Monday, 24 December 2012

กฎหมายอาญาเบื้องต้น














กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาเพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมในการปฏิบัติต่อกัน และเป็นธรรมดาที่ในสังคมซึ่งมีผู้คนจำนวนมากนั้น ผู้คนเหล่านั้นย่อมมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน บางคนอาจจะกระทำการอันไม่ถูกต้องจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียหายได้ ได้รับความเดือดร้อน รำคาญ ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำที่ไม่ชอบตามหลักของศีลธรรม ไม่ชอบตามจารีตประเพณี เช่น การทำร้ายร่างกาย ฆ่าผู้อื่น หรือกระทำต่อทรัพย์สิน เช่น ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ดังนั้นรัฐจึงจำเป็นที่จะต้องกำหนดและประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าการกระทำอันไม่ชอบนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และต้องได้รับโทษ เพื่อให้คนในสังคมได้ทราบโดยทั่วกันว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำอันผิดกฎหมายและต้องได้รับโทษหากมีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม


            1) การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน (Retribution) การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนั้นเป็นวัตถุประสงค์ในการลงโทษที่มีมาแต่ในยุคสังคมดั่งเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นเมื่อมีการกระทำความผิดขึ้นมาแล้ว จะมีการแก้แค้นกันไปมาระหว่างคนในสังคม แม้การแก้แค้นนั้นจะเป็นสิ่งที่ไม่สมควรก็ตาม[1] ซึ่งการแก้แคนทดแทนความผิดที่ได้ก่อขึ้นนี้ก็พิจารณาจากความร้ายแรงของความผิดที่ได้ก่อขึ้นว่าร้ายแรงเพียงใด เช่น หากฆ่าคนตายก็ต้องถูกฆ่าให้ตายตกไปตามกัน แต่เมื่อมีการสถาปนารัฐขึ้นมาแล้ว เมื่อมีการกระทำความผิดจะปล่อยให้คนในสังคมแก้แค้นทดแทนกันเอง ก็จะนำมาซึ่งความแค้นเคืองต่อกันที่ไม่อาจจะหาที่สิ้นสุดได้ และเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่อ่อนแอไม่สามารถแก้แค้นได้ รัฐจึงเข้าไปจัดการกับการกระทำความผิดโดยการกำหนดให้การกระทำใดการกระทำหนึ่งเป็นความผิดและต้องถูกลงโทษ ซึ่งการลงโทษนั้นถือเป็นการแก้แค้นทดแทนผู้เสียหาย การลงโทษในยุคนี้จึงมักเป็นการลงโทษที่ร้ายแรงให้สาสมกับความผิดที่ได้ก่อขึ้นมาแล้วเท่านั้นโดยที่ไม่ได้พิจารณาถึงผลที่จะได้รับจากการลงโทษในอนาคต[2] เช่น การประหารชีวิต ตัดมือ ตัดขา ซึ่งการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนี้สอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เสียหายและคนในสังคมมากที่สุดเพราะการที่รัฐลงโทษผู้กระทำผิดอย่างสาสมกับความผิดถือเป็นการชดเชยความรู้สึกเครียดแค้นของผู้เสียหายและสังคม
            แต่การลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อแก้แค้นทดแทนก็มีจุดอ่อนอยู่บางประการ เช่น การลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนนั้นไม่ได้พิจารณาถึงอนาคตว่าการที่ลงโทษไปแล้วจะมีผลต่อการป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในสังคมอีกหรือไม่[3] และการลงโทษเพื่อแก้ทดแทนความผิดยังไม่ได้มีการคำนึงถึงความจำเป็นของสังคมว่าจะได้รับประโยชน์อะไรจากการลงโทษหรือไม่ เพราะมุ่งคำนึงถึงแต่การลงโทษนั้นเหมาะสมกับความผิดที่ได้เกิดขึ้นและสาสมแล้วหรือไม่ รวมถึงการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทนยังเป็นการยากที่จะวัดความเหมาะสมของการลงโทษว่าการลงโทษเพียงใดจึงเป็นการสาสมกับความผิด






