Monday, 24 December 2012

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอาญา ตอนที่ 2







อย่างที่กล่าวไว้แต่แรกแล้วว่ากฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ดังนั้นจึงควรมีที่จะหลักประกันให้คนในสังคมได้ทราบก่อนว่ากฎหมายอาญามีว่าอย่างไร เพื่อที่จะให้คนในสังคมได้ตระนักว่าหากมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ย่อมต้องได้รับโทษ แต่หากว่าปล่อยให้กฎหมายที่บัญญัติออกมาภายหลังมีผลย้อนหลังกลับไปลงโทษผู้ที่ได้กระทำความผิดที่เกิดขึ้นก่อนมีกฎหมาย คงไม่เป็นธรรมต่อผู้กระทำความผิด เพราะขณะทำเขาไม่อาจจะทราบได้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นความผิดในอนาคตได้ และยังจะก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้หากมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งกัน ซึ่งหลักการนี้เป็นไปตามหลักสากลของกฎหมายอาญาที่ว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง”




คำพิพากษาฎีกาที่ 411/2534
            เมื่อหัวหน้าคณะปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้สำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมมีอำนาจออกประกาศหรือคำสั่งอันถือเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มิใช่คำสั่งที่มีผลทำให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญา  แต่เป็นเรื่องของการให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลบางจำพวก แม้จะมีผลย้อนหลังกระทบถึงสิทธิของจำเลยและประชาชนก็มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายได้  เมื่อจำเลยเกิดในราชอาณาจักรไทยเมื่อปีพ.ศ. 2489โดยมีบิดามารดาเป็นคนญวนอพยพ จำเลยจึงถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว
เช่น นางสาวมะนาวได้ตังครรภ์ขณะกำลังเรียนอยู่ จึงได้ตัดสินใจไปทำแท้งกับหมอเถื่อนจนเกิดแท้งลูก และถูกตำรวจจับได้และดำเนินคดีฐานยินยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ซึ่งตามกฎหมายอาญาปัจจุบันบัญญัติเป็นความผิดทำให้นางสาวมะนาวต้องได้รับโทษตามกฎหมายในขณะนั้น หากต่อมามีการบัญญัติกฎหมายยกเลิกความผิดฐานนี้ นางสาวมะนาวย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังที่เป็นคุณได้ ทำให้นางสาวมะนาวพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่านางสาวมะนาวไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง เป็นต้น
            กรณีนี้เป็นกรณีที่กฎหมายอาญาที่บัญญัติออกภายหลังนั้นไม่ได้ยกเลิกความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำผิดไปแล้วแต่อย่างใด แต่กฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังแตกต่างกับกฎหมายอาญาที่ใช้ขณะกระทำความผิด และที่แตกต่างกันนั้นเป็นคุณกับผู้กระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุด แล้วแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดแล้วดังต่อไปนี้” ซึ่งให้ใช้กฎหมายอาญาในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดยิ่งกว่าไม่ว่าในทางใด เช่น ตามตัวอย่างที่แล้ว กรณีของนางสาวมะนาว ปรากฏว่ากฎหมายอาญาที่บัญญัติออกมาภายหลังไม่ได้ยกเลิกความผิด แต่ปรากฏว่าตามกฎหมายอาญาที่บัญญัติภายหลังให้เหลือโทษเพียง จำคุกไม่เกินสามเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ซึ่งเบากว่าโทษเดิม ดังนี้ต้องใช้กฎหมายให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดยิ่งกว่า คือลงโทษนางสาวมะนาวตามกฎหมายใหม่นั้นเอง

