Sunday 24 September 2017

26. ตัวการหมายถึงใคร

26. ตัวการหมายถึงใคร

          ตัวการ (Principal) ว่าตัวการที่กฎหมายอาญาของคอมมอนลอว์แยกออกมาเป็น 2 ประเภท เป็น first degree กับ second degree นั้นแตกต่างกันอย่างไร

Principal in the first degree ตัวการในลำดับที่ 1 หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งกระทำความผิดด้วยตัวของเขาเอง (the person who actually commits the crime himself) หรือตามคำอธิบายกฎหมายอาญาของไทยเรียกว่า ผู้กระทำความผิดโดยตรง นอกจากนี้ยังหมายถึงบุคคลผู้ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ที่บริสุทธิ์กระทำความผิดเพื่อตัวของเขา (causes an innocent person to commit the crime for him) ซึ่งตามคำอธิบายกฎหมายอาญาของไทยเรียกว่า ผู้กระทำความผิดโดยอ้อม ดังนั้นตัวการที่เรียกว่า Principal in the first degree ก็คือผู้กระทำความผิดโดยตรงกับผู้กระทำผิดโดยอ้อมตามกฎหมายอาญาไทยนั้นเอง เช่น

ตัวอย่างที่ 1 แดงไปหาซื้อปืนเถื่อนมา และนำปืนที่ซื้อมานั้นไปชิงทรัพย์ในร้านสะดวกซื้อ จะเห็นได้ว่าแดงเป็นผู้ที่กระทำความผิดด้วยตัวของเขาเอง แดงจึงเป็น Principal in the first degree หรือผู้กระทำความผิดโดยตรง
ตัวอย่างที่ 2 แดงต้องการลักร่มของนายดำ แต่แดงไม่กล้าหยิบเองจึงหลอกนายขาวว่า ช่วยหยิบร่มที่วางอยู่ใกล้ ๆ ตัวของนายขาวให้หน่อย โดยบอกกับนายขาวว่าเป็นร่มของแดงเอง ทั้งที่ร่มเป็นของดำ เช่นนี้ถือได้ว่าแดงนั้นได้ใช้ผู้บริสุทธิ์ (Innocent Agent) เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ถือว่าแดงเป็น Principal in the first degree เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 1 ซึ่งตามคำอธิบายกฎหมายอาญาของไทยเรียกว่า ผู้กระทำความผิดโดยอ้อม

Principal in the second degree ตัวการในลำดับที่ 2 หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งกระทำอันเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดในการลงมือกระทำความผิด และเป็นผู้ที่อยู่ด้วยหรืออยู่ใกล้พอที่จะให้การช่วยเหลือผู้ที่ลงมือกระทำความผิดได้ในเวลาที่จะกระทำความผิดหรือในเวลาที่ก่ออาชญากรรม ซึ่งตามคำอธิบาย Principal in the second degree ของกฎหมายอาญาของคอมมอนลอว์นี้ก็คือ หลักในเรื่องตัวการร่วมในตาม มาตรา83 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทยนั่นเอง เช่น

ตัวอย่างที่ 1 นายแดงได้สมคบกับนายดำเพื่อวางแผนว่าจะไปชิงทรัพย์ธนาคารแห่งหนึ่งในเวลาเที่ยงวัน เมื่อถึงวันเกิดเหตุนายแดงเป็นค้นเข้าไปในธนาคารใช้ปืนขู่ให้พนักงานส่งเงินสดให้ ส่วนนายดำอยู่ในรถซึ่งสตาร์ทอยู่หน้าธนาคารไว้รอรับนายแดงเพื่อหลบหนี จะเห็นว่านายแดง คือ Principal in the first degree หรือผู้กระทำความผิดโดยตรง ส่วนนายดำเรียกว่า Principal in the second degree หรือตัวการตาม มาตรา 83

พิจารณาตัวการในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม มาตรา276

ตัวอย่างที่ 2 นายแดงร่วมกับนายดำฉุดนางขาวไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา โดยที่นายแดงเพียงคนเดียวเป็นคนที่กระทำชำเรานางขาว ส่วนนายดำช่วยจับแขนและเอามืออุดปากนางขาวในขณะที่นายแดงได้ชำเรานางขาว  ตามตัวอย่างนี้จะเห็นว่า แดงเป็นผู้ที่ลงมือกระทำชำเรานางขาว ถือว่าแดงเป็น Principal in the first degree หรือผู้กระทำความผิดโดยตรง ส่วนดำไม่ได้ลงมือกระทำชำเราด้วย แต่ได้กระทำอันเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือ และอยู่ด้วยในคณะที่แดงกระทำความผิด ถือว่าดำเป็น Principal in the second degree หรือเป็นตัวการร่วมตาม มาตรา83 ดังนั้นในกรณีนี้แดงมีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราตาม มาตรา276 วรรคแรก ดำเป็นตัวการก็ต้องรับโทษเช่นเดียวกับแดงด้วย

ตัวอย่างที่ 3 นายแดงร่วมกับนายดำฉุดนางขาวไปเพื่อข่มขืนกระทำชำเรา โดยที่นายแดงข่มขืนกระทำชำเรานางขาวเสร็จแล้ว นายดำก็ได้กระทำชำเรานางขาวต่อจนสำเร็จ จะเห็นได้ว่าตามตัวอย่างที่ 2 นี้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำนั้นแตกต่างจากตัวอย่างที่ 1 เพราะนายแดงคือ Principal in the first degree ส่วนนายดำก็คือ Principal in the first degree เช่นเดียวกัน เพราะได้ลงมือข่มขืนกระทำชำเรานางขาวเช่นเดียวกับนายแดง ดังนั้นดำตามตัวอย่างที่ 2 จึงไม่ใช่ตัวการตาม มาตรา83 ซึ่งในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราของไทยนั้น หากได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือชาย จะต้องถูกลงโทษหนักขึ้นด้วย ดังนั้นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหรือชาย ก็หมายความว่า การข่มขืนกระทำชำเรานั้นจะต้องมี Principal in the first degree อย่างน้อย 2 คนได้กระทำชำเราหญิงหรือชายนั่นเอง

เรื่องตัวการตาม มาตรา83 นั้น ในปัจจุบันยังคงใช้กันอย่างสับสน เมื่อเห็นว่ามีผู้กระทำความผิด 2 คนก็จะวินิจฉัยว่าทั้งสองคนเป็นตัวการร่วมกันตาม มาตรา83 โดยที่ไม่ได้แยกว่าใครเป็น Principal in the first degree หรือใครเป็น Principal in the second ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่เราไม่ได้แยกพิจารณาเพราะเห็นว่าโทษของผู้กระทำความผิดทั้ง 2 ประเภทเท่ากันจึงไม่ต้องไปพิจาณาว่าใครเป็น Principal in the first degree หรือใครเป็น Principal in the second ให้ยุ่งยากอีก

หลักเกณฑ์ของตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
1. เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา
2. ในระหว่าง 2 คนขึ้นไป
3. โดยมีการกระทำร่วมกันในขณะกระทำความผิด
4. โดยมีเจตนาร่วมกันในขณะกระทำความผิด








กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้




108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส

No comments:

Post a Comment