Monday 18 March 2013

ขั้นตอนการดำเนินคดี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550





คดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัวเป็นคดีที่มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนกว่าคดีอาญาทั่วไป เพราะคดีความรุนแรงในครอบครัวเป็นการทำร้ายกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว แตกต่างจากการทำร้ายร่างกายในคดีอาญาปรกติ การใช้มาตรการทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาทั่วไปที่มุ่งการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างเดียว อาจไม่เหมาะสมกับคดีความรุนแรงในครอบครัว เหตุผลดังกล่าวที่เป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งมีวิธีการในการดำเนินคดีต่างหาก โดยหวังให้ผู้กระทำผิดกลับตัวและยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ รวมถึงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในครอบครัว











          มาตรา 6 วรรค 2 “เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้งตา มาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่เกิดเหตุเพื่อสอบถามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว ผู้ถูกระทำความรุนแรงในครอบครัว หรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับการกระทำที่ได้รับแจ้ง รวมทั้งให้มีอำนาจจัดให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวประสงค์จะดำเนินคดี ให้จัดให้นั้นร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร้องทุกข์แทนได้”









No comments:

Post a Comment