Tuesday 25 December 2012

ผู้เสียหาย



ผู้เสียหาย


อ่านเอกสาร full text 

https://drive.google.com/open?id=0B0VwqdXbq_GSTG1rd1djWVhERnM








“มาตรา 6 ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดย ชอบธรรมหรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่นซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี

 



ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปก็ได้  นั้น หมายความรวมถึงกรณีผู้เสียหายที่แท้จริงไม่ได้ยื่นฟ้องด้วยตนเอง แต่เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่5884/2550) ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้นายเอกได้รับอันตรายสาหัสนายเอกเป็นผู้เสียหายโดยตรง การที่นายเอกซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการตายลง นายจัตวาผู้สืบสันดานของนายเอกจึงยื่นคำร้องขอเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว



ข้อ 2. พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายสายเป็นจำเลยต่อศาลว่า นายสายเอาไปเสียซึ่งหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ เพียงนายเงินผู้เสียหายลงลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจและนำโฉนดที่ดินของนายเงินไปด้วยแล้วกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจว่า นายเงินมอบให้นายสายยื่นคำขอจดทะเบียนโอนที่ดินแปลงดังกล่าวตลอดจนให้ถ้อยคำต่าง ๆ ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยผู้เสียหายไม่ได้ยินยอม แล้วนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188, 264, 268 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ นายสายได้พบกับนายเงิน นายสายโกรธจึงตรงเข้าหยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายเงินขว้างลงที่พื้นจนแตก ต่อมา นายเงินถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัวโดยยังไม่ทันได้ดำเนินคดีข้อหาทำให้เสียทรัพย์แก่นายสาย นางนุชมารดาของนายเงินจึงยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ กับได้ยื่นฟ้องนายสายเป็นจำเลยข้อหาทำให้เสียทรัพย์โทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายเงิน

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) บัญญัติให้ผู้บุพการีมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายสายขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188, 264, 268เป็นคดีความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมและความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ดังนั้น เมื่อนายเงินผู้เสียหายถึงแก่ความตายด้วยโรคประจำตัวของผู้เสียหายเองโดยไม่ได้ตายเพราะถูกนายสายทำร้าย กรณีของนางนุชจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวที่ให้นางนุชมีอำนาจจัดการแทนนายเงินผู้เสียหายในการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 นางนุชจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ (เทียบคำพิพากษาฎีกาที่ 3063/2552, 8357/2550)
ข้อ 3 นายอังคารอยู่กินกับนางดาวฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรชื่อนายจันทร์ นายอาทิตย์ทำร้ายร่างกายนายจันทร์จนเป็นเหตุให้นายจันทร์ถึงแก่ความตาย นายอาทิตย์กลัวความผิดจึงนำศพของนายจันทร์ไปฝังซุกซ่อนไว้ที่สวนหลังบ้าน หลังจากนั้นนายอาทิตย์ปลอมหนังสือของนายจันทร์ส่งไปถึงนายจ้างของนายจันทร์ว่า นายจันทร์ขอลาหยุดงาน 15 วัน โดยลงลายมือชื่อปลอมของนายจันทร์ในหนังสือดังกล่าว พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายอาทิตย์ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ซ่อนเร้นศพเพื่อปิดบังการตาย ปลอมและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290199264268 ในระหว่างพิจารณา นายอังคารได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้นายอังคารเข้าร่วมเป็นโจทก์ทุกฐานความผิด

สำหรับความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264268 นั้น เป็นความผิดต่อผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของนายอาทิตย์ การปลอมหนังสือลาหยุดงานของนายจันทร์มิได้เจาะจงว่ากล่าวถึงนายอังคารแต่อย่างใด ในกรณีนี้ยังไม่ถือว่านายอังคารบิดาของนายจันทร์ผู้ตายเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) ทั้งความผิดดังกล่าวมิใช่ความผิดอาญาที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ตามมาตรา 5 (2) จึงไม่ใช่กรณีที่นายอังคารจะจัดการแทนนายจันทร์ได้ด้วย ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นายอังคารเข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตามมาตรา 30

ข้อ 4 นายชัยกับนายชอบทะเลาะวิวาทกัน นายชัยชกที่ใบหน้านายชอบ 1 ครั้ง นายชอบโกรธจึงใช้อาวุธปืนยิงนายชัย 1 นัด กระสุนปืนไม่ถูกนายชัย แต่พลาดไปถูกนางเพลินภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของนายเฟื่องถึงแก่ความตาย นายชัยและนายชอบต่างไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีซึ่งกันและกัน นายชัยให้การรับสารภาพว่าได้ทำร้ายนายชอบจริง พนักงานอัยการจึงแยกฟ้องนายชัยในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับนายชัย 500 บาท คดีถึงที่สุด ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องนายชอบในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นและฆ่าผู้อื่น นายชอบให้การปฏิเสธ ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น นายชัยและนายเฟื่องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ศาลชั้นต้นอนุญาต


















กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้




108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา



ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส






ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย


กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน








No comments:

Post a Comment