Wednesday 26 December 2012

โทษจำคุกกับการกระทำความผิดโดยประมาท





โทษจำคุกกับการกระทำความผิดโดยประมาท


การลงโทษจำคุกกับผู้กระทำความผิดโดยประมาท เป็นวิธีการไม่เหมาะสม 

เพราะหากเราต้องการแก้แค้น การกระทำความผิดโดยประมาท เป็นการกระทำที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดความเสียหายขึ้น 

หากจะลงโทษจำคุกโดยหวังให้การลงโทษจำคุกยับยั้งการกระทำโดยประมาทของคนนั้นเองหรือคนอื่นๆ ไม่ให้ประมาท ก็ไม่อาจยับยั้งได้ เพราะคนเราทุกคนมีความพลั้งเผลอ จะเห็นได้ว่าแม้เราจะมีโทษจำคุก แต่ก็ไม่อาจยับยั้งไม่ให้คนประมาทได้

หากจะลงโทษจำคุกกับกรณีประมาท เพื่อแก้ไขพฤติกรรมผู้กระทำความผิดที่ประมาท มันก็๋พอเข้าใจได้ แต่ผลที่ได้จากการส่งคนที่ประมาทเข้าไปในเรือนจำ นอกจากจะไม่ทำให้เขาหายประมาทแล้ว ยังมีความเสี่ยงที่จะโดนสภาพแวดล้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปเสียอีก

โทษจำคุก เขียนไว้ในกฎหมาย แต่ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงไม่ควรจำคุกคนที่กระทำโดยประมาท คดีประเภทนี้ส่วนใหญ่ ศาลจึงรอลงอาญาไว้ และกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ แทน

ส่วนโทษปรับก็น้อยจนใช้ไม่ได้เหมือนกัน เช่น ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อืนถึงแก่ความตาย มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2 0,000 บาท ซึ่งน้อยจนไม่เหมาะสมกับความผิดพอที่จะทำให้คนทั่วไปได้ตระหนักมีความระมัดระวังขึ้น

นี่เป็นเหตุผลหลักๆนะครับ ว่าทำไม เวลาเราเห็นข่าวคนขับรถประมาทชนคนตายแล้ว ศาลรอลงอาญา ไม่ใช่ศาลใจดีเกินไป แต่ศาลมีเหตุผลตามหลักการทางอาญาและอาชญวิทยา

คุกควรมีไว้ขังคนชั่วร้ายเท่านั้น (แค่นั้นก็ล้นแล้ว)

...........................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

No comments:

Post a Comment