Tuesday 25 December 2012

แนวข้อสอบกฎหมายว่าด้วยมรดก




ข้อ ๑.

นายยุงบินชุม จดทะเบียนสมรสกับนางแก่แต่ซิง มีบุตรระหว่างสมรสด้วยกัน ๑ คนคือนายจวนมีพุง ในขณะที่นายยุงบินชุมอยู่กินกับนางแก่แต่ซิง ทั้งคู่ได้มีปัญหาทะเลาะกันอยู่ประจา เพราะนายยุงบินชุม ไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว จนนางแก่แต่ซิงทนไม่ไหว จึงพาลูกหนีไปอยู่กับตาและยาย หลังจากนางแก่แต่ซิง หนีไปได้ ๑ ปี นายยุงบินชุม ได้พานางคานยังคอย นักร้องประจาร้านคาราโอเกะมาอยู่กินฉันสามีภริยา และได้มีบุตรด้วยกันคือ ทวงยาดอง ซึ่งนายยุงบินชุม ให้การเลี้ยงดูเป็นอย่างดี พร้อมส่งเสียให้เรียนโรงเรียนประจาจังหวัด เพราะเป็นลูกคนเล็ก พร้อมกันนี้นายยุงบินชุมยังได้จดทะเบียนรับนายฮากันตึม เป็นบุตรบุญธรรมอีกด้วย หลังจากที่นายยุงบินชุมอยู่กินกับนางคานยังคอย ได้ประกอบธุรกิจมากมายทั้งโรงแรม บ้านจัดสรร และหุ้นในบริษัทต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทาให้ฐานะทางการเงินดีขึ้น และงานก็ยุ่งมากกว่าเดิม นายยุงบินชุมจึงไปรับ นายรอยตีนกา บิดาที่อยู่บ้านนอกคนเดียวหลังจากแม่ตายไปนานแล้ว มาคอยเฝ้าบ้านให้แต่ไม่นาน นายรอยตีนกาก็ได้เสียชีวิตลง

จนมาถึงวันหนึ่งนายยุงบินชุม ได้ทราบข่าวจากนายแทงจิงจิง บุตรชายของนายจวนมีพุง ว่า นายจวนมีพุง ถึงแก่ความตายแล้ว นายยุงบินชุมเสียใจมากที่นายจวนมีพุงเสียชีวิตและอยากไปร่วมงานศพ แต่นายยุงบินชุมสายตาไม่ดีขับรถเองไม่ได้ จึงได้ขอให้นายฮากันตึมขับรถพาไป เด็กชายคิมยังยังบุตรของ นายฮากันตึม ร้องไห้จะไปด้วยแต่นายฮากันตึมไม่ยอมให้ไป ขณะขับรถไปงานศพได้ครึ่งทางนายฮากันตึม เกิดหลงทางขึ้นมาจึงโทรถามเส้นทางจากนายคิงคอง งง ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายจวนมีพุง ก่อนที่จะไปถึงงานศพ บังเอิญสุนัขวิ่งตัดหน้ารถเสียก่อน ทาให้นายฮากันตึมหักหลบ รถเสียหลักพลิกคว่ำนายฮากันตึมตายคาที่ ส่วนนายยุงบินชุม ได้รับบาดเจ็บสาหัสและตายหลังจากนั้นอีก ๒ วัน


ให้นิสิตวินิจฉัยว่าใครเป็นทายาทและไม่เป็นทายาท ผู้มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม ในฐานะใดพร้อมทั้งยกหลักกฎหมายประกอบ (๒๕ คะแนน, อ.เฉลิมวุฒิ สาระกิจ)


ธงคำตอบ

กรณีของแก่แต่ซิง ซึ่งเป็นภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกับนายยุงบินชุม เมื่อปรากฏว่าในขณะที่นายยุงบินชุมตาย นางแก่แต่ซิงยังไม่ได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน นางแก่แต่ซิงยังคงเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายในขณะที่นายยุงบินชุมถึงแก่ ความตาย ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรค 2 “คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง” ดังนั้นเมื่อปรากฎว่านายแก่แต่ซิงยังมีชีตอยู่ขณะนายยุงบินชุม ถึงแก่ความตาย นางแก่แต่ซิงจึงเป็นทายาทโดยธรรม แม้จะมีข้อเท็จจริงว่านางแก่แต่ซิง ได้ทิ้งร้างกับนายยุงบินชุมก็ตาม ก็ไม่ทาให้เสียไปซึ่งสิทธิในการรับมรดกของกันและกัน ตาม มาตรา 1628 “สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน” ดังนั้นนางแก่แต่ซิงจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม (3คะแนน)

กรณีของนายจวนมีพุง ซึ่งเป็นบุตรที่เกิดมาในระหว่าง นายยุงบินชุมกับนางแก่แต่ซิงสมรสกัน นายจวนมีพุงจึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายยุงบินชุมและนางแก่แต่ซิง ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลาดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน” นายจวนมีพุงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายยุงบินชุม จึงเป็นผู้สืนสันดาน ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมประเภทหนึ่ง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายจวนมีพุงได้ถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดกตาย นายจวนมีพุง จึงไม่ใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม (3คะแนน)