จารีตประเพณีส่วนใหญ่เป็นที่มาของกฎหมาย แต่กฎหมายกับจารีตประเพณีก็มีความแตกต่างกัน เพราะจารีตประเพณีเป็นสิ่งที่สังคมปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน ใครฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะถูกกระบวนการทางสังคมลงโทษ เช่นไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วย แต่กฎหมายเป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่ทุกคนในสังคมต้องปฏิบัติ หากไม่ปฏิบัติตามแล้วต้องได้รับโทษ โดยมีกระบวนการลงโทษที่แน่นอน กฎหมายจึงมีความแน่นอน ชัดเจนกว่าจารีตประเพณี ดังนั้นหากมีการฝ่าฝืนจารีตประเพณี แต่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายบุคคลนั้นย่อมไม่มีความผิดตามกฎหมายอาญา จะนำจารีตประเพณีมาใช้ลงโทษบุคคลนั้นไม่ได้ และในขณะเดียวกันหากบุคคลใดฝ่าฝืนกฎหมายอาญา แม้ตามจารีตประเพณีไม่ถือว่าผิด บุคคลนั้นก็ย่อมมีความผิดกฎหมายอาญา
การนำกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้นั้น เป็นหลักของการตีความกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งแลพาณิชย์ มาตรา 4 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัย คดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและถ้าบทกฎหมาย เช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป” ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติใดในกฎหมายมาปรับใช้ได้ และตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นก็ไม่ได้มีการกำหนดไว้ แต่ว่าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีบทบัญญัติของกำหมายที่ใกล้เคียงกัน เราสามารถที่จะนำกฎหมายที่ใกล้เคียงนั้นมาปรับใช้กับเหตุการณ์นั้นได้ แต่หลักการตีความกฎหมายอาญาแตกต่างไปจากหลักการตีความกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ไม่สามารถที่จะนำกฎหมายที่ใกล้เคียงมาใช้บังคับเป็นผลร้ายได้
            เช่น นายสมหมายป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ขา แพทย์จำต้องตัดขานั้นทิ้งเพื่อป้องกันชีวิตนายสมหมาย โดยที่นายสมหมายก็ยินยอม ซึ่งจะเห็นว่าการกระทำของแพทย์นั้นครบองค์ประกอบความผิดฐานทำร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ”  ซึ่งจะเห็นว่ามีการทำร้าย(ตัดขา)ของนายสมหมาย โดยเจตนาเพราะแพทย์ทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและประสงค์ที่จะตัดขานายสมหมาย แต่อย่างไรก็ตามการกระทำของแพทย์ย่อมไม่เป็นความผิด เพราะนายสมหมายยินยอมให้แพทย์กระทำ ซึ่งหลักความยินยอมเป็นหลักกฎหมายทั่วไป นำมาใช้ได้หากเป็นผลดี เป็นต้น



ลักษณะของความผิดอาญานั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยรู้สึกตัว เช่น การเดิน วิ่ง ขับรถ ซึ่ง การดำเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละวันก็มีโอกาสที่จะกระทำความผิดอาญาได้ ไม่ว่าจะกระทำด้วยเจตนาหรือเพราะไม่ได้ระมัดระวัง การกระทำที่จะเกิดความผิดอาญาได้ จะต้องเป็นการกระทำซึ่งตามกฎหมายอาญาถือว่ามีการกระทำ คือ 1. มีการคิดที่จะกระทำ 2. มีการตกลงที่จะกรรทำตามที่ได้คิด และ 3. จะต้องมีการกระทำตามที่ได้ตกลงออกมา หากไม่การกระทำนั้นไม่ครบทั้ง 3 ข้อ ย่อมไม่ถือว่ามีการกระทำตามกฎหมายอาญา เช่น คนนอนละเมอถีบเพื่อน คนเป็นโรคลมชัก เพราะว่าคนนอนละเมอหรือเป็นลมชักไม่ได้มีการคิดที่จะกระทำ
ความผิดอาญาที่เกิดขึ้นจากการกระทำ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร เป็นต้น เพราะความผิดที่กล่าวมานี้จะต้องมีการกระทำจึงจะก่อให้เกิดความผิดอาญาได้ หากไม่มีการกระทำย่อมไม่ก่อให้เกิดความผิดอาญาฐานเหล่านี้ได้ เช่น คิดว่าจะเข้าไปลักทรัพย์ และตกลงใจว่าจะเข้าไปลักทรัพย์แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าไปลักทรัพย์ เพราะมีคนเดินผ่านมาเห็นก่อน ดังนี้ผู้กระทำยังไม่มีความผิด เพราะถือว่ายังไม่มีการกระทำ(ยังไม่ครบทั้ง 3 ข้อ) แต่หากว่ามีการกระทำแล้ว

การงดเว้นการกระทำก็ถือว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งในทางอาญา ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้น โดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย การงดเว้นนั้นเป็นการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย(ไม่กระทำการ) และการไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้น ผู้นั้นมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันไม่ให้ผลร้ายเกิดขึ้น

            หน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งอาจจะเป็นกฎหมายอื่นนอกจากกฎหมายอาญาก็ได้ ซึ่งตามกฎหมายแล้วผู้นั้นมีหน้าที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลแต่งดเว้นไม่กระทำการ อันก่อให้เกิดผลร้ายขึ้น ทำให้ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา เช่น บิดามารดามีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์อันเป็นหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
            เช่น นายหนุ่มและนางสาวเป็นสามีภริยากัน ต่อมานางสาวคลอดลูกออกมา แต่ทั้งคู่ไม่เลี้ยงดูให้ดีปล่อยให้ลูกคลานไปตกบันไดจนถึงแก่ความตาย ดังนี้จะเห็นได้ว่า นายหนุ่มและนางสาวไม่ได้กระทำการอันเป็นฆ่าเด็กเลย แต่ทั้งคู่ได้งดเว้นกระทำการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลร้าย ตามหน้าที่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   ดังนั้นนายหนุ่มและนางสาวย่อมต้องรับผิดในทางอาญา ฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291ซึงบัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท ซึ่งถือว่าความผิดในทางอาญาได้เกิดขึ้นจากการงดเว้นกระทำการ

