Tuesday 7 January 2014

กฎหมายว่าด้วยมรดก Succession Law


กฎหมายว่าด้วยมรดก Succession Law


โดย เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา


มรดก   Succession    
คำแปล  n. heritage, inheritance, legacy, bequest; estate
ความหมายของ มรดก
 (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
[มอระ-] น. สิ่งที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษหรือที่สืบทอดมาแต่บรรพกาล;
(กฎ) ทรัพย์สินทุกชนิดตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ ของผู้ตาย เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย เรียกรวม ๆ ว่า กองมรดก.
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก
          มาตรา 1599  “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
1. เมื่อบุคคลใดตาย(เจ้าของทรัพย์สิน)
ตายตามธรรมชาติ
ตายโดยผลของกฎหมาย



ตายโดยผลของกฎหมาย
มาตรา 62   บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังที่ระบุไว้ใน มาตรา 61
มาตรา 61   ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปีเมื่อ ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ ก็ได้
 ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี
          (1) นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลงถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงครามและหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
          (2) นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางอับปางถูกทำลายหรือสูญหายไป
          (3) นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไปถ้าบุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น
 
2. มรดกตกทอดแก่ทายาททันที
มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
ไม่ขาดตอน
ไม่จำต้องมีการแสดงเจตนารับ
ฎ. 919/2495 สิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์สินย่อมตกทอดแก่ทายาททันที ที่เจ้ามรดกตาย
ฎ. 310/2510 หุ้นส่วนในบริษัทย่อมตกเป็นของทายาททันที่เจ้ามรดกตาย แม้ยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
ฎ. 2761/2530 สิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ที่จะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมตกทอกแก่ทายาท


มาตรา 271 “ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดี (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมด หรือบางส่วนคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้บังคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยอาศัยและตาม คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

มาตรา 42 ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน ศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณา ไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทน ที่ผู้มรณะ โดยมีคำขอเข้ามาเองหรือโดยที่ศาลหมายเรียกให้เข้ามา เนื่องจากคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีคำขอฝ่ายเดียว คำขอเช่นว่านี้ จะต้องยื่นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นมรณะ
สิทธิในสัญญาเช่าซื้อ
สิทธิในสัญญาเช่า
สัญญาเช่าธรรมดา
สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
สิทธิครอบครอง
สิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขาย

2. มรดกตกทอดแก่ทายาททันที
กรณีของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
บุตรนอกกฎหมายที่บิดาไม่ได้รับรอง

การเสียสิทธิในการรับมรดกของทายาท
มาตรา 1599 วรรคสอง
          “ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก(ม.1605-1606)
การถูกตัดไม่ให้รับมรดก(ม.1608-1609)
การสละมรดก(ม.1620-1619)
กฎหมายอื่น
ความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ 2518
ความผิดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 2542

กองมรดก
มาตรา 1600 “ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
1623
1753
กองมรดกของผู้ตายได้แก่
ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ที่เจ้ามรดกมีอยู่แล้วในเวลาที่เจ้ามรดกตาย
เว้นแต่
เป็นการเฉพาะตัว
เป็นการเฉพาะตัวโดยสภาพ
เป็นการเฉพาะตัวโดยกฎหมาย

ประเด็นที่น่าพิจารณา
ครอบครองปรปักษ์เป็นเวลาเกินกว่า ๑๐ ปี แล้ว
เงินสะสมที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกคน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการนั้นพ้นจากราชการ
ดอกผลของทรัพย์มรดก
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
รายได้จากการกรีดยางที่ได้มาหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ผู้จัดการมรดกนำกองมรดกไปทำประโยชน์และได้ผลประโยชน์มา
เงินบำเหน็จ บำนาญตกทอด
เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากความตายของลูกจ้าง
เงินประกันชีวิต
สิทธิตามสัญญาเช่า
หุ้นในห้างหุ้นส่วน
หุ้นในบริษัท
การเป็นผู้จัดการมรดก


