได้รับการปล่อยตัว แต่หากผลการฟ้ื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ยังไม่เป็นที่พอใจ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะพิจรณาดำเนินคดีผู้นั้นต่อไป





ขั้นตอนบำบัดอาจจะยุ่งยากไปหน่อย แต่โดยเจตนารมณ์ก็เพื่อไม่ให้ผู้ที่เสพนั้นกลับไปเสพยาเสพติดอีก หากเราใช้วิธีการแบบเดิม เช่น ส่งเข้าเรือนจำ ตอนเข้าไปอาจติดแค่ยาเสพติด แต่ออกมาอาจฆ่าคนเป็นด้วย หรือไปติดยาเสพติดชนิดอื่นมาอีก

และผลในทางกฎหมายต่างกัน หากเป็นผู้เสพและได้เข้าสู่กระบวนการขั้นตอนของการบำบัดแล้ว(อัยการจะชะลอการฟ้องไว้ก่อน) และหากเสร็จสิ้นการบำบัดแล้วก็พ้นจากการกระทำความผิด(ไม่เคยถูกดำเนินคดี) 

แต่การให้อัยการฟ้องคดีตามวิธีดำเนินคดีตามปรกติ แม้ศาลจะลงโทษไม่หนักแต่ก็จะมีประวัติติดตัวไปตลอด


............................................
พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕
http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538974651&Ntype=19


..............................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา







กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส




ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย

กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน

1 comment:

  1. มีประโยชน์ ให้ความรู้ เข้าใจขั้นตอนขึ้นเยอะเลยค่ะ

    ReplyDelete