โดยเฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ในทางอาญาถือว่าการค้นเป็นวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อปราบปรามและป้องกันอาชญากรรม
ซึ่งรัฐจะให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจมีอำนาจในการค้นเพื่อเป็นการปราบปรามการกระทำผิด
เช่น เมื่อมีผู้กระทำผิดแล้วหลบหนีไป ตำรวจสงสัยว่าจะเข้าไปหลบในบ้านญาติหลังหนึ่ง
มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าไปค้นเพื่อจับกุมผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
หรือในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อว่ามียาเสพติดอยู่ในบ้านหลังหนึ่ง
ซึ่งขบวนการค้านบาเสพติดได้นำมาพักไว้เพื่อเตรียมส่งไปขายยังต่างประเทศ
การค้นเพื่อจับกุมการค้ายาเสพติดและค้นเพื่อหาของกลางที่จะนำมาเป็นพยานหลักฐานจึงมีความจำเป็น
การให้อำนาจในการค้นแก่ตำรวจหรือองค์กรอื่นที่มีกฎหมายให้อำนาจ
ถือเป็นการดำเนินการควบคุมอาชญากรรม ตามหลักของ Crime Control ยิ่งรัฐให้อำนาจการค้นมากเท่าไหร่
ประสิทธิภาพในการปรามปรามและป้องกันอาชญากรรมก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
แต่ในทางกลับกัน สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะถูกกระทบกระเทือนจากการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามและป้องกันนั้นได้
เช่น การให้อำนาจแก่ตำรวจในการค้นในที่รโหฐานโดยไม่ต้องมีหมายค้น
ประสิทธิภาพในการปรามปรามย่อมสูงแต่สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะถูกกระทบกระเทือน
ไม่มีเสรีภาพในการอยู่อาศัยได้ เพราะเหตุว่าหากตำรวจอยากจะค้นตอนไหนก็ค้นได้
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจำกัดอำนาจในกรปราบปรามอาชญากรรม โดยกำหนดให้มีขั้นตอนกระบวนการต่างๆ
ในการดำเนินคดีไว้ เช่น การจับจะต้องมีหมายจับ
การค้นต้องมีหมายค้นที่ออกโดยศาลจึงจะค้นได้ ซึ่งเป็นไปตามหลัก Due Process
การค้นในที่สาธารณะ
โดยหลักการแล้วกฎหมายห้ามไม่ให้มีการค้นตัวบุคคลในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นไปตามหลัก Due Process แต่ก็ได้เปิดช่องไว้ให้มีการค้นตัวบุคคลที่สาธารณะได้
เพื่อประโยชน์ในการควบคุมอาชญากรรม ตามหลัก Crime Control
หลักการนี้ปรากฎในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความของไทยได้ ใน ม. 93 “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”
หลักการนี้ปรากฎในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความของไทยได้ ใน ม. 93 “ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้นแต่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด”
การค้นในที่สาธารณะโดยหลักแล้ว ห้ามไม่ให้มีการค้นเลย
แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ห้ามเป็นเด็ดขาด มีข้อยกเว้นไว้ให้สามารถค้นได้
โดยมีเงื่อนไขที่จะค้นในที่สาธารณะได้ดังนี้
1. ผู้ที่ทำการค้นต้องเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
2. จะค้นได้เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด
เช่น สงสัยว่าจะมีอาวุธ สงสัยว่าจะมีอุปกรณ์ในการงัดแงะประตูหน้าต่าง
- บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด
เช่น มีทรัพย์อยู่ในรถที่ได้ไปลักมา มีการแจ้งให้สกัดจับรถคนร้ายโจรกรรมรถ
- บุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองซึ่งมีไว้เป็นความผิด
เช่น มียาเสพติด ของหนีภาษี เป็นต้น
ประเด็นที่เป็นปัญหาของ ม.93 คือ
กรณีใดที่จะถือว่ามีเหตุอันควรสงสัยแล้ว เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะมีอำนาจค้นได้
ตรงนี้ตามหลักของการตีความแล้ว การค้นในที่สาธารณะถือเป็นข้อยกเว้นจะต้องตีความอย่างแคบ
โดยไม่ขยายอำนาจในการค้นของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจออกไปมาก
เพราะถ้าหากตีความในทางให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานหรือตำรวจมากไปแล้ว สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมาก
ในประเด็นนี้ศาลได้วินิจฉัยไว้เป็นแนวดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่
8722/2555 บริเวณที่เกิดเหตุอยู่บนถนนสุทธาวาสไม่ใช่หลังซอยโรงถ่านที่มีอาชญากรรมประเภทความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เป็นประจำ และจำเลยไม่มีท่าทางเป็นพิรุธคงเพียงแต่นั่งโทรศัพท์อยู่
การที่สิบตำรวจโท ก. และสิบตำรวจตรี พ. อ้างว่าเกิดความสงสัยในตัวจำเลยจึงขอตรวจค้น
โดยไม่มีเหตุผลสนันสนุนว่าเพราะเหตุใด จึงเกิดความสงสัยในตัวจำเลย จึงเป็นข้อสงสัยที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้สึกเพียงอย่างเดียว
ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอันควรสงสัยตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา
93 ที่จะทำการตรวจค้นได้ การตรวจค้นตัวจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งถูกกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายย่อมมีสิทธิโต้แย้งและตอบโต้เพื่อป้องกันสิทธิของตนตลอดจนเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งใด
ๆ อันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ไม่ชอบได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 136 ,มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา
367
จากคำพิพากษาฎีกานี้จะเห็นว่า ศาลตีความคำว่า
เหตุอันควรสงสัยที่จะค้นได้ตาม ป.วิอาญา ม.93
นั้นต้องปรากฎข้อเท็จจริงให้เกิดความสงสัยอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ไม่ใช่การคิดรู้สึกสงสัยเอาแต่ฝ่ายเดียวของเจ้าหน้าที่หรือตำรวจ
แล้วจะสามารถค้นได้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การค้นในที่สาธารณะนั้น
จะค้นได้ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายยกเว้นให้ค้นได้ และต้องตีความอย่างแคบ
และจะคิดสงสัยเอาเองไม่ได้ต้องมีข้อเท็จจริงปรากฏให้เกิดความสงสัยด้วยจึงจะค้นได้
นอกจากกนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้นโดยไม่ชอบอีกหลายประเด็น
เช่น การค้นโดยไม่ชอบผู้ที่ถูกค้นย่อมมีสิทธิป้องกันได้, และผู้ที่ทำการค้นอาจมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
ป.อ.157 รวมทั้งความผิดต่อเสรีภาพอีกด้วย,ทั้งพยานหลักฐานที่ได้มาจากการค้นโดยไม่ชอบต้องห้ามไม่ให้รับฟัง
ตาม ป.วิอาญา ม.226
No comments:
Post a Comment