แบบฝึกหัด
1) กองมรดกหมายถึง

2) ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ มีความหมายว่าอย่างไร
          ม.897 ม.1481 ม.1533 ม.1534 1598/29 1598/301623,1625,1637,1638,1753
มาตรา 897 ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนด ว่าเมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดย มิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ท่าน ให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันซึ่ง เจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้
          ถ้าได้เอาประกันภัยไว้ โดยกำหนดว่าให้ใช้เงินแก่บุคคลใดบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ท่านว่าเฉพาะแต่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ส่งไปแล้วเท่านั้น จัดเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่ง กองมรดกของผู้เอาประกันภัยอันเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้
มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ มีความหมายว่าอย่างไร
เป็นการเฉพาะตัวโดยกฎหมาย     
เป็นการเฉพาะตัวโดยสภาพ
เป็นการเฉพาะตัวโดยกฎหมาย     
มาตรา 446    ในกรณีทำให้เขาเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัยก็ดี ในกรณีทำให้เขาเสียเสรีภาพก็ดี ผู้ต้องเสียหายจะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความที่เสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงินด้วยอีกก็ได้ สิทธิเรียกร้องอันนี้ไม่โอนกันได้และไม่ตกสืบไปถึงทายาท เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้โดยสัญญาหรือได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
          อนึ่ง หญิงที่ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทำผิดอาญาเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องทำนองเดียวกันนี้
มาตรา 584    ถ้าจ้างแรงงานรายใดมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้เป็นนายจ้าง ท่านว่าสัญญาจ้างเช่นนั้นย่อมระงับไปด้วยมรณะแห่งนายจ้าง
มาตรา 606    ถ้าสาระสำคัญแห่งสัญญาอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้างและผู้รับ จ้างตายก็ดี หรือตกเป็นผู้ไม่สามารถทำการ ที่รับจ้างนั้นต่อไปได้ด้วยมิใช่เพราะความผิดของตนก็ดี ท่านว่าสัญญานั้นย่อมเป็นอันสิ้นลง
ถ้าและการส่วนที่ได้ทำขึ้นแล้วนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้ว่าจ้างไซร้ ท่านว่าผู้ว่าจ้างจำต้องรับเอาไว้และใช้สินจ้างตามสมควรแก่ส่วนนั้น ๆ

กรณีผิดสัญญาหมั้น
มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญา หมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
          มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
(1) ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
(2) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่อง ในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส

เป็นการเฉพาะตัวโดยสภาพ
กรณีที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
สิทธิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืน
สิทธิในการลงสมัครรับเลือกตั้ง
1. ผู้ขายฝากตาย สิทธิในการไถ่การขายฝากเป็นกองมรดกหรือไม่
2. เช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตาย สิทธิเรียกร้องตามเช็คตกทอดแก่ทายาทหรือไม่
3. สิทธิเรียกร้องให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เสียหาย ค่าปลงศพ กรณีถูกทำละเมิดจะเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
4. สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่เป็นตัวเงิน เช่น ค่าเสื่อมสุขภาพอนามัย ค่าต้องทำศัลยกรรม ค่าขาดความสุขสำราญเพราะร่างกายพิการ เล่นกีฬาไม่ได้ อับอายขายหน้าเนื่องจากสังคมรังเกียจ และค่าสูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์ เป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
5. หนี้ละเมิดที่ผู้ตายก่อไว้ก่อนตายเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
6. บำเหน็จ บำนาญของผู้ตาย เป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
7.การครอบครองปรปักษ์เป็นเวลาเกินกว่า ๑๐ ปี แล้ว ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมาโดยการครอบครองตามมาตรา ๑๓๘๒เป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
8. อาวุธปืนที่ใช้ในการกระทำความผิดเมื่อปรากฏว่าศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาให้ยึดอาวุธปืนดังกล่าวเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
9. เงินสะสมที่ทางราชการหักเก็บไว้จากเงินเดือนของข้าราชการทุกคน ซึ่งจะจ่ายคืนเมื่อข้าราชการนั้นพ้นจากราชการเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
10. ดอกผลของทรัพย์มรดกหากดอกผลเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
11. เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
12.รายได้จากการกรีดยางที่ได้มาหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วไม่ใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
13.ผู้จัดการมรดกนำกองมรดกไปทำประโยชน์และได้ผลประโยชน์มาเป็นเงินจำนวนหนึ่งเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
14.เงินชดเชยเป็นเงินที่เกิดขึ้นจากความตายของลูกจ้าง และได้มาหลังจากลูกจ้างถึงแก่ความตายไปแล้วเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
15.เงินประกันชีวิตเกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกเนื่องจากความตายของผู้ตายเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
16.สิทธิเกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานยักยอกเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
17.สิทธิตามสัญญาเช่าของผู้เช่าเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร1
สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
19.หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
20.หุ้นในบริษัทจำกัดเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร
21.การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นกองมรดกหรือไม่ อย่างไร

