ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
Extortion
Overview
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
โดยผู้กระทำต้องการข่มขืนใจผู้อื่น
โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง
หรือทรัพย์สิน
และเป็นการกระทำเพื่อประสงค์จะให้ผู้อื่นให้
หรือยอมให้ ประโยชน์ในลักษณะทรัพย์สิน
พิจารณาเปรียบเทียบกับความผิดฐานกรรโชกทรัพย์กับความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น
1.
ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 309 เป็นการข่มขืนใจต่อเสรีภาพ (Liberty)
ซึ่งมีความหมายค่อนข้างกว้าง
เพราะเป็นการข่มขืนใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการ หรือจำยอมต่อสิ่งใด
ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินดังเช่นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
ม.337
2.
ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น ม.309 นั้นเป็นการทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตราย (Putting
him in fear) แต่ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ม.337
นั้นเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำให้เกิดอันตราย (Treat to commit violence)
ความผิดฐานกรรโชกเป็นความผิดต่อเสรีภาพเสมอ
แต่ในความผิดต่อเสรีภาพไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์
เพราะความผิดฐานกรรโชกทรัพย์มีเจตนาที่มุ่งหมายต้องเป็นประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1447/2513 จำเลยกับพวกมีอาวุธปืนติดตัวเข้าไป
พูดจาให้ผู้เสียหายคิดบัญชีการเงิน
ที่จำเลยกับผู้เสียหายเข้าหุ้นกันทำการก่อสร้างโดยขู่ว่า ถ้าไม่คิดจะเกิดเรื่อง
แต่การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่ยอมคิดบัญชีให้
ไม่ว่าจะด้วยเหตุที่ผู้เสียหายไม่กลัว หรือเพราะมีตำรวจมาขัดขวางก็ตาม
จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามกระทำผิดต่อเสรีภาพแล้ว
แต่ไม่เป็นความผิดฐานพยายามกรรโชก
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์กับความผิดฐานชิงทรัพย์
มีความใกล้เคียงกันและอาจซ้อนกันได้ เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่
1844/2536 จำเลยกับพวกได้เป็นคนร้ายมีปากกาติดตัว
เป็นอาวุธได้ร่วมกันข่มขืนใจนายพีระสัณห์ วีโนทัย ผู้เสียหาย
โดยการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายยอมให้เงินแก่จำเลยกับพวกจำนวน 20 บาท
การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้ หรือยอมจะให้จำเลยได้รับประโยชน์เป็นทรัพย์สินโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
จึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337 เมื่อฟังไม่ได้ว่า
จำเลยกระทำผิดฐานชิงทรัพย์แล้วคดีไม่จำต้องพิจารณาว่า
ศาลจะลงโทษจำเลยตามความผิดฐานชิงทรัพย์แล้วคดีไม่จำต้องพิจารณาว่า
ศาลจะลงโทษจำเลยตามความผิดฐานชิงทรัพย์ได้หรือไม่
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาชอบแล้วฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่างชิงทรัพย์กับกรรโชกทรัพย์
1.
วัตถุแห่งการกระทำต่างกัน
2.
ความผิดฐานกรรโชกมีแต่เจตนาธรรมดา แต่ความผิดฐานชิงทรัพย์มีเจตนาพิเศษ
3.
ในความผิดฐานชิงทรัพย์กันใช้กำลังหรือขู่เข็ญจะต้องไม่ขาดตอนจากการลักทรัพย์
หากขาดตอนไปแล้วไม่เป็นชิงทรัพย์แต่อาจเป็นกรรโชกทรัพย์ได้
4.การยอมให้หรือยอมจะให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแม้จะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินให้ก็เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์แล้ว
ความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ในประมวลกำหมายอาญาไทย
มาตรา
337 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น
ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือ
โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือ
ทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอม เช่นว่านั้น
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1)
ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น
ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของ
ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2)
มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี
และปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน
(Benefit
in the nature of being property) หมายถึง ทั้งตัวทรัพย์
ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์นั้น ๆ เช่น ประมูลทรัพย์สินได้
พักโรงแรมฟรี แต่ไม่รวมแรงงาน เช่น บังคับให้เขาทำงานให้ฟรี
โดยใช้กำลังประทุษร้าย
(Commit
an act violence)หรือ โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย(Treat to
commit violence) และเป็นการกระทำต่อ Life Body Liberty
Reputation Property ของผู้ถูกขู่เข็ญ (the compelled
person) หรือของบุคคลที่สาม (Third person)
จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น
(so
that the compelled person submits to the same) หากผู้เสียหายยอมก็เป็นความผิดสำเร็จ
แม้จะยอมไม่ทั้งหมด หรือยอมแต่ยังไม่ให้ก็ได้
...................................................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
No comments:
Post a Comment