            2) การลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence) การลงโทษตามแนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดของสำนักอาชญาวิทยาดั่งเดิม (Classical School) ซึ่งเชื่อว่า การที่คนกระทำผิดเพราะไม่เกรงกลัวตัวกฎหมายหรือมีการบังคับใช้กฎหมายอ่อนแอ[4] เพราะผู้ที่จะกระทำความผิดมีการเจตจำนงอิสระในการกระทำความผิด (Free Will) ที่จะเลือกกระทำผิดหรือไม่ก็ได้ การที่เขาเลือกกระทำผิดเพราะเห็นว่าเขาได้รับประโยชน์จากการกระทำผิดมากกว่าผลร้ายที่เขาจะได้รับ ดังนั้นการลงโทษตามแนวความคิดนี้จึงเห็นว่า ต้องลงโทษผู้กระทำผิดอย่างหนักให้เข็ดหลาบไม่กล้ากระทำผิดซ้ำ และเป็นเยี่ยงอย่างให้กับผู้ที่คิดจะกระทำผิดได้เห็นว่าการกระทำความผิดนั้นไม่คุ้มค่ากับกับการถูกลงโทษ[5] เพราะการถูกลงโทษก่อให้เกิดความเจ็บปวดและไม่ก่อผลดีหรือประโยชน์ต่อผู้กระทำผิดเลย และเมื่อผู้กระทำผิดเห็นว่าการกระทำความผิดของเขานั้นจะนำมาแต่ผลร้ายเขาจะหลีกหนีไม่กระทำผิด
            การลงโทษตามแนวความคิดนี้จะได้ผลของการลงโทษเพื่อข่มขู่และยับยั้งอาชญากรรมได้ 2 ลักษณะ คือ การข่มขู่ยับยั้งทั่วไป (General Deterrence) การลงโทษผู้กระทำผิด เช่นการลงโทษจำคุกผู้ที่กระทำความผิดลักทรัพย์ ทำให้คนในสังคมทราบว่าหากลักทรัพย์ผู้อื่นก็จะถูกลงโทษเช่นเดียวกัน ทำให้คนในสังคมได้ตะหนักว่าการลักทรัพย์จะถูกลงโทษการกระทำผิดก็จะถูยับยั้งได้ และการลงโทษผู้กระทำผิดยังเป็นขามขู่ยับยั้งเฉพาะราย (Special Deterrence) การที่ผู้กระทำผิดถูกลงโทษทำให้ได้ตะหนักหากจะกระทำผิดต่อไปในอนาคตย่อมไม่คุ้มค่ากับการถูกลงโทษ และการลงโทษผู้กะทำผิดจะทำให้เขาเกิดความเข็ดหลาบไม่กล้ากระทำผิดอีก

            3) การลงโทษเพื่อตัดโอกาสกระทำผิด (incapacity) การลงโทษตามแนวความคิดนี้เชื่อว่า การที่อาชญากรกระทำความผิดได้เพราะมีโอกาสในการกระทำความผิด ถ้าไม่ไม่โอกาสอาชญากรจะไม่กระทำผิด การลงโทษเป็นการตัดโอกาสของอาชญากรในการกระทำความผิดซ้ำในอนาคต โดยวิธีการลงโทษเพื่อตัดโอกาสในการกระทำความผิดนั้นมีหลายวิธี เช่น การลงโทษจำคุกเป็นเวลานาน ๆ เมื่ออาชญากรอยู่ในเรือนจำแล้ว ย่อมไม่มีโอกาสที่จะกระทำผิดซ้ำได้อีก หรือการลงโทษโดยวิธีตัดความสามารถของการประกอบอาชญากรรม เช่น การตัดมือ ตัดเท้า เพื่อไม่ให้อาชญากรเหล่านี้สามารถประกอบอาชญากรรมที่เคยทำได้อีก หรือแม้กระทั้งการตัดอาญากรที่มีความอันตรายที่ได้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงออกจากสังคมไปอย่างถาวร โดยการเนรเทศ การจำคุกตลอดชีวิตหรือการประหารชีวิต
            แต่อย่างไรเสียการลงโทษตามแนวความคิดนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่หลายประการ เช่น การตัดมือ ตัดเท้าของผู้กระทำผิด จะนำมาซึ่งคนพิการที่กลายเป็นภาระของคนในสังคมเพราะนอกจากไม่สามารถประกอบอาชญากรรมได้แล้ว ยังไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้อีกด้วย การลงโทษด้วยวิธีดังกล่าวจึงไม่เกิดผลดีต่อสังคมแต่อย่างใด ในกรณีจำคุกก็เป็นการตัดโอกาสของผู้กระทำผิดผิดออกจากสังคมเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อผู้กระทำความผิดเหล่านี้พ้นโทษก็จะกลับเข้ามาอยู่ร่วมกับคนในสังคม เมื่อกลับมาแล้วนักโทษเหล่านี้มักจะมีความเครียดแค้นสังคมมากยิ่งขึ้น[6] อีกทั้งการไม่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม ทำให้กลับไปกระทำความผิดซ้ำและต้องกลับไปใช้ชีวิตในเรือนจำอีก