แบบฝึกหัด
นายสมชายอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ ก่อนสมรส นาสมชายได้ตกลงเช่าซื้อ รถยนต์ ราคา 1 ล้านบาทจากบริษัท Honda จำกัด โดยจ่ายค่าเช่าซื้อไปแล้ว 9 งวด จากทั้งหมด 10 งวด หลังจากนั้นนายสมชายได้จดทะเบียนสมรสกับนางสมหญิง และได้มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือนายสมพร และสมศรี ระหว่างอยู่กินกับนางสมหญิงนายสมชายได้ร่วมกันซื้อบ้านราคา 2 ล้านบาท  และได้รับพินัยกรรมจากคุณปู่เป็นเงินสด 2 ล้านบาท ต่อมาสมชายได้เลิกรากับสมหญิง โดยที่ยังไม่ได้หย่าขาดจากกัน และได้มาอยู่กินฉันสามีภริยากับนางสมสมร และได้มีลูกด้วยกัน 1 คน คือนายสมจิตร โดยที่นายสมชายให้การเลี้ยงดูเป็นอย่างดี และส่งให้เล่าเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด แต่โชคร้ายนายสมชายประสบอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิตหลังจากที่ขับรถไปส่งนายสมจิตรที่โรงเรียน โดยที่ก่อนตายนายสมชายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้เลย นายสมชายมีทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกับนางสมสมร คือ บ้านราคา 2 ล้านบาท เงินสด 1 ล้านบาท
ก) ให้นิสิตวินิจฉัยว่าทรัพย์สินใดเป็นกองมรดกของนายสมชายที่จะตกทอดแก่ทายาท จำนวนเท่าไหร่
นายสมชายได้ตกลงเช่าซื้อ รถยนต์ ราคา 1 ล้านบาทจากบริษัท Honda จำกัด โดยจ่ายค่าเช่าซื้อไปแล้ว 9 งวด จากทั้งหมด 10 งวด
บ้านราคา 2 ล้านบาท
ได้รับพินัยกรรมจากคุณปู่เป็นเงินสด 2 ล้านบาท
ทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกับนางสมสมร คือ
บ้านราคา 2 ล้านบาท
เงินสด 1 ล้านบาท

ข) ให้นิสิตวินิจฉัยว่าใครมีสิทธิรับมรดกของนายสมชายบ้าง ในฐานะใด จำนวนเท่าไหร่
นางสมหญิง
นายสมพร
สมศรี
นางสมสมร
นายสมจิตร
ทายาทและความสามารถในการเป็นทายาท
1. ความหมายของทายาท
2. ทายาทแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
3. ความสามารถในการเป็นทายาท และคุณสมบัติในการรับมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไร
1. ความหมายของทายาท
ทายาท หมายถึง ผู้มีสิทธิรับมรดกจริง ๆ และสิทธินั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ทายาทที่ไม่มีสิทธิรับมรดก
อายุความมรดก(ฎ.19/2495)
ร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก(ฎ.1491/2523)
2. ทายาทแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
          ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า"ทายาทโดยธรรม"
          ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า"ผู้รับพินัยกรรม"



2. ทายาทแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
"ทายาทโดยธรรม
ทายาทที่เป็นญาติ
ทายาทที่เป็นคู่สมรส
"ผู้รับพินัยกรรม
สิทธิในการรับมรดกระหว่าง "ทายาทโดยธรรมและ "ผู้รับพินัยกรรม

