Tuesday 12 July 2016

ฆ่าคนตายโดยเจตนากับฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

 MGR Online - โฆษกอัยการแถลงสั่งฟ้อง 6 โจ๋และแฟนสาว ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา คาดยื่นฟ้องต่อศาลอาญาในวันที่ 13 ก.ค.นี้ ระบุหากญาติจะยื่นฟ้องเองข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนก็เป็นสิทธิ
      
       วันนี้ (11 ก.ค.) เมื่อเวลา 15.30 น. ที่ห้องประชุมสำนักงานศาลอาญา ชั้น 11 ถนนรัชดาภิเษก ร.ท. สมนึก เสียงก้อง โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด นายวิเชียร ถนอมพิชัย รองอธิบดีอัยการสำนักงานคดีอาญา นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ร่วมกันแถลงความคืบหน้าการสั่งฟ้องกลุ่มวัยรุ่นที่รุมทำร้ายนายสมเกียรติ ศรีจันทร์ อายุ 36 ปี ชายพิการอาชีพส่งขนมปังจนเสียชีวิตย่านโชคชัย 4
       
อ่านต่อ http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000069119

ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไต่ตรองไว้ก่อน

ไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำ ไม่ใช่องค์ประกอบความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรู้ว่าการกระทำของตนเป็นการไตร่ตรองหรือไม่ก็ได้ หากมีพฤติการณ์ปรากฏให้เห็นได้ว่า การฆ่าคนตายนั้นมีการคิดและทบทวนก่อนมีการลงมือฆ่าแล้ว ก็ถือว่าเป็นการฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ผู้กระทำไม่จำต้องไตร่ตรองนานแล้วจึงฆ่า แม้คิดทบทวนไม่นานก็ถือว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เช่น โต้เถียงกันในที่ประชุมแล้วเดินออกไปเอาปืนที่อยู่ในรถมายิงคนในที่ประชุมตาย ก็ถือว่าได้ไตร่ตรองในการฆ่าแล้ว
การจ้างวานฆ่า (Contract Murder) ไปดักรอฆ่า การฆ่าโดยการวางยาพิษ ลักษณะของการฆ่าเหล่านี้ล้วนมีการคิดและวางแผนการฆ่ามาเป็นอย่างดี แสดงให้เห็นได้ว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่หากเป็นการฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน เช่น ขับรถปาดหน้ากันจึงโมโหขับรถชนหรือเบียดตกถนน หรือตั้งใจจะมาฆ่า แต่บังเอิญเห็นโดยบังเอิญและมือถือปืนอยู่จึงยิงเขาตายทันที เหล่านี้เป็นการฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน ไม่ใช่ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้
ความแตกต่างระหว่างฆ่าคนตายโดยเจตนากับไตร่ตรองไว้ก่อน
ความผิดทั้งสองฐานนี้มีความแตกต่างกันในแง่ของจิตใจผู้กระทำ

ในแง่ของจิตใจผู้กระทำความผิด ความผิดทั้งสองฐานนี้ ฆ่าคนตายโดยเจตนา ม.288 กับ ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ม.289(4) ผู้กระทำมีเจตนาฆ่าเหมือนกัน แต่ระดับของความชั่วร้ายของจิตใจแตกต่างกัน ฆ่าคนโดยไต่ตรองไว้ก่อนเป็นการฆ่าคนโดยเลือดเย็น เพราะมีเวลาทบทวน ไม่ได้ฆ่าโดยปัจจุบันทันด่วน ดังนั้ยกฎหมายลงโทษหนักกว่าคนตายโดยเจตนา ตามระดับความชั่วร้ายของจิตใจ

การลงโทษผู้กะทำความผิดในทางอาญานั้นพิจารณาจากความชั่วร้ายของจิตใจผู้กระทำเป็นหลัก ดังนั้นโทษเบาหรืิหนักขึ้นอยู่กับจิตใจผู้กระทำ


No comments:

Post a Comment