Friday 21 October 2016

ความแตกต่างความผิดอันยอมความได้กับยอมความไม่ได้

แนะนำหนังสือของผู้เขียนครับ



          ความผิดอันยอมความได้ (Compoundable offences) หรือความผิดต่อส่วนตัว หมายถึง กรกระทำความผิดอาญาประเภทซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเอกชนคนหนึ่งคนใดเป็นส่วนตัว มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือสังคมเป็นและความผิดใดจะเป็นความผิด อาญาอันยอมความได้นั้น กฎหมายจะต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น ความผิดอันยอมความได้นี้ในประมวลกฎหมายอาญาจะบัญญัติให้ความผิดฐานนั้นเป็นความอันยอมความได้ เช่น มาตรา 281 "การกระทำความผิดตาม มาตรา 276 วรรคแรก และ มาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการ กระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ใน มาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้"

ความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้ (Non-compoundable offense) หรือความผิดอาญาแผ่นดิน หมายถึง คดีอาญาประเภทที่นอกจากจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายโดยตรงแล้วยังก่อให้เกิดความเสียหายแกรัฐและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย ความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้นี่ส่วนใหญ่จะเป็นคดีที่มีความร้ายแรง เช่น คดีฆาตกรรม คดีเกี่ยวกับรัฐ หรือเกี่ยวกับเจ้าพนักงาน เป็นต้น ความผิดในประมวลกฎหมายอาญาส่วนใหญ่จะเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ หากความผิดใดไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ทั้งหมด

การแบ่งประเภทของความโดยคำนึงถึงผู้เสียหายมีประโยชน์ในการดำเนินคดีอาญา เนื่องจากคดีความผิดอันยอมความได้นั้นเงื่อนไขในการดำเนินคดีผู้เสียหายจะต้องชั่งน้ำหนักว่าประสงค์จะดำเนินคดีหรือไม่ หากประสงค์จะดำเนินคดีก็ต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดสามเดือนนับแต่รู้ถึงความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด หากไม่ร้องทุกข์ภายในกำหนดดังกล่าวก็ถือว่าคดีนั้นขาดอายุความ  หากมีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายรัฐก็ไม่สามารถดำเนินคดีแทนให้ได้ ซึ่งแตกต่างจากความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้ ซึ่งไม่จำต้องรอให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ก่อนจึงจะดำเนินคดีอาญาได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่กระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของสังคมโดยรวม และเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะดำเนินคดีโดยไม่ต้องรอให้ผู้เสียหายเห็นชอบ







No comments:

Post a Comment