3. ความสามารถในการเป็นทายาท และคุณสมบัติในการรับมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไร
มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคล หรือสามารถมีสิทธิได้ตามมาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
3. ความสามารถในการเป็นทายาท และคุณสมบัติในการรับมรดกมีหลักเกณฑ์อย่างไร
มาตรา 1654 ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณา แต่ในเวลาที่ทำพินัยกรรมเท่านั้น
          ความสามารถของผู้รับพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตายเท่านั้น
บทบัญญัติทั้ง 2 มาตรา แยกพิจารณาได้ดังนี้
1) ผู้ที่จะเป็นทายาทต้องมีสภาพบุคคล
2) ทายาทต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกตาย
1) ผู้ที่จะเป็นทายาทต้องมีสภาพบุคคล
พิจารณาตัวอย่าง
บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
วัด
สถานที่สักการะ เช่น ศาลเจ้า
2) ทายาทต้องมีสภาพบุคคลอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกตาย
แยกพิจารณาได้ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา ตาม มาตรา 1604
ทารกในครรภ์มารดา
บิดามรดาสมรสกัน
บิดามารดาไม่ได้สมรสกัน
รับรอง
ไม่รับรอง
พิจารณาตัวอย่าง
ฎ.341/2501  ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาขณะที่บิดาตาย  มีสิทธิเป็นทายาทได้ถ้าหากภายหลังได้เกิดมารอดอยู่
ฎ.1469/26  การรับรองบุตรในครรภ์มารดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็อาจมีได้ตาม ม.1629(1)  , ม.1627 และ ม.1604
ฎ.320/2496 การรับรองบุตรนอกกฎหมายที่อยู่ครรภ์มารดา  หากบิดาไม่แสดงอาการรับรองโดยพฤติการณ์อย่างใด แล้ว  บิดาตายไปก่อนเด็กเกิดไม่มีโอกาสที่บิดาจะรับรองว่าเป็นบุตรได้อีก  จึงไม่มีทางเป็นทายาทตาม ปพพ.มาตรา 1627
ฎีกาที่ 210/2491(ประชุมใหญ่) เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีตามมาตรา 1599 ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกนั้น นอกจากต้องมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิตามมาตรา 1604 แล้ว จะต้องมีสิทธิที่จะรับมรดกในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย
ดู ม.1558

2) นิติบุคคล
ข้อยกเว้น นิติบุคคลที่ไม่มีสภาพบุคคลอาจรับมรดกได้มี 2 กรณี
1. พินัยกรรมตั้งมูลนิธิ ม.1676
2. กรณีมรดกตกทอดแก่แผ่นดิน ม.1753
1. พินัยกรรมตั้งมูลนิธิ ม.1676
มาตรา 1676 พินัยกรรมจะทำขึ้นโดยให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระ ติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ หรือจะสั่งจัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรง เพื่อ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามบทบัญญัติ มาตรา 110 แห่งประมวล กฎหมายนี้ก็ได้
มาตรา 1678 เมื่อมูลนิธิใดซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมได้ตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้ว ให้ถือว่าทรัพย์สินซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจัดสรรไว้เพื่อการนั้น ตกเป็นของนิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล เว้นแต่จะมีข้อ กำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
2. กรณีมรดกตกทอดแก่แผ่นดิน ม.1753
มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน
ฎีกาที่ 1695/2531 (ประชุมใหญ่) กองมรดกที่ไม่มีทายาทนั้น แม้มรดกจะตกทอดแก่แผ่นดิน แผ่นดินก็มิใช่ทายาท เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้ได้จนกว่าจะได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น และหากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดเจ้าหนี้ก็ไม่มีทางได้รับชำระหนี้ได้เลย การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากกองมรดกขึ้นอยู่กับการที่กองมรดกมีผู้จัดการมรดก ในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ส่วนปัญหาที่ว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่นั้น แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้กองมรดกซึ่งตามปกติย่อมมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้มีส่วนได้เสียอื่นอีก และพนักงานอัยการมิได้คัดค้าน จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้




