Tuesday 25 December 2012

เงื่อนไขการระงับคดีอาญา






โจทก์ทั้งสองเมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน แต่โจทก์ทั้งสองได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว ทำให้คดีอาญาที่โจทก์ทั้งสองถูกกล่าวหาเป็นอันเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 (2) เมื่อโจทก์ทั้งสองกล่าวหาต่อจำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนว่า จ่าสิบตำรวจ ป. ทำร้ายร่างกายโจทก์ทั้งสองในเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจ่าสิบตำรวจ ป. ได้กระทำความผิดข้อหาทำร้ายร่างกาย ทำให้โจทก์ทั้งสองเสียหายโดยมีเจตนาจะให้จ่าสิบตำรวจ ป. ได้รับโทษเช่นนี้ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ทั้งสองถูกกล่าวหาว่าเมาสุราจนครองสติไม่ได้ ประพฤติตนวุ่นวายในทางสาธารณะหรือสาธารณสถาน จำเลยในฐานะพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคำร้องทุกข์ของโจทก์ทั้งสองไว้เพื่อดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ต่อไปการที่จำเลยไม่รับคำร้องทุกข์ของโจทก์ทั้งสองในข้อหาทำร้ายร่างกาย อ้างเพียงว่าคดีเลิกกันแล้วโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหาย
โจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำร้ายร่างกายโจทก์ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองทำร้ายร่างกายโจทก์ไม่ถึงกับเป็นเหตุอันตรายแก่กายหรือจิตใจ จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ พนักงานสอบสวน ทำการเปรียบเทียบปรับ โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างยินยอม คดีย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37(2) สิทธินำคดีอาญาในความผิดลหุโทษของโจทก์มาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) แต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นในวันเดียวกันโจทก์เกิดอาการมึนศีรษะ และอาเจียนจึงกลับไปให้แพทย์ตรวจใหม่ พบว่าสมองได้รับการ กระทบกระเทือนและมีเลือดคั่งต้องรักษานานประมาณ 30 วัน โดยโจทก์อ้างว่าเป็นผลเกิดจากถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แท่งเหล็กกลวงตี หากเป็นจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง คดีก็ไม่ อาจเลิกกันได้เพราะกรณีมิใช่ความผิดลหุโทษเสียแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ระงับไป






ตามฟ้องของโจทก์ในคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลากลางวัน จำเลยเสนอ จำหน่าย และมีไว้เพื่อจำหน่ายสินค้าเสื้อยี่ห้อลาคอสท์ที่เป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมของผู้เสียหาย เหตุเกิดที่ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งทั้งสองคดีตามที่โจทก์ฟ้องเป็นการกระทำในเรื่องเดียวกัน เกิดขึ้นในเวลา สถานที่ และกระทำต่อผู้เสียหายรายเดียวกัน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2495/2551 หมายเลขแดงที่ อ.3571/2551 ก่อนคดีนี้แล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องที่ศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
พนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยขับรถในขณะเมาสุรา จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยไปแล้ว การที่จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 วรรคสาม (เดิม) กับการที่จำเลยซึ่งมีอาการมึนเมาสุราขับรถในลักษณะส่ายไปมาบนท้องถนนและขับล้ำเข้าไปในช่องเดินรถที่แล่นสวนมาเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนกับรถยนต์ที่มีผู้เสียหายที่ 1 ขับ และมีผู้เสียหายที่ 2 นั่งไปด้วยได้รับความเสียหาย และผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 นั้น เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ เมื่อคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราแล้วสิทธิที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยในการกระทำเดียวกันนั้นเป็นคดีนี้ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
ในคดีแรกศาลฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุกระทำผิดฐานรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เวลากลางวัน แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหารับของโจรระบุว่าเหตุเกิดวันที่ 9 ตุลาคม 2544 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีแรก แม้ ธ. จับจำเลยและยึดของกลางทั้งสองสำนวนไว้ในคราวเดียวกัน และโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยรับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้มาคราวเดียวกันหรือรับมาเมื่อใด แต่ข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ไว้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรในคดีแรก การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีแรก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรก
ความผิดฐานรับของโจร จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยรับไว้โดยประการใด ๆ และครอบครองใช้รถยนต์ ส่วนความผิดฐานใช้เอกสารราชการแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมนั้น จำเลยที่ 2 กระทำความผิดโดยนำแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอมและแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีปลอมมาติดกับรถยนต์คันดังกล่าวแสดงต่อบุคคลทั่วไปที่พบเห็น การกระทำความผิดทั้งสองฐานความผิดนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะได้กระทำต่อรถยนต์คันเดียวกัน แต่การกระทำความผิดนั้นเป็นการกระทำคนละอย่างแตกต่างกันและต่างกรรมต่างวาระกัน ทั้งเจตนาและความมุ่งหมายในการรับของโจรและใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีอันเป็นเอกสารราชการปลอม ก็เป็นคนละอย่างต่างกันการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรและฐานใช้เอกสารราชการปลอมจึงเป็นความผิดต่างกรรมต่างกัน มิใช่ความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
แม้คดีนี้กับคดีก่อนทั้งสองคดีนั้น โจทก์ จำเลยที่ 2 จะเป็นคู่ความรายเดียวกันและคดีทั้งสองนั้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้วก่อนฟ้องคดีนี้ แต่คดีก่อนทั้งสองและคดีนี้ โจทก์บรรยายฟ้องทั้งสามสำนวนว่า มีคนร้ายลักรถยนต์ต่างวันเวลาและต่างสถานที่กัน แม้รถยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีจะยึดได้ในคราวจับกุมจำเลยที่ 2 คราวเดียวกันหรือวันเดียวกันก็ตาม แต่วันเวลาที่จำเลยที่ 2 รับของโจรเป็นคนละวันกันและรถยนต์ที่รับของโจรเป็นคนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน แผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์และแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีประจำปีก็เป็นคนละแผ่นกันและใช้กับรถยนต์คนละคันกัน การกระทำความผิดในคดีก่อนทั้งสองกับการกระทำความผิดในคดีนี้จึงเป็นการกระทำที่แยกต่างหากจากกันและต่างวาระกัน แม้การกระทำความผิดจะเป็นความผิดฐานเดียวกันกับความผิดในคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าคดีนี้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องไปแล้วในคดีก่อนทั้งสอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์ในคดีก่อนทั้งสองดังกล่าว
แม้จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายคดีนี้กับผู้เสียหายอื่นในคดีก่อนในวันเดียวกันใช้วิธีการอย่างเดียวกัน และสถานที่เกิดเหตุเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยได้กระทำต่อผู้เสียหายต่างรายกันและเรียกค่าไถ่ทรัพย์สินจากผู้เสียหายแต่ละรายมากน้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทรัพย์สินของผู้เสียหายแต่ละคนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาแยกการกระทำของตนเป็นหลายกรรมต่างกัน ถือว่าจำเลยกระทำการหลายกรรมต่างกัน การกระทำของจำเลยคดีนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำของจำเลยในคดีก่อนของศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
อ่านเอกสาร full text ได้ที่ http://www.mediafire.com/view/urqanndqgv8nw2t/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2.pdf








กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส




ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย

กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน


No comments:

Post a Comment