Sunday 1 June 2014

กฎหมายอาญา : วัตถุประสงค์ของการลงโทษ





          การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนั้นเป็นวัตถุประสงค์ในการลงโทษที่มีมาแต่ในยุคสังคมดั่งเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นเมื่อมีการกระทำความผิดขึ้นมาแล้ว จะมีการแก้แค้นกันไปมาระหว่างคนในสังคม แม้การแก้แค้นนั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่สมควรก็ตาม[1] ซึ่งการแก้แคนทดแทนความผิดที่ได้ก่อขึ้นนี้ก็พิจารณาจากความร้ายแรงของความผิดที่ได้ก่อขึ้นว่าร้ายแรงเพียงใด เช่น หากฆ่าคนตายก็ต้องถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกัน แต่เมื่อมีการสถาปนารัฐขึ้นมาแล้ว เมื่อมีการกระทำความผิดจะปล่อยให้คนในสังคมแก้แค้นทดแทนกันเอง ก็จะนำมาซึ่งความแค้นเคืองต่อกันที่ไม่อาจจะหาที่สิ้นสุดได้ และเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถแก้แค้นได้ รัฐจึงเข้าไปจัดการกับการกระทำความผิดโดยการกำหนดให้การกระทำใดการกระทำหนึ่งเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษ ซึ่งการลงโทษนั้นถือเป็นการแก้แค้นทดแทนผู้เสียหาย การลงโทษในยุคนี้จึงมักเป็นการลงโทษที่ร้ายแรงให้สาสมกับความผิดที่ได้ก่อขึ้นมาแล้วเท่านั้นโดยที่ไม่ได้พิจารณาถึงผลที่จะได้รับจากการลงโทษในอนาคต[2] เช่น การประหารชีวิต ตัดมือ ตัดขา ซึ่งการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนี้สอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เสียหายและคนในสังคมมากที่สุดเพราะการที่รัฐลงโทษผู้กระทำผิดอย่างสาสมกับความผิดถือเป็นการชดเชยความรู้สึกเครียดแค้นของผู้เสียหายและสังคม


          แต่การลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อแก้แค้นทดแทนก็มีจุดอ่อนอยู่บางประการ เช่น การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนั้นไม่ได้พิจารณาถึงอนาคตว่าการที่ลงโทษไปแล้วจะมีผลต่อการป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในสังคมอีกหรือไม่[3] และการลงโทษเพื่อแก้ทดแทนความผิดยังไม่ได้มีการคำนึงถึงความจำเป็นของสังคมว่าจะได้รับประโยชน์อะไรจากการลงโทษหรือไม่ เพราะมุ่งคำนึงถึงแต่การลงโทษนั้นเหมาะสมกับความผิดที่ได้เกิดขึ้นและสาสมแล้วหรือไม่ รวมถึงการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนยังเป็นการยากที่จะวัดความเหมาะสมของการลงโทษว่าการลงโทษเพียงใดจึงเป็นการสาสมกับความผิด

          การลงโทษตามแนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดของสำนักอาชญาวิทยาดั่งเดิม (Classical School) ซึ่งเชื่อว่า การที่คนกระทำผิดเพราะไม่เกรงกลัวตัวกฎหมายหรือมีการบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ[4]เพราะผู้ที่จะกระทำความผิดมีการเจตจำนงอิสระในการกระทำความผิด (Free Will) ที่จะเลือกกระทำผิดหรือไม่ก็ได้ การที่เขาเลือกกระทำผิดเพราะเห็นว่าเขาได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดมากกว่าผลร้ายที่เขาจะได้รับ ดังนั้นการลงโทษตามแนวความคิดนี้จึงเห็นว่า ต้องลงโทษผู้กระทำผิดอย่างหนักให้เข็ดหลาบไม่กล้ากระทำผิดซ้ำ และเป็นเยี่ยงอย่างให้กับผู้ที่คิดจะกระทำผิดได้เห็นว่าการกระทำความผิดนั้นไม่คุ้มค่ากับกับการถูกลงโทษ[5] เพราะการถูกลงโทษก่อให้เกิดความเจ็บปวดและไม่ก่อผลดีหรือประโยชน์ต่อผู้กระทำผิดเลย และเมื่อผู้กระทำผิดเห็นว่าการกระทำความผิดของเขานั้นจะนำมาแต่ผลร้ายเขาจะหลีกหนีไม่กระทำผิด

          การลงโทษตามแนวความคิดนี้จะได้ผลของการลงโทษเพื่อข่มขู่และยับยั้งอาชญากรรมได้ 2 ลักษณะ คือ การข่มขู่ยับยั้งทั่วไป (General Deterrence) การลงโทษผู้กระทำผิด เช่นการลงโทษจำคุกผู้ที่กระทำความผิดลักทรัพย์ ทำให้คนในสังคมทราบว่าหากลักทรัพย์ผู้อื่นก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกัน ทำให้คนในสังคมได้ตะหนักว่าการลักทรัพย์จะถูกลงโทษการกระทำผิดก็จะถูยับยั้งได้ และการลงโทษผู้กระทำผิดยังเป็นขามขู่ยับยั้งเฉพาะราย (Special Deterrence) การที่ผู้กระทำผิดถูกลงโทษทำให้ได้ตะหนักหากจะกระทำผิดต่อไปในอนาคตย่อมไม่คุ้มค่ากับการถูกลงโทษ และการลงโทษผู้กะทำผิดจะทำให้เขาเกิดความเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำผิดอีก


          การลงโทษตามแนวความคิดนี้เชื่อว่า การที่อาชญากรกระทำความผิดได้เพราะมีโอกาสในการกระทำความผิด ถ้าไม่ไม่โอกาสอาชญากรจะไม่กระทำผิด การลงโทษเป็นการตัดโอกาสของอาชญากรในการกระทำความผิดซ้ำในอนาคต โดยวิธีการลงโทษเพื่อตัดโอกาสในการกระทำความผิดนั้นมีหลายวิธี เช่น การลงโทษจำคุกเป็นเวลานาน ๆ เมื่ออาชญากรอยู่ในเรือนจำแล้ว ย่อมไม่มีโอกาสที่จะกระทำผิดซ้ำได้อีก หรือการลงโทษโดยวิธีตัดความสามารถของการประกอบอาชญากรรม เช่น การตัดมือ ตัดเท้า เพื่อไม่ให้อาชญากรเหล่านี้สามารถประกอบอาชญากรรมที่เคยทำได้อีก หรือแม้กระทั้งการตัดอาญากรที่มีความอันตรายที่ได้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงออกจากสังคมไปอย่างถาวร โดยการเนรเทศ การจำคุกตลอดชีวิตหรือการประหารชีวิต
          แต่อย่างไรเสียการลงโทษตามแนวความคิดนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่หลายประการ เช่น การตัดมือ ตัดเท้าของผู้กระทำผิด จะนำมาซึ่งคนพิการที่กลายเป็นภาระของคนในสังคมเพราะนอกจากไม่สามารถประกอบอาชญากรรมได้แล้ว ยังไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้อีกด้วย การลงโทษด้วยวิธีดังกล่าวจึงไม่เกิดผลดีต่อสังคมแต่อย่างใด ในกรณีจำคุกก็เป็นการตัดโอกาสของผู้กระทำผิดผิดออกจากสังคมเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้กระทำความผิดเหล่านี้พ้นโทษก็จะกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับคนในสังคม เมื่อกลับมาแล้วนักโทษเหล่านี้มักจะมีความเครียดแค้นสังคมมากยิ่งขึ้น[6] อีกทั้งการไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม ทำให้กลับไปกระทำความผิดซ้ำและต้องกลับไปใช้ชีวิตในเรือนจำอีก


          แนวความคิดเกี่ยวกับการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเป็น แนวคิดของสำนักอาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม (Positive School) ซึ่งเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับเจตจำนงกำหนด (Determinism) เพราะถูกกดดันจากปัจจัยต่าง ๆ การที่มนุษย์กระทำผิดไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนจำนงอิสระ[7] ซึ่งปัจจัยที่มากดดันให้มนุษย์กระทำผิดอาจมาจากปัจจัยภายในตัวมนุษย์เอง เช่น ปัจจัยทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ หรือมาจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแว้ดล้อม สภาพครอบครัว เศรษฐิกจ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีส่วนก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น การลงโทษตามแนวความคิดนี้จึงไม่ได้เน้นลงโทษผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว แต่เห็นว่าการลงโทษควรหาสาเหตุของการก่ออาชญากรรม เมื่อทราบถึงสาเหตุแล้วก็พยายามแก้ไขสาเหตุของอาชญากรรมนั้นเสีย เพื่อให้ผู้กระทำผิดไม่กลับไปกระทำผิดอีก[8] ซึ่งการที่จะแก้ไขผู้กระทำผิดได้นั้นจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคลหรือมีการจำแนกผู้กระทำผิด เพื่อที่จะได้หาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดแต่ละรายให้เหมาะสม



[8] Jamws W.H.Mccord and Sandra L. Mccord, Criminal law and Procedure for the paralegal: a systems approach, 3rd ed. P. cm. West Legal studies, p.12.








กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส


กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน


No comments:

Post a Comment