ทายาทโดยธรรม
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้ คือ
                   (1) ผู้สืบสันดาน
                   (2) บิดามารดา
                   (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
                   (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
                   (5) ปู่ ย่า ตา ยาย
                   (6) ลุง ป้า น้า อา
                   คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติ มาตรา 1635
(1) ผู้สืบสันดาน
ญาติสืบสายโลหิตโดยตรงลงไปของเจ้ามรดก คือ บุตร หลาน เหลน
มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้นบุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
หลักญาติสนิทตัดญาติห่าง
เว้นแต่...ทายาทตาม(1)และ(2) จะไม่ตัดซึ้งกันและกัน
มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทน ที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย
          แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใด ยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กันแล้วแต่กรณีและมีบิดามารดายังมีชีวิต อยู่ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร


พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
เจ้ามรดกมีเงินสด 5,000,000 บาท
มีบุตร 3 คน บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ มีพี่น้องร่วมบิดามาร ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
ถ้าเจ้ามรดกมีภริยา

ผู้สืบสันดาน
บุตร
บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(บุตรนอกกฎหมาย)
บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง
บิดาจดทะเบียนรับเป็นบุตร
ศาลพิพากษาเป็นบุตร

บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย(บุตรนอกกฎหมาย)
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
ความหมายของการ รับรองแล้ว การกระทำที่แสดงให้คนทั่ว ๆ ไปเข้าใจว่าเป็นลูก เช่นให้การเลี้ยงดู ให้การศึกษาตามสำควรแก่ฐานะ ดูแลรักษาพยาบาลดั่งลูก
ต้องเป็นบุตรตามสายโลหิตของบิดาด้วย หมายถึง ต้องเป็นลูกจากสายเลือดของบิดา เกิดมาโดยบิดาเป็นผู้ทำให้เกิด หากเป็นลูกคนอื่นแม้จะให้การรับรองอย่างไรก็ไม่ใช่บุตรนอกกฎหมาย
การรับรองตั้งแต่บุตรนอกกฎหมายตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา แม้ต่อมาบิดาตายก่อนที่เด็กนั้นจะคลอด หากต่อมาเด็กคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก เด็กก็เป็นทายาท เพราะบิดาได้รับรองแล้ว
*บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วมีสิทธิรับมรดกของบิดา
บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่รับรองบุตรหามีสิทธิรับมรดกของบุตรไม่
ฎีกาที่ 677/2538ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713

 ฎีกาที่ 1854/2551ผู้คัดค้านอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาของผู้ตายภายหลังจากที่มีการบังคับใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ดังนั้น แม้ผู้คัดค้านจะอุปการะเลี้ยงดูผู้ตายตลอดมาซึ่งทำให้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านรับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ก็ตาม แต่ผลของบทบัญญัติดังกล่าวก็เพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ด้วยไม่ ผู้คัดค้านจึงมิใช่ทายาทของผู้ตายหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายที่จะมีสิทธิคัดค้านการขอจัดการมรดกหรือร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

ฎีกาที่ 341/2502บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองตาม ม. 1627 นั้นย่อมหมายตลอดถึงทารกซึ่งยังอยู่ในครรภ์มารดาในขณะที่บิดาตาย มีสิทธิเป็นทายาทได้ ถ้าหากภายหลังได้เกิดและรอดอยู่ด้วย






*บุตรบุญธรรม
สิทธิของบุตรบุญธรรม
ในส่วนที่เป็นบุตรบุญธรรม
ในส่วนที่เป็นทายาท(ญาติ)
ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมหรือไม่
*บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้ตามมาตรา ๑๖๓๙
บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม และยังมีสิทธิรับมรดกของญาติบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมของญาติ แต่ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้ตามมาตรา ๑๖๓๙ เพราะบุตรของบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานโดยตรงของบุตรบุญธรรม
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๐/๒๔๙๔ บุตรบุญธรรมตายก่อนผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรของบุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่กันได้ตามสิทธิที่กฎหมายให้ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๖๓๙
*บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ของผู้รับบุญธรรม
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๗๓/๒๕๒๘ ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔๓ หมายถึง ผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม

(2) บิดา มารดา
บิดา
จดทะเบียนสมสรกับมารดา
ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา
มารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อา
ฎีกาที่ 2742/2545 การเป็นทายาทโดยธรรมในฐานะพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (4) นั้น ต้องถือความเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกันตามความเป็นจริง ผู้ร้องเป็นบุตรนาง น. ผู้ตายเป็นบุตรนาง ท. โดยมีนาย ท. เป็นบิดาเดียวกัน แม้ผู้ร้องและผู้ตายเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายของนาย ท. ก็ถือว่าผู้ร้องและผู้ตายเป็นพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ผู้ร้องจึงเป็นทายาทโดยธรรม

คู่สมรส
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติ มาตรา 1635
มาตรา 1628 สามีภริยาที่ร้างกันหรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาด จากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไปซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกัน และกัน
ข้อสังเกต คู่สมรสที่ยังไม่ได้อย่าขาดจากกันแต่แยกกันอยู่ แม้สามีจะมีภร
การเสียสิทธิในการเป็นทายาท
มาตรา 1599 วรรค 2
                    “ทายาทอาจเสียสิทธิในมรดกตามประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

1.       การเสียสิทธิในการเป็นทายาท
ก.       ตามปพพ.
1)ถูกกำจัดมิให้รับมรดกมาตรา 1605,1606
2)ถูกตัดมิให้รับมรดกมาตรา 1608
3)การสละมรดกของทายาทมาตรา 1612
4)สิทธิฟ้องคดีมรดกขาดอายุความมาตรา 1754
1)ถูกกำจัดมิให้รับมรดกมาตรา 1605,1606
( ก ) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเพราะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ( ม.1605 )
( ข ) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606
( ก ) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเพราะยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ( ม.1605 )
มาตรา 1605 “ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทาให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น
คาว่า ทายาทในมาตรานี้หมายถึงทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป
มาตรา 1605 วรรคสอง ยกเว้นไม่ให้ใช้บังคับกับเฉพาะผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง
หลักเกณฑ์ที่สาคัญ
          การถูกกำจัดฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
(1) ยักย้าย ปิดบัง ทรัยพ์มรดก
(2)โดยฉ้อฉล หรือรู้ว่าตนทาให้เสื่อมประโยชน์แก่ทายาทอื่น
ยักย้าย หมายถึง การเคลื่อนที่ โยกย้าย เปลี่ยนที่อยู่ รวมถึงการนำทรัพย์มรดกไปจากกองมรดกไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ
ปิดบัง หมายถึง การปิดไว้ กำบังไว้
ฉ้อฉล หมายถึง ทำด้วยเจตนาทุจริต
ฎ.1160/2497 ทายาทรับโอนโฉนดที่ดินมรดกโดยสุจริตว่าตนควรเป็นเจ้าของ ไม่มีเจตนาปิดบังยักยอกมรดก แม้จะเกินส่วนที่ควรได้ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ผลของการถูกกำจัด
(1) ถ้ายักย้ายหรือปิดบัง เท่ากับหรือมากกว่า ส่วนที่ตนจะได้รับ ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย(ฏ.478/2539,5382/2539)
(2) ถ้ายักย้ายหรือปิดบัง น้อยกว่า ส่วนที่ตนจะได้รับ ก็ถูกกำจัดมิให้รับมรดกเฉพาะส่วนที่ยักย้ายหรือปิดบังเท่านั้น
ข้อสังเกต
(1) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 เป็นการถูกกำจัดภายหลังเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ตามมาตรา 1639 ไม่ได้ แต่สืบสิทธิเสมือนทายาทนั้นตายแล้วตามมาตรา 1607 ได้
(2) คำว่า ทายาทตามมาตรานี้ หมายถึง ทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไปตามมาตรา 1603 ,1651 (1) โดยมิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างตามมาตรา 1651 (2)
พิจารณาตัวอย่าง
ก. เจ้ามรดกทาพินัยกรรมระบุว่า ให้ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 123 เป็นของ ข. บุตรคนโต ทรัพย์สินที่เหลือให้เป็นสิทธิของนาย ค. บุตรชายคนเล็ก
ใครเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป
ใครเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
พิจารณาตัวอย่าง
ก.เป็นผู้รับมรดกดาบทองฝักประดับเพชรตามพินัยกรรม และมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยคิดส่วนแบ่งเป็นเงิน 100,000 บาท ถ้า ก.ยักย้ายเอาทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม 160,000 บาท เกินกว่าส่วนที่ ก.จะได้ ก.ต้องถูกกาจัดมิให้ได้รับมรดกเลยตามมาตรา 1605 วรรคแรก แต่คงมีสิทธิได้รับดาบทองฝักประดับเพชรอันเป็นทรัพย์เฉพาะอย่างตามพินัยกรรมเท่านั้น
ข้อสังเกตเพิ่มเติม
ผู้ที่ถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605 หมายถึงทายาทของเจ้ามรดกในขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้สืบสิทธิของทายาทยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกจึงไม่ต้องถูกกำจัดตามมาตรานี้   (ฎ.3046/2539,1724/2545)
ดอกผลของทรัพย์มรดกที่เกิดขึ้นภายหลังเจ้ามรดกตาย ไม่เป็นทรัพย์มรดก ดังนั้น การที่ทายาทปิดบังหรือยักย้าย จึงไม่ถูกกาจัดมิให้รับมรดก(ฎ.678-80/2535)