            4) การลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation) แนวความคิดเกี่ยวกับการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดเป็น แนวคิดของสำนักอาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม (Positive School) ซึ่งเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับเจตจำนงกำหนด (Determinism) เพราะถูกกดดันจากปัจจัยต่าง ๆ การที่มนุษย์กระทำผิดไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนจำนงอิสระ[7] ซึ่งปัจจัยที่มากดดันให้มนุษย์กระทำผิดอาจมาจากปัจจัยภายในตัวมนุษย์เอง เช่น ปัจจัยทางด้านร่างกาย ทางด้านจิตใจ หรือมาจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม สภาพครอบครัว เศรษฐกิจ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็มีส่วนก่อให้เกิดอาชญากรรมขึ้น การลงโทษตามแนวความคิดนี้จึงไม่ได้เน้นลงโทษผู้กระทำผิดเพียงอย่างเดียว แต่เห็นว่าการลงโทษควรหาสาเหตุของการก่ออาชญากรรม เมื่อทราบถึงสาเหตุแล้วก็พยายามแก้ไขสาเหตุของอาชญากรรมนั้นเสีย เพื่อให้ผู้กระทำผิดไม่กลับไปกระทำผิดอีก[8] ซึ่งการที่จะแก้ไขผู้กระทำผิดได้นั้นจะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับตัวผู้กระทำผิดเป็นรายบุคคลหรือมีการจำแนกผู้กระทำผิด เพื่อที่จะได้หาวิธีการที่เหมาะสมมาใช้เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดแต่ละรายให้เหมาะสม


            การที่รัฐบัญญัติกฎหมายอาญาขึ้นมาเพื่อใช้บังคับกับคนในสังคม ไม่ว่าการบัญญัติกฎหมายอาญานั้นรัฐจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่กฎหมายอาญาที่รัฐบัญญัติขึ้นมานั้นย่อมมีภารกิจดังต่อไปนี้เสมอ คือ ภารกิจในการคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากการกระทำที่เป็นอันตราย และปราบปรามการกระทำผิดที่เกิดขึ้น รวมถึงป้องกันการกระทำความผิดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้กฎหมายอาญายังมีภารกิจในการคุ้มครองคุณธรรมทางกฎหมาย เช่น อำนาจปกครองของบิดามารดา กรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของเจ้าของ และในการคุ้มครองการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย









            5.2 กฎหมายอาญาจะย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้ เนื่องจากกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ดังนั้นจึงควรมีที่จะหลักประกันให้กับคนในสังคมได้ทราบก่อนว่ากฎหมายอาญามีว่าอย่างไร การกระทำใดบ้างที่กฎหมายห้ามหากฝ่าฝืนจะต้องรับโทษ เพื่อที่จะให้คนในสังคมได้ตระหนักว่าหากมีการฝ่าฝืนกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ย่อมต้องได้รับโทษ ดังนั้นหากตอนที่กระทำไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด เขาย่อมไม่ต้องรับผิดแม้ต่อมาจะมีกฎหมายประกาศในภายหลังให้การกระทำนั้นเป็นความผิด ซึ่งหลักการนี้อยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 2 “ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทำ เช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป และถ้าหากมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”

            5.3 ถ้อยคำในกฎหมายอาญาจะต้องบัญญัติให้ชัดเจนแน่นอนปราศจากความคลุมเครือ ในบทบัญญัติกฎหมายอาญาต้องมีความชัดเจนหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่จะทำให้การตัดสินคดีขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยและตามอำเภอใจผู้พิจารณาคดี เช่น จะบัญญัติว่า “แล้วแต่ศาลจะเห็นตามสมควร ” อย่างนี้เป็นการบัญญัติกฎหมายอาญาที่ให้ดุลยพินิจในการพิจารณาคดีของศาล จึงคลุมเครือและปราศจากความแน่นอน เพราะอัตวิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้การใช้ถ้อยคำในการบัญญัติกฎหมายในบางกรณีก็ต้องมีการตีความ เนื่องจากผู้ที่บัญญัติกฎหมายไม่สามรถจะบัญญัติถ้อยคำที่ชัดเจนแน่นอนได้ จึงต้ออาศัยการตีความของผู้ใช้กฎหมายเพื่อหาความหมายของถ้อยคำดังกล่าว

            ส่วนระบบกฎหมาย Civil Law ซึ่งกฎหมายอาญาของไทยก็ใช้กฎหมายแบบระบบลายลักษณ์อักษรที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการตีความกฎหมายอาญาในระบบ Civil Law จะต้องตีความตามตัวอักษรและตามเจตนารมณ์เพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริง ซึ่งต้องไม่ตีความขยายความเกินไปจนไปกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ในมาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์... ซึ่งวัตถุแห่งการกระทำความผิดในฐานนี้คือ การกระทำต่อทรัพย์ ซึ่งต้องตีความคำว่า ทรัพย์ ว่าหมายถึงอะไร ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นมีการให้ความหมายของทรัพย์ไว้ว่าหมายถึง “วัตถุที่มีรูปร่าง”[9] ดังนั้นหากเป็นการกระทำต่อวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น พลังงาน หรือคลื่นโทรศัพท์ ย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ แต่มีคำพิพากษาฎีกา 877/2501 ซึ่งได้ตัดสินไว้ว่าการลักกระแสไฟฟ้า ย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2501) ศาลฎีกาในคดีได้ตัดสินว่าการลักกระแสไฟฟ้าเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แสดงว่าศาลตีความว่ากระแสไฟฟ้าเป็นทรัพย์และมีรูปร่างนั้นเอง








            การแบ่งประเภทของความโดยคำนึงถึงผู้เสียหายมีประโยชน์ในการดำเนินคดีอาญา เนื่องจากคดีความผิดอันยอมความได้นั้นเงื่อนไขในการดำเนินคดีผู้เสียหายจะต้องชั่งน้ำหนักว่าประสงค์จะดำเนินคดีหรือไม่ หากประสงค์จะดำเนินคดีก็ต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดสามเดือนนับแต่รู้ถึงความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด หากไม่ร้องทุกข์ภายในกำหนดดังกล่าวก็ถือว่าคดีนั้นขาดอายุความ หากมีการร้องทุกข์ของผู้เสียหายรัฐก็ไม่สามารถดำเนินคดีแทนให้ได้ ซึ่งแตกต่างจากความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้ ซึ่งไม่จำต้องรอให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ก่อนจึงจะดำเนินคดีอาญาได้ เนื่องจากเป็นความผิดที่กระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของสังคมโดยรวม






















1 comment:

  1. หากท่านใดประสงค์จะได้เป็นเอกสารในส่วนนี้แบบ Full text ก็สามารถติดต่อมาทาง Email ได้นะครับ

    ReplyDelete