Monday 22 February 2016

ข้อสอบวิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน ชุดที่ 1


 วิชากฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน ชุดที่ 1
ออกข้อสอบโดย เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา



คำถามข้อที่: 1: ข้อใดต่อไปนี้ต้องใช้พยานหลักฐานในการพิสูจน์
   ก. ข้อกฎหมาย
   ข. ข้อเท็จจริง
   ค. คดีขาดอายุ
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 2: พยานหลักฐานในสำนวน หมายถึงข้อใดดังต่อไปนี้
   ก. สิ่งที่สามารถให้ข้อเท็จจริงแก่ศาล
   ข. พยานหลักฐานที่คู่ความนำเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีเท่านั้น
   ค. พยานหลักฐานที่ศาลยอมรับหรือยอมให้นำสืบได้เท่านั้
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 3: ระบบการพิจารณาคดีที่ผู้มีอำนาจปกครองต้องไต่สวนหาความจริง โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีผู้ใดมากล่าวหาหรือไม่ คือระบบการพิจารณาคดีใดดังต่อไปนี้
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน
   ค. ระบบต่อสู้
   ง. ระบบจารีตนครบาล




คำถามข้อที่: 4: ระบบการพิจารณาคดีใดที่ศาลมีบทบทสำคัญในการพิจารณาคดี มีอำนาจในการสืบพยานเพิ่มเติมหรืองดสืบพยานได้
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน
   ค. ระบบต่อสู้
   ง. ระบบจารีตนครบาล




คำถามข้อที่: 5: ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับระบบการพิจาารณาคดีแบบไต่สวน
   ก. การพิจารณาคดีโดยเฉพาะในคดีอาญา จะมีลักษณะเป็นการดำเนินคดีระหว่างศาลกับจำเลย โจทก์ไม่มีบทบาทสำคัญ
   ข. มักจะไม่มีกฎเกณฑ์การสืบพยานที่เคร่งครัดมากนัก โดยเฉพาะไม่มีบทตัดพยาน (Exclusionary rule) ที่เด็ดขาด
   ค. ผู้ไต่สวนมึบทบาทในการค้นหาความจริงในคดีและคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกไต่สวนไปพร้อมกัน
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 6: ระบบการพิจารณาคดีใดที่มีแนวความมาจากการที่ประชาชนคนหนึ่งนำข้อพิพาทมาฟ้องร้องว่ากล่าวบุคคลอีกคนหนึ่งต่อผู้มีอำนาจ
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน
   ค. ระบบจารีตนครบาล
   ง. ระบบค้นหาความจริงโดยศาล




คำถามข้อที่: 7: ข้อใดดังต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับระบบกล่าวหา
   ก. ศาลจะวางตัวเป็นกลาง (Passive) เพื่อควบคุมกติกาอย่างเคร่งครัด
   ข. ไมมีอำนาจในการสืบพยานเพิ่มเติมหรือตัดพยาน
   ค. มีหลักเกณฑ์การนำพยานหลักฐานมาสืบเคร่งครัด
   ง. ไม่มีข้อถูก




คำถามข้อที่: 8: ระบบการพิจารณาคดีใดที่ศาลมีบทบาทในการค้นหาความจริงในการพิจารณาคดีอย่างมาก
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน




คำถามข้อที่: 9:

ระบบการพิจารณาคดีใดที่มีลักษณะเป็นการต่อสู้กันของคู่ความ
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน




คำถามข้อที่: 10: ศาลไทยใช้ระบบการพิจารณาคดีใดมาใช้ในการพิจารณาคดีในศาล
   ก. ระบบกล่าวหา
   ข. ระบบไต่สวน
   ค. ศาลยุติธรรมใช้ระบบกล่าวหา และศาลปกครองใช้ระบบไต่สวน
   ง. ศาลยุติธรรมใช้ระบบไต่สวน และศาลปกครองใช้ระบบกล่าวห่




คำถามข้อที่: 11: พยานถ้อยคำ Oral Evidence หมายถึงข้อใดต่อไปนี้


   ก. พยานบุคคล
   ข. พยานเอกสาร
   ค. พยานวัตถุ
   ง. พยานแวดล้อม




คำถามข้อที่: 12: ในคดีอาญา พยานชนิดใดมีความสำคัญมากที่สุด
   ก. พยานบุคคล
   ข. พยานเอกสาร
   ค. พยานวัตถุ
   ง. พยานแวดล้อม




คำถามข้อที่: 13: พยานหลักฐานที่มีความสำคัญในดคีแพ่ง คือ พยานหลักฐานชนิดใด
   ก. พยานบุคคล
   ข. พยานเอกสาร
   ค. พยานวัตถุ
   ง. พยานแวดล้อม




คำถามข้อที่: 14: มีด ปืน ยาเสพย์ติดของกลาง บาดแผลของผู้เสียหาย คือ พยานหลักฐานชนิดใด
   ก. พยานบุคคล
   ข. พยานเอกสาร
   ค. พยานวัตถุ
   ง. พยานแวดล้อม




คำถามข้อที่: 15: ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ พยานโดยตรง
   ก. พยานที่ไม่ได้แสดงถึงข้อเท็จจริงที่พิสูจน์โดยตรง แต่อาจทำให้ศาลอนุมานได้ว่าข้อเท็จจริงที่คู่ความประสงค์จะพิสูจน์มีอยู่จริงหรือไม่มี
   ข. พยานที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงแก่ศาลตามที่ตนได้รับรู้มาจากประสาทของตน มิใช่รู้มาจากการบอกเล่าของผู้อื่น
   ค. พยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ได้โดยตรง
   ง. ไม่มีข้อถูก




คำถามข้อที่: 16: คำเบิกความของพยานว่าเห็นจำเลยถือมีดเปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากในบ้าน เป็นพยานหลักฐานชนิดใด
   ก. พยานโดยตรง
   ข. ประจักษ์พยาน
   ค. พยานแวดล้อมกรณี
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 17: พยานที่มาเบิกความให้ข้อเท็จจริงแก่ศาลตามที่ตนได้รับรู้มาจากประสาทของตน มิใช่รู้มาจากการบอกเล่าของผู้อื่น คือพยานหลักฐานชนิดใด
   ก. พยานโดยตรง
   ข. ประจักษ์พยาน
   ค. พยานบุคคล
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 18: ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพยานบอกเล่า
   ก. ไม่อาจถูกถูกซักค้านได้
   ข. เป็นพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ (Unreliable)
   ค. มีได้แต่เฉพาะพยานบุคคล
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 19: นายแดงเห็นนายเอเอามีดแทงนายบี แล้ววิ่งหนีออกไปทางหลังบ้าน นายดำเห็นนายเอถือมีดที่เปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากบ้านอย่างมีพิรุธ สงสัยว่านายเอจะเป็นคนฆ่านายบี จึงเอาเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้นายขาวฟัง

นายแดงเป็นพยานหลักฐานชนิดใด
   ก. ประจักษ์พยาน
   ข. พยานแวดล้อม
   ค. พยานบอกเล่า
   ง. ไม่มีข้อถูก




คำถามข้อที่: 20: นายแดงเห็นนายเอเอามีดแทงนายบี แล้ววิ่งหนีออกไปทางหลังบ้าน นายดำเห็นนายเอถือมีดที่เปื้อนเลือดวิ่งออกมาจากบ้านอย่างมีพิรุธ สงสัยว่านายเอจะเป็นคนฆ่านายบี จึงเอาเรื่องดังกล่าวไปเล่าให้นายขาวฟัง

นายดำเป็นพยานหลักฐานชนิดใด
   ก. ประจักษ์พยาน
   ข. พยานแวดล้อมกรณี
   ค. พยานบอกเล่า
   ง. ไม่มีข้อถูก




คำถามข้อที่: 21: เหตุที่กฎหมายกำหนดให้ต้องนำฉบับเอกสารมาสืบเท่านั้น ห้ามมิให้นำสำเนาเอกสารมาสืบแทนหรือหักล้างต้นฉบับ
   ก. เพราะต้นฉบับเอกสารมีความถูกต้องแท้จริง
   ข. เพราะต้นฉบับย่อมน่าเชื่อถือกว่าสำเนา
   ค. เพราะต้นฉบับเป็นเอกสารที่หาง่าย
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 22: เหตุใดในคดีอาญาจึงไม่มีการชี้สองสถาน


   ก. เพราะคดีอาญาไม่มีการยื่นคำให้การเป็นหนังสือ
   ข. เพราะคดีอาญาไม่มีประเด็นซับซ้อนเหมือนคดีแพ่ง
   ค. เพราะคดีอาญา เป็นคดีที่โจทก์ต้องนำสืบทุกคดี
   ง. เพราะคดี่อาญา ไม่มีการยื่นบัญชีระบุพยาน




คำถามข้อที่: 23: ประเด็นแห่งคดี เกิดขึ้นได้จากสาเหตุใด
   ก. เกิดขึ้นได้จากคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
   ข. เกิดขึ้นได้จากคำให้การของจำเลยเท่านั้น
   ค. เกิดขึ้นได้ทั้งจากคำฟ้อง และคำให้การของจำเลย
   ง. เกิดขึ้นได้ทั้งจากคำฟ้อง และคำให้การของจำเลย และคำแถลงของคู่ความด้วย




คำถามข้อที่: 24: แดงฟ้องว่าดำกู้ยืมเงินไป 100,000 บาท โดยแดงได้ทวงถามดำไปแล้ว แต่ดำปฏิเสธไม่ชำระหนี้ ดำให้การว่า ดำได้กู้ยืมเงินของแดงไปจริง 100,000 บาท แต่ดำได้ชำระหนี้ให้นายแดงแล้ว

ในคดีดังกล่าเกิดประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ อย่างไร
   ก. ไม่เกิดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากนายดำได้รับว่ากู้เงินไปจริง
   ข. ไม่เกิดประเด็นข้อพิพาท นายดำไม่ได้ปฏิเสธ
   ค. เกิดประเด็นข้อพิพาท เพราะนายดำได้ต่อสู้ว่าชำระหนี้แล้ว
   ง. เกิดประเด็นข้อพิพาท เพราะนายต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย




คำถามข้อที่: 25: ข้อใดต่อไปนี้คือลักษณะของคำฟ้องคดีแพ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
   ก. จะต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา
   ข. ต้องมีคำขอให้ศาลบังคับ
   ค. ต้องมีข้ออ้างที่เป็นหลักฐานแห่งข้อหา
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 26: ข้อใดต่อไปนี้กล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท
   ก. ประเด็นแห่งคดีที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ
   ข. ประเด็นที่เป็นปัญหาที่คู่ความยังโต้เถียงกันอยู่
   ค. ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การถึงไม่อาจตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทได้
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 27: โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยบรรยายฟ้องว่า นายแดงลูกจ้างของจำเลยได้ขับรถไปในทางการที่จ้างด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้ชนกับรถโจทก์เสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท จำเลยให้การต่อสู้ปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่า นายแดงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย จึงไม่ได้ขับรถไปในทางการที่จ้าง และไม่ได้ขับรถด้วยความเร็วจนชนรถของโจทก์ โจทก์ต่างหากที่ขับรถตัดหน้านายแดงโดยกะทันหัน 



ดังนี้คดีนี้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างไร และคู่ความฝ่ายใดนำสืบ


   ก. นายแดงทำละเมิดโจทก์หรือไม่ โจทก์นำสืบ
   ข. นายแดงทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และนายแดงเป็นลูกจ้างได้กระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ โจทก์นำสืบ
   ค. นายแดงเป็นลูกจ้างได้กระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ จำเลยนำสืบ
   ง. นายแดงทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และนายแดงเป็นลูกจ้างได้กระทำในทางการที่จ้างหรือไม่ จำเลยนำสืบ




คำถามข้อที่: 28: กระบวนการที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบของคู่ความหลังจากที่จำเลยได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์แล้ว คือกระบวนการใดดังต่อไปนี้
   ก. นัดพร้อม
   ข. ชี้สองสถาน
   ค. ไต่สวนมูลฟ้อง
   ง. สืบพยาน




คำถามข้อที่: 29: ข้อใดดังต่อไปนี้เกิดขึ้นในวันชี้สองสถาน
   ก. การสอบถามของศาลหรือการแถลงของคู่ความ
   ข. คู่ความแถลงกันบางประเด็นหรืออาจแถลงรับประเด็นข้อพิพาทบางประเด็น
   ค. ศาลสอบถามคู่ความเพื่อให้ความชัดเจนในประเด็นข้อพาท
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 30: ในกรณีที่ศาลได้นัดคู่ความาวันชี้สองสถานหากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาในวันดังกล่าวจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร


   ก. หากฝ่ายที่ไม่มาเป็นโจทก์ ให้ศาลยกฟ้อง
   ข. หากฝ่ายใดไม่มาศาลในวันชี้สองสถานให้ถือว่าไม่มีการปฏิเสธคำคู่ความของอีกฝ่าย
   ค. คู่ความไม่มาศาลในวันชี้สองสถาน ศาลก็จะทำการชี้สองสถานไปโดยถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบการชี้สองสถานแล้ว
   ง. ให้ศาลนัดวันชี้สองสถานใหม่ ภายใน 7 วัน




คำถามข้อที่: 31: นายหนึ่งเป็นจำเลยในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง โดยศาลได้นัดนายหนึ่งไปศาลเพื่อชี้สองสถาน นายหนึ่งทราบนัดดังกล่าวดี แต่ตื่นสายทำให้ไปไม่ทันเวลาที่ศาลนัด ปรากฏว่าศาลได้ทำการชี้สองสถานโดยกำหนดให้นายหนึ่งนำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อน นายจะคัดค้านการกำหนดหน้าที่นำสืบดังกล่าวที่ศาลกำหนดไว้ได้หรือไม่ อย่างไร
   ก. ได้ เพราะเป็นการกำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง
   ข. ได้ เพราะถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
   ค. ไม่ได้ เพราะนายหนึ่งไม่มาศาลในวันดังกล่าวโดยไม่ปรากฏเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงได้
   ง. ไม่ได้ เพราะต้องยื่นคำร้องขอให้มีการกำหนดประเด็นข้อพาทและหน้าทีนำสืบก่อนศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเสร็จ




คำถามข้อที่: 32: ปัญหาที่ศาลไม่จำต้องสืบพยาน โดยศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง คือ ข้อใดดังต่อไปนี้
   ก. ปัญหาเกี่ยวกับฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
   ข. ปัญหาเเกี่ยวกับอายุความ
   ค. ปัญหาเกี่ยวกับระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 33: นายแดงผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในคดีผิดสัญญาเช่่าของนายหนึ่งที่เป็นโจทก์ฟ้องนายสองเป็นจำเลย ได้ไปนั่งทานกาแฟในร้านแห่งหนึ่ง และแอบได้ยินนายหนึ่งโจทก์ในคดีได้พูดคุยกับนายสามว่า จริงๆแล้วนายสองไม่ได้ผิดสัญญาแต่ตัวเองอยากเอาไปให้คนอื่นที่ให้ค่าเช่าสูงเช่ามากกว่า เลยฟ้องนายสองต่อศาล

ดังนี้นายแดงจะนำถ้อยคำดังกล่าวไปไว้ในสำนวนพิจารณาคดีได้หรือไม่
   ก. ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลรับรู้เอง
   ข. ได้ เพราะเป็นถ้อยคำที่นายหนึ่งได้เบิกความออกมาด้วยความสมัครใฝจ
   ค. ไม่ได้ เพราะไม่ได้เบิกความต่อนายหนึ่งโดยตรง
   ง. ไม่ได้ เพราะถือเป็นพยานที่คู่ความไม่ได้นำมาสืบในศาล




คำถามข้อที่: 34: ข้อเท็จจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน
   ก. ข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไป
   ข. ข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้
   ค. ข้อเท็จจริงที่คู่ความรับหรือถือว่ารับกันแล้วในศาล
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 35: ข้อใดดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าจำเลยในคดีแพ่งรับคำคู่ความ
   ก. จำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด
   ข. จำเลยยื่นคำให้การ โดยไม่ได้ปฏิเสธ
   ค. คำให้การของจำเลยไม่ได้ให้การถึงประเด็นที่อยู่ในคำฟ้องของโจทก์
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 36: ในคดีแพ่ง หากจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยชัดแจ้ง เพียงแต่ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร
   ก. ถือว่าเลยรับทุกประเด็น
   ข. ถือว่าจำเลยรับในประเด็นที่ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธ
   ค. ถือว่าจำเลยปฏิเสธ แต่ไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบ
   ง. ถือว่าจำเลยปฏิเสธ และมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบ แต่ต้องสืบหลังโจทก์เสมอ




