นิติเวชศาสตร์กับนิติวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันการพิจารณาพิพากษาคดีมีความสลับซับซ้อนและบางคดีจำเป็นจะต้องอาศัยความรู้ด้านนิติเวชศาสตร์ นิติวิทยาศาสตร์ มาช่วยค้นหาความจริงเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนและดำเนินคดี เพื่อช่วยในการพิสูจน์พยานหลักฐานอันขจะนำมาซึ่งข้อเท็จจริงที่ชัดเจน
ศาลก็สามารที่จะปรับบทหลักกฎหมายในการลงโทษจำเลยได้อย่างถูกต้องและช่วยให้การอำนวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.......................................
1. นิติเวชศาสตร์ ( Forensic Medicine)
มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2456 โดยถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการแพทย์ วุฒิประกาศนียบัตรของโรงเรียนแพทย์ สำหรับสอนนักศึกษาแพทย์ในชั้นปีที่ 4 ต่อมามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาของคณะแพทย์ศาสตร์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับการเรียนการสอนในชั้นปริญญาตรี
2. นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science)
เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา
ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้
1)นิติพยาธิวิทยา (Forensic Pathology)
2)นิติเวชคลินิก (Clinical Forensic)
3)นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry)
4)นิติพิษวิทยา (Forensic Toxicology)
5)การพิสูจน์หลักฐาน (Criminalistic)
6)นิติวิทยาเซรุ่ม (Forensic Serology)
7)เวชศาสตร์จราจร (Traffic Medicine)
8)กฎหมายการแพทย์ (Medicial Law) (ยังไม่จบนะครับ)
No comments:
Post a Comment