Friday 13 December 2013

"การกระทำครบองค์ประกอบความผิด"



สนใจหนังสือสอบถามเพิ่มเติมได้




ความผิดอาญาแต่ละฐานความผิดล้วนต้องมีองค์ประกอบความผิดเสมอ ถ้าไม่ครบองค์ประกอบข้อใดข้อหนึ่งในความผิดฐานนั้นแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดอาญา โดยที่องค์ประกอบความผิดแต่ละฐานนั้น ต้องแยกพิจารณา ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ภายนอกเรียกว่า “องค์ประกอบภายนอก” และส่วนที่อยู่ภายในจิตใจของผู้กระทำ เรียกว่า “องค์ประกอบภายใน[1]
          จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบภายนอกทั้ง องค์ประกอบคือ ผู้กระทำ การกระทำวัตถุแห่งการกระทำ นั้นสามารถพิจารณาได้จากบทบัญญัติ ของมาตรานั้น ๆ ว่าบัญญัติไว้อย่างไร ซึ่งถ้าหากพิจารณาแล้ว ครบองค์ประกอบทั้ง องค์ประกอบแสดงว่า การกระทำนั้น ครบองค์ประกอบภายนอก และค่อยจึงค่อยพิจารณาองค์ประกอบภายในต่อไป
ความรับผิดในทางอาญาเกิดขึ้นได้แก่บุคคลเท่านั้น สัตว์และสิ่งของ ย่อมไม่อาจ เป็นผู้กระทำผิดได้ บุคคลที่เป็นมนุษย์และนิติบุคคลก็สามารถกระทำผิดได้ ความผิดอาญาส่วนใหญ่ ไม่ได้จำกัดผู้กระทำผิดว่าหมายถึงใคร มักจะใช้คำว่า “ผู้ใด” Whoever เว้นแต่ความผิดบางฐาน เช่น ความผิดฐานทำให้แท้งลูกผู้กระทำต้องเป็นหญิงเท่านั้น ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบผู้กระทำต้องเป็นเจ้าพนักงานเท่านั้น
          1.ผู้กระทำผิดเอง หมายถึงผู้นั้นได้กระทำผิดเองโดยตรง (Direct) เช่น ใช้มีดฟัน ใช้ปืนยิงเอง เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปเอง หรือการใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด เช่น ใช้สุนัขที่เลี้ยงไว้ไปคาบ เอากระเป๋าเงินของคนอื่น หรือการใช้บุคคลผู้ไม่มีการกระทำเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด[3] เช่น สะกดจิตใช้ให้ไปฆ่าคน หรือขณะที่ขาวเผลอ แดงจับมือขาวเขกหัวดำ
คำพิพากษาฎีกา 5318/2549 จำเลยจ้างให้บุคคลที่ไม่รู้มาก่อนว่าที่ดินบริเวณที่เกิดเหตุเป็น พื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ ให้นำรถไถไปไถที่ดินบริเวณดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นการใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เพราะผู้ถูกใช้ไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แต่เป็นการใช้บุคคลเหล่านั้น เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเองโดยอ้อม จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง (จำเลยเป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อม ส่วนคนที่บุกรุกเป็น Innocent Agent)
2) ผู้ที่หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด โดยที่ผู้ถูกหลอกไม่ต้องรับผิดฐานกระทำโดยเจตนา เพราะมีกฎหมายยกเว้นความผิดให้ เช่น แดงต้องการฆ่าดำ จึงตะโกนบอกขาวว่า ดำกำลังจะยิงขาว ขาวได้ยินแดงตะโกนบอกจึงเข้าใจว่าดำกำลังจะยิงตนจริงๆ จึงเอาปืนยิงดำก่อน (แดงเป็นผู้กระทำผิดโดยอ้อม ส่วนดำเป็น Innocent Agent)
จะเห็นว่าตามตัวอย่างที่ นายขาวไม่ใช่ Innocent Agent เนื่องจากนายขาวรู้ว่าร่มนั้นเป็นของผู้อื่น ไม่ใช่ของนายแดง ดังนั้นการที่นายขาวหยิบร่มของนายดำให้นายแดง จึงมีเจตนากระทำความผิดลักทรัพย์ ไม่ใช่เรื่องผู้กระทำความผิดโดยอ้อม แต่ถือว่านายแดงเป็นผู้ใช้ ส่วนนายขาวเป็นผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง ส่วนตัวอย่างที่ จะเห็นว่านายขาวนั้นไม่รู้ว่าร่มเป็นของนายดำ แต่เข้าใจว่าเป็นของของนายแดง จึงไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์ นายขาวจึงไม่มีเจตนากระทำความผิด ถือเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดของนายแดง (เป็น Innocent Agent) ส่วนนายแดงเป็นผู้กระทำความผิดโดยอ้อม