            เช่น นายแมวเป็นนักว่ายน้ำทีมชาติมาทำงานเป็นคนคอยช่วยเหลือคนตกน้ำที่สระว่ายน้ำ นายหมูเป็นตระคิวกำลังจะตกน้ำอยู่ แต่นายแมวเป็นอริเก่านายหมูจึงอยากจะให้นายหมูตายอยู่แล้ว จึงไม่เข้าไปช่วย ทำให้นายหมูจมน้ำตาย ดังนั้นนายแมวมีหน้าที่ตามสัญญา(สัญญาจ้างแรงงาน) ที่ต้องช่วยเหลือคนตกน้ำ แต่กลับงดเว้นการกระทำซึ่งจักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลร้ายไม่ให้เกิดขึ้น นายแมวย่อมต้องรับผิดในทางอาญา ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288  “ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี จะเห็นได้ว่าความรับผิดในทางอาญาของนายแมวนั้นเกิดจากการงดเว้นการกระทำ

หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตนนั้น หน้าที่นั้นไม่ได้เกิดจากกฎหมายบัญญัติ หรือไม่ได้เกิดจากการตกลงหรือสัญญากัน แต่เกิดขึ้นจากการกระทำก่อนหน้านั้นซึ่งทำให้ผู้นั้นต้องมีหน้าที่จะต้องทำให้สำเร็จเพื่อป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ หากว่าไม่กระทำต่อ อันเป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นเอง
เช่น นายคนดีเห็นคนตาบอดกำลังจะเดินข้ามถนน นายคนดีกลัวว่ารถจะชนคนตาบอดคนนั้น จึงเข้าไปช่วยพาคนตาบอดข้ามถนน แต่เมื่อพาไปจนถึงเกาะกลางถนนแล้ว นายทองดีลืมไปว่านัดแฟนสาวไว้กลัวจะไปไม่ทัน จึงปล่อยคนตาบอดไว้เกาะกลางถนน แล้วรีบไปหาแฟน ปรากฏว่าคนตาบอดคนนั้นถูกรถชนตาย ดังนี้จะเห็นได้ว่าจากการกระทำก่อน ๆ ของนายคนดีที่เข้าไปช่วยเหลือคนตาบอดข้ามถนน ทำให้นายคนดีมีหน้าที่จะต้องพาคนตาบอดข้ามถนนไปจนถึงอีกฝั่งหนึ่ง อันเป็นหน้าที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลร้ายที่จะเกิดขึ้น แต่นายคนดีงดเว้นไม่กระทำการให้เสร็จ เมื่อคนตาบอดนั้นถูกรถชนตาย นายคนดีย่อมมีความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท” เป็นต้น

การละเว้นการกระทำต่างจากการงดเว้นการกระทำ เพราะการงดเว้นนั้นเป็นการไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีหน้าที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผล เป็นหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง แต่การละเว้นไม่ใช่ การละเว้นเป็นการไม่กระทำหน้าที่ทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่เฉพาะจงและผู้ที่ละเว้นไม่มีหน้าที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผล การละเว้นที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้กระทำแต่ผู้นั้นละเว้นเสีย ความผิดที่กฎหมายบังคับให้กระทำการเช่น ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 “ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการตามอำนาจ ที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หรือความผิดฐานไม่ช่วยเหลือผู้ตกอยู่ในภยันตราย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจ ช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความ จำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เป็นต้น

เช่น นายแมวเป็นนักว่ายน้ำทีมชาติกำลังเห็นเด็กกำลังตกน้ำ ซึ่งนายแมวสามารถช่วยได้ โดยไม่ต้องกลัวภยันตรายแก่ตนเอง แต่นายแมวไม่ช่วยเหลือด้วยความจำเป็น ถือว่านายแมวละเว้นการกระทำอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 374 ซึ่งเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของบุคคลที่จะต้องช่วยเหลือ ผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายใกล้ตายตามสำนึกอันดีของมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากตัวอย่างที่ได้เคยยกขึ้นมาก่อนหน้านี้ที่นายแมวมีหน้าที่ตามสัญญาเป็นคนคอยช่วยเหลือคนว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ ซึ่งเป็นการงดเว้นการกระทำ








กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส