Saturday 17 December 2016

บทที่ 3 การสอบสวน

การสอบสวนคดีอาญาเป็นกระบวนการขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งและถือเป็นต้นทางของกระบวนยุติธรรมทางอาญา เพราะการสอบสวนเป็นการรวบรวมพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ความผิดหรือบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า การสอบสวนคือการตรวจสอบว่าคดีอาญาที่เกิดขึ้นผู้ต้องหาน่าจะกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้นในคดีอาญาการสอบสวนจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐที่จำเป็นต้องผ่านการสอบสวนก่อนจึงจะฟ้องคดีผู้ต้องหาต่อศาลได้ ดังนั้นหากไม่มีการสอบสวนหรือการสอบสวนไม่ชอบก็จะมีผลต่ออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ




นอกเขตกรุงเทพฯ (ต่างจังหวัด) ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่/ปลัดอำเภอ/ตำรวจซึ่งมียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ในต่างจังหวัดนั้น ตามกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจสอบสวนด้วย เนื่องจากในอดีตนั้น ต่างจังหวัดโดยเฉาะในพื้นที่ห่างไกล เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉพาะพนักงานสอบสวนยังมีไม่เพียงพอจึงให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจสอบสวนด้วย แต่ในปัจจุบันการสอบสวนโดยส่วนใหญ่เป็นหน้าที่ขององค์กรตำรวจ เช่น หากความผิดเกิดขึ้นในเขตอำเภอเมืองพะเยา พนักงานสอบสวนได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่/ปลัดอำเภอ/ตำรวจซึ่งมียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป

          1.1) ความผิดเกิดในท้องที่เดียว พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวน คือพนักงานสอบสวนที่แห่งท้องที่ความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน และนอกจากนี้ พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่ภายในเขตอำนาจตน และพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ผู้ต้องหาถูกจับภายในเขตอำนาจตนก็มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาที่เกิดขึ้นด้วย จะเห็นว่าในกรณีที่ความผิดเกิดขึ้นในท้องที่เดียว แต่พนักงานสอบสวนในท้องที่ความผิดไม่เกิดขึ้น แต่ก็มีอำนาจสอบสวน ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกในการสอบสวนหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นนั้นเอง 
          พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ในกรณีความผิดเกิดขึ้นในท้องที่เดียว ตามมาตรา 18 นั้นโดยหลัก คือพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำนาจตน (ทั้งความผิดได้เกิดขึ้น เชื่อว่าได้เกิด หรืออ้างว่าเกิดขึ้น) เช่น มีการลักทรัพย์ในท้องที่ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา แล้วผู้ต้องหาหนีไปและถูกจับได้ที่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรดอกคำใต้ย่อมเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ส่วนพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรแม่สาย แม้จะมีอำนาจสอบสวน เพราะเป็นท้องที่จับผู้ต้องหาได้ แต่ก็ไม่ใช่ท้องที่ความผิดได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจเป็นพนักงานสอบสวนได้ เว้นเสียแต่มีเหตุจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกจึงให้พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับ เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้









กฎหมายอาญาสำหรับตำรวจ
chaloemwut sarakit
www.mebmarket.com
เหมาะสำหรับคนที่จะสอบตำรวจ ทั้งนายสิบตำรวจและนายตำรวจสัญญาบัตร และประชาชนทั่วไปที่สนใจกฎหมายอาญา






No comments:

Post a Comment