Inchoate crime นั้นหมายถึง ความผิดที่เป็นการเริ่มต้น อันจะนำไปสู่ความผิดอาญาโดยเจตนาฐานใดฐานใดฐานหนึ่งในอนาคต ซึ่งโดยลักษณะของความผิดที่เป็นการเริ่มต้นนั้น ต้องยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จ แต่                                                                     เป็นความผิดที่ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดความผิดสำเร็จได้

          ซึ่งโดยปกติแล้วกฎหมายจะลงโทษการกระทำที่บรรลุเจตนาในทางอาญา(ขั้นที่ 6) แล้วเท่านั้น แต่ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่กฎหมายเห็นว่าสมควรเข้าไปลงโทษการกระทำที่ยังไม่บรรลุเจตนาในทางอาญาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมในอนาคต เช่น การสมคบคิดกันเพื่อจะไปกระทำความผิดกฎหมายก็ลงโทษแล้วในความผิดฐานซ่องโจร หรือการตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ก็มีความผิดและถูกลงโทษแล้ว[6]

วัตถุแห่งการกระทำ หมายถึง สิ่งที่ผู้กระทำมุ่งหมายกระทำต่อ ซึ่งในความผิดแต่ละฐานวัตถุแห่งการกระทำนั้นอาจแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการบัญญัติความผิดฐานนั้น เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288 วัตถุแห่งการกระทำ คือ ผู้อื่น ,ความผิดฐานทำให้แท้งลูก ม.301 วัตถุแห่งการกระทำ คือ ทารกที่อยู่ในครรภ์ และความผิดฐานลักทรัพย์ ม.334 วัตถุแห่งการกระทำ คือ ทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย
การกระทำใด หากขาดองค์ประกอบภายนอกข้อใดข้อหนึ่ง ถือว่าการกระทำนั้นไม่ครบองค์ประกอบภายนอก ก็ไม่อาจมีความรับผิดทางอาญาเกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่ต้องไปพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในอีก เช่น นายแดงเจตนาจะลักทรัพย์ของนายดำ แต่ทรัพย์ที่ลักเป็นของนายแดงเอง หรือนายแดงเจตนาจะฆ่านายดำ จึงขึ้นไปบนบ้านของนายดำ เอาปืนยิงนายดำที่นอนอยู่ แต่ความจริงนายดำได้หัวใจวายไปก่อนที่นายแดงจะไปถึง นายแดงไม่มีความผิด



เนื้อหานำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาญาภาคทั่วไป และถามตอบกฎหมายอาญา เล่ม ๑ หากท่านใดสนใจอ่านเนื้อหาเต็ม สามารถซื้อได้ที่ลิ้งด้านล่างนะครับ เป็นอีบุ๊คเหมาะแก่การอ่านบนมือถือ แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ และซื้อเพียงครั้งเดียวเมื่อมีการแก้ไขเนื้อหาท่านสามารถกดอัพเดทได้ตลอด









กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้




108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา



ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส






ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย


กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน

No comments:

Post a Comment