Saturday 17 December 2016

บทที่ 4 อำนาจฟ้องคดีอาญา

          ซึ่งแต่เดิมก่อนที่จะมีการสถาปนารัฐขึ้นมานั้น เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในสังคม สังคมก็ปล่อยให้มีการแก้แค้นทดแทนกัน แบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน เป็นเรื่องของเอกชนต้องจัดการเอาเอง ต่อมาเมื่อมีการสถาปนาอำนาจรัฐขึ้นมา การแก้แค้นทดแทนกันไม่สามารถทำได้ เพราะจะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวายไม่สงบสุข รัฐจึงเข้ามาปราบปรามการกระทำความผิดด้วยตนเอง มีการจับกุมดำเนินคดี มีการพิจารณาคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดตามกฎหมาย โดยองค์กรที่รัฐจัดตั้งขึ้นมา เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เป็นต้น แต่การที่จะปล่อยให้การดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องของรัฐทั้งหมด ในบางรัฐก็เกิดแนวความคิดว่า การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐหรือตำรวจเท่านั้น ดังนั้นประชาชนทุกคนจึงมีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาที่เกิดขึ้นได้ แม้จะไม่ใช่เอกชนผู้เสียหายเลยก็ตาม  ซึ่งแต่ละหลักมีรายละเอียดดังนี้





จากมาตรา 28 จะเห็นได้ว่า บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้มี 2 ประเภท คือ พนักงานอัยการและผู้เสียหายเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีหลักการดำเนินคดีตามหลักการการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State Prosecution) และการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชนผู้เสียหาย (Private Prosecution) โดยที่ไม่มีการจำกัดประเภทคดีที่ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาทุกคดีที่ตนเป็นผู้เสียหาย แต่การดำเนินคดีอาญาโดยหลักแล้วเป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล ที่พนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ร่วมยุติการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคดีได้ ตาม มาตรา 32 เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหายโดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้น ๆ ได้


มาตรา 31 กรณีที่พนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมผู้เสียหาย หมายความว่า ผู้เสียหายได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลไว้ ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหาย ซึ่งมีปัญหาว่า พนักงานอัยการสามารถขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมทุกคดีหรือไม่ สำหรับในประเด็นนี้ หากคดีที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน (ยอมความไม่ได้) พนักงานอัยการก็สามารถเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ โดยที่ผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์มาก่อน ส่วนคดีความผิดต่อส่วนตัว (ยอมความได้) ต้องปรากฏว่าผู้เสียหายได้เคยร้องทุกข์ไว้แล้ว เพราะหากผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ อัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อไม่มีอำนาจฟ้องก็ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้
คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ หมายถึง คดีอาญาที่มีการสอบสวนแล้วเมื่อถึงชั้นฟ้องคดีของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาได้ เมื่อพนักงานอัยการเห็นว่า ไม่ควรสั่งฟ้องผู้ต้องหามาตรา 34 บอกว่าไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีเองของผู้เสียหาย หมายความว่าผู้เสียหายจะไปยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลเองได้อยู่เสมอ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการสั่งไม่ฟ้องของอัยการเลย ซึ่งมาตรา 34 เปรียบเสมือนการบัญญัติรับรองสิทธิของผู้เสียหายในการฟ้องคดีอาญา และการที่ให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาได้อยู่แม้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ถือเป็นการตรวจสอบการสั่งคดีของพนักงานอัยการอีกด้วย เพราะที่ผ่านมาในอดีตมีหลายกรณีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องแล้วผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเอง ซึ่งต่อมาศาลก็รับฟ้องและลงโทษจำเลย[1]



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ในครั้งแรก ก็แสดงว่าศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย สามารถดำเนินคดีแก่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามฟ้องของพนักงานอัยการเสมือนโจทก์ร่วมฟ้องเองการที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมโดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดนั่นเอง เมื่อเป็นการขอถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการผู้เป็นโจทก์ในครั้งหลังจึงไม่ชอบ และเมื่อโจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ได้แล้ว โจทก์ร่วมจึงมิได้เป็นโจทก์ของคดีนี้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีนี้ได้






[1] ย้อนรอยคดีดังฆ่าหั่นศพ"แพทย์หญิงผัสพร"หลัง"หมอวิสุทธิ์"พ้นเรือนจำบางขวาง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1407154209




กฎหมายอาญาสำหรับตำรวจ
chaloemwut sarakit
www.mebmarket.com
เหมาะสำหรับคนที่จะสอบตำรวจ ทั้งนายสิบตำรวจและนายตำรวจสัญญาบัตร และประชาชนทั่วไปที่สนใจกฎหมายอาญา

No comments:

Post a Comment