แนวคำพิพากษาฎีกา
การที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกไปขอรับมรดกโดยไม่แจ้งว่ายังมีทายาทอื่นอีกหรือไม่แจ้งให้ทายาทอื่นทราบ ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรด(ฎ 1239/2506, 433/2528, 3250/2537, 5567/2540, 7203/2544)
ฎีกาที่ 1239/2506 การที่ทายาทคนหนึ่งไปขอประกาศรับมรดกโดยไม่ระบุในบัญชีเครือญาติว่ายังมีบุคคลอื่นเป็นทายาทอยู่อีกนั้น ไม่ใช่การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
การที่ทายาทโดยธรรมเบิกความในคดีขอจัดการมรดกว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์สินเพียงเท่าที่เบิกความถึง แต่ความจริงมีมากกว่า ยังไม่พอฟังว่าปิดบังทรัพย์มรดก
ฎีกาที่ 1357/2543 การที่ทายาทโดยธรรมเบิกความในคดีที่ขอให้ศาลมีคาสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความถึง แต่ความจริงมีมากกว่านั้น ยังไม่พอถือว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ( ในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกประเด็นแห่งคดีมีว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนทรัพย์มรดกมีมากน้อยเท่าใดไม่ใช่ข้อสาคัญ ฎ.9/2518 )
แนวฎีกากรณีทายาทถูกกำจัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1605
ฎีกาที่ 4164/2532 จาเลยเป็นภริยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อ อ. ตาย ศาลมีคาสั่งตั้งจาเลยเป็นผู้จัดการมรดก จาเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็น ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก ต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะทายาท โดยให้ถ้อยคาต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่าจำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นไม่มี ทั้งที่จำเลยก็ทราบดีว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมอีกคนหนึ่ง เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้จำเลย ส่วนทรัพย์มรดกอื่นจำเลยก็ปฏิเสธตลอดมาว่าไม่ใช่ของ อ. ถือได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ด้วยฉ้อฉล หรือรู้อยู่ว่าตนทาให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งแจ้งแก่ทายาทคนอื่นว่าผู้ตายได้โอนทรัพย์มรดกไปแล้วในขณะมีชิวิตอยู่ ซึ่งไม่เป็นความจริง แล้วทายาทคนที่แจ้งนั้นโอนทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก(ฎ.2062/2492)
การยื่นคาร้องขอให้ศาลมีคาสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 อันเป็นความเท็จ ถือว่าเป็นการยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดก(ฎ.478/2539)
ทายาทไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียว และโอนให้แก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก(ฎ.5382-3/2539)
( ข ) การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606
มาตรา 1606 บุคคลดังต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
ข้อสังเกต
1.       บุคคลที่ถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรานี้อาจเป็นทายาทโดยธรรม ผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป หรือผู้รับพินัยกรรมเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่างก็ได้ เพราะ ม.1606 ไม่มีข้อยกเว้นไว้
2.       มาตรา 1606 การกำจัดอาจเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตาย
a.       กรณีอาจเกิดก่อนคือมาตรา 1606(1),(2),(3),(5)
b.       กรณีอาจเกิดหลังคือมาตรา 1606(1),(3),(5)
 (1) ผู้ที่ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำหรือพยายามกระทาให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
ต้องเป็นการกระทำโดยเจตนา เท่านั้น
ถ้ากระทำโดยไม่เจตนา หรือประมาท
กระทำโดยพลาดตามปอ.มาตรา 60 หรือกระทำโดยสาคัญผิดมาตรา 61