เมื่อความปรากฏว่านายนายแทงจิงจิงเป็นบุตร ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายจวนมีพุง เพราะเป็นบุตรของนายจวนมีพุง และนายจวนมีพุงซึ่งเป็นทายาทของนายยุงบินชุมได้ถึงความตายก่อนเจ้ามรดก ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย” เมื่อนายจวนมีพุงซึ่งเป็นผู้สืบสันดานในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ม.1629 (1) ได้ถึงแก่ความตายก่อนนายยุงบินชุมเจ้ามรดก และผู้สืบสันดานของนายจวนมีพุงคือนายแทงจิงจิงยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นนายแทงจิงจิง จึงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายมีพุงในฐานะผู้สืบสันดานในฐานะทายาทโดยธรรม (3คะแนน)

และยังปรากฏอีกว่านายจวนมีพุงมีบุตรบุญธรรม คือนายคิง คอง งง เมื่อนายจวนมีพุงถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามาดก ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย” เมื่อนายจวนมีพุงถึงแก่ความตาย ปรากฏว่านายจวนมีพุง มีบุตรบุญธรรม คือนาย คิงคองงง ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้” นายคิงคองงงเป็นผู้สืบสันดานผู้มีสิทธิรับมรดกของนายจวนมีพุงก็ตาม แต่ในกรณีที่เป็นการรับมรดกแทนที่นั้น ตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ มาตรา 1643 “สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่” ดังนั้นเมื่อนายคิงคองงงเป็นบุตรบุญธธรมที่กฎหมายให้สีสิทธิรับมรดกสเมือนเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะผู้สืบสันดาน แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายจวนมีพุง ดังนั้นนายคิงคองงงจึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่นายจวนมีพุง (3คะแนน)

กรณีของนางคานยังคอยที่อยู่กินฉันสามีภรรยากับนายยุงบินชุม จนถึงในขณะที่นายยุงบินชุมถึงแก่ความตายนั้น ตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 วรรค 2 “คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของ บทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635” เมื่อปรากฏข้อเม็จจริงว่านางคานยังคอยเพียงแค่อยู่กินฉันสามีภริยากับนายยุงบินชุม แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย จึงไม่ได้เป็นคู่สมรสที่มีเป็นทายาทโดยธรรม จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม (2คะแนน)

กรณีของทวงยาดอง ซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากนายยุงบินชุมกับนางคานยังคอย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 “เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น” ดังนั้นนายทวงยาดองจึงไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายยุงบินชุม แต่อย่างไรก็ตามปรากฎข้อเท็จจริงว่านายยุงบินชุมได้ให้การเลี้ยงดูอย่างดีและส่งเสียให้เรียนโรงเรียนประจาจังหวัดอันเป็นพฤติการที่แสดงการรับรองว่านายทวงยาดองเป็นบุตรของตน ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้” ดังนั้นเมื่อนายยุงบินชุมได้ให้การรับรองนายทวงยาดองบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบึตรของตนแล้ว จึงถือว่านายทวงยาดองเป็นผู้สืบสันดานเสมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายยุงบินชุมแล้ว และเมื่อถือว่านายทวงยาดองเป็นผู้สืบสันดานของนายยุงบินชุม ตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลาดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน” ดังนั้นนายทวงยาดองซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของนายยุงบินชุมเจ้ามรดก จึงเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม (3คะแนน)

กรณีของนายฮากันตึม ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของนายยุงบินชุมนั้น ตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 “บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรม นั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความ หมายแห่งประมวลกฎหมายนี้” ดังนั้นนายฮากันตึมซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของนายฮากันตึม และตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ “มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลาดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน” ดังนั้นนายฮากันตึมซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน จึงเป็นทายาทโดยธรรมองเจ้ามรดก แต่เมื่อความปรากฏว่านายฮากันตึมได้ขับรถพลิกคว่าและถึงแก่ความตายก่อนนายยุงบินชุมเจ้ามรดก นายฮากันตึมจึงไม่มีสภาพบุคคลอยู่ในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม (3คะแนน)

กรณีของเด็กชายคิมยังยัง ซึ่งเป็นบุตรของนายฮากันตึมบุตรบุญธรรมของนายยุงบินชุม เมื่อความปรากฎว่านายฮากันตึมถึงแกความตายไป่ก่อนเจ้ามรดก ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกาจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย” นายฮากันตึมเป็นทายาทของนายยุงบินชุม ตามมาตรา 1629(1) และถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก ให้ผู้สันดานรับมรดกแทนที่ได้ เด็กชายคิมยังยังเป็นบุตรของนายฮากันตึม ซึ่งถือเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของนายฮากันตึม เด็กชายคิมยังยังจึงรับมรดกแทนที่นายฮากันตึมในฐานะผู้สืบสันดานทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกได้ (3คะแนน)

กรณีของนายรอยตีนกา ซึ่งเป็นบิดาของนายยุ่งบินชุม ซึ่งตามหลักของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 “ทายาทโดยธรรมมีหกลาดับเท่านั้น และภายใต้บังคับ แห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลาดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่ง ต่อไปนี้ คือ (2) บิดามารดา” ดังนั้นนายรอยตีนกาจึงเป็นทายาทโดยธรรมของนายยุงบินชุม แต่ไม่มีสิทธิรับมรดกของนายยุงบินชุม เพราะขณะที่นายยุงบินชุมถึงแก่ความตาย นายรอยตีนกาได้ถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1641 “ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลาดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป” ดังนั้นจึงห้ามมิให้รับมรดกแทนที่ของนายรอยตีนกา (2คะแนน)

..............................................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา






กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส


กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน


No comments:

Post a Comment