คำถามข้อที่: 37: ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับคำท้า
   ก. คดีแพ่งและคดีอาญา คู่ความย่อมท้ากันได้
   ข. คำถ้าต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี
   ค. คำท้าเป็นเรื่องใดก็ได้ เพียงแต่คู่ความอีกฝ่ายต้องยินยอม
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 38: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายในข้อใดต่อไปนี้ที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจหักล้างได้
   ก. ปพพ. มาตรา 17 ?ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่า ตายพร้อมกัน?
   ข. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
   ค. ปพพ. มาตรา 1369 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน
   ง. ถูกทุกข้อ




คำถามข้อที่: 39: วันที่ 11 ธันวาคม พ.. 2558 นายหนึ่งได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสองจำเลยที่ 1 และนายสามเป็นจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยร่วมกันต่อศาล โดยอ้างว่าเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.. 2557 จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่อ และเฉี่ยวชนโจทก์ซึ่งกำลังปั่นจักรยานจนล้ม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและจักรยานของโจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาล 20,000 บาท และค่าซ่อมจักรยานจำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ทำละเมิด

จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันยื่นคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถด้วยความประมาทชนโจทก์ตามที่กล่าวอ้าง แต่เพราะโจทก์ได้ขี่จักรยานในเวลากลางคืนโดยไม่มีสัญญานไฟ ทำให้จำเลยไม่สามารถมองเห็นโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเบรกรถได้ทัน ซึ่งเป็นความผิดของโจทก์เอง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปส่งของโดยให้ค่าขนส่งครั้งละ 1,000 บาท อันเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่วนค่าซ่อมจักรยานที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นค่าซ่อมที่เกินความเป็นจริง ค่าซ่อมจักรยานของโจทก์ที่เสียหายไม่น่าเกิน 500 บาท ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์

เมื่อโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำคู่ความต่อศาลแล้ว ศาลได้นัดให้คู่ความมาศาลเพื่อชี้สองสถานในวันที่ 29 ธันวาคม 2558 หากท่านเป็นศาลจะกำหนดประเด็นข้อในคดีนี้อย่างไร


   ก. จำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์หรือไม่
   ข. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่
   ค. จำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์หรือไม่ และจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่
   ง. จำเลยที่ 1 ทำละเมิดโจทก์หรือไม่, จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่, และค่าสินไหมทดแทนคือจำนวน 80,000 บาทจริงหรือไม่




คำถามข้อที่: 40:

วันที่ 11 ธันวาคม พ.. 2558 นายหนึ่งได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสองจำเลยที่ 1 และนายสามเป็นจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยร่วมกันต่อศาล โดยอ้างว่าเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.. 2557 จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์บรรทุกไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทเลินเล่อ และเฉี่ยวชนโจทก์ซึ่งกำลังปั่นจักรยานจนล้ม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บและจักรยานของโจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาล 20,000 บาท และค่าซ่อมจักรยานจำนวน 80,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ทำละเมิด

จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันยื่นคำให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถด้วยความประมาทชนโจทก์ตามที่กล่าวอ้าง แต่เพราะโจทก์ได้ขี่จักรยานในเวลากลางคืนโดยไม่มีสัญญานไฟ ทำให้จำเลยไม่สามารถมองเห็นโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถเบรกรถได้ทัน ซึ่งเป็นความผิดของโจทก์เอง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 ไปส่งของโดยให้ค่าขนส่งครั้งละ 1,000 บาท อันเป็นสัญญาจ้างทำของไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ส่วนค่าซ่อมจักรยานที่โจทก์เรียกร้องมานั้นเป็นค่าซ่อมที่เกินความเป็นจริง ค่าซ่อมจักรยานของโจทก์ที่เสียหายไม่น่าเกิน 500 บาท ขอให้ศาลยกฟ้องโจทก์

เมื่อโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำคู่ความต่อศาลแล้ว ศาลได้นัดให้คู่ความมาศาลเพื่อชี้สองสถานในวันที่ 29 ธันวาคม 2558

ในประเด็นข้อพิพาท ว่าค่าสินไหมทดแทนคือจำนวน 80,000 บาทหรือไม่นั้น ผู้ใดมีหน้าที่นำสืบ


   ก. โจทก์
   ข. จำเลย 1
   ค. จำเลยที่ 2
   ง. จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2




หากต้องการต้นฉบับพร้อมเฉลย ติดต่ออีเมล chalermwut.up@gmail.com ชุดละ 50 บาทครับ

No comments:

Post a Comment