ถ้าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกม.เช่นการป้องกันโดยชอบด้วยกม.ปอ.68
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน
การฆ่าหรือพยายามฆ่าตามมาตรา 1606 (1) ไม่จำต้องมีมูลเหตุจูงใจเพราะเรื่องมรดกเท่านั้น แม้กระทำโดยสาเหตุอื่น
ผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตน หมายถึง ผู้รับพินัยกรรมด้วย
ผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ฆ่าทายาทที่ตนจะรับมรดกแทนที่
2) ผู้ที่ฟ้องเจ้ามรดกหาว่ากระทำความผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทำพยานเท็จ
การฟ้องตาม มาตรา 1606 (2) ทายาทต้องยื่นฟ้องเอง
จะต้องมีคาพิพากษาถึงที่สุดว่าทายาทผู้ฟ้องนั้นมีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือทาพยานเท็จตามปอ.มาตรา 175 หรือ 179
          (3) ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาแต่มิได้นาข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาผู้กระทาผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุไม่ครบ 16 ปี บริบูรณ์หรือเป็นคนวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบหรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือบุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
ร้องเรียน หมายถึงการแจ้งความ ร้องทุกข์ การกล่าวโทษหรือให้การเป็นพยานถึงข้อเท็จจริงเท่าที่ตนรู้เห็นมาทั้งหมด
เว้นแต่
บุคคลนั้นมีอายุไม่ครบ 16 ปี บริบูรณ์หรือ
เป็นคนวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบหรือ
ถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือบุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
 (4) ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทาหรือเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทาการดังกล่าว
ตัวอย่าง ฉ้อฉลโดยให้เจ้ามรดกพิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารพินัยกรรม(ฎ.1642-3/2530)
ฎ. 1642-3/2530 จำเลยเป็นผู้ฉ้อฉลโดยให้เจ้ามรดกพิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารพินัยกรรม จาเลยจึงถูกกาจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามมาตรา 1606(4) จาเลยจึงเป็นผู้ที่ไม่สมควรที่จะเป็นผู้จัดการมรดก
(5) ผู้ที่ปลอม ทาลาย หรือปิดบังพินัยกรรมทั้งหมดหรือบางส่วน
ปลอม แปลว่า ทาเทียมของจริง
ทำลาย แปลวา ทาให้หมดสิ้นไป
ปิด แปลว่า กันไม่ให้เผยออก
บัง แปลว่า กันไว้โดยทุจริต
ฎ.299/2516  โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมของป. เจ้ามรดก ขอให้ลงโทษ แต่โจทก์เองก็ถูกฟ้องว่าปลอมพินัยกรรมของป. เหมือนกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษโจทก์ฐานปลอมพินัยกรรม คดีถึงที่สุด ดังนี้ โจทก์จึงตกเป็นบุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของป. ตามมาตรา 1606(5) โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะมีสิทธิฟ้องจำเลยได้ ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้โดยไม่ต้องไต่สวนมูลฟ้อง

การถอนข้อจำกัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร
เจ้ามรดกอาจถอนข้อจากัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ผลของการถูกกำจัดมิให้รับมรดก(มาตรา 1607 การสืบมรดก)
มาตรา 1607 การถูกกาจัดมิให้รับมรดนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกาจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินที่ผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ ทายาทที่ว่านั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ในบรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกม.นี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้มาตรา 1548 บังคับใช้โดยอนุโลม
ข้อสังเกต
1) สืบมรดก หมายถึงการสืบต่อซึ่งทรัพย์มรดก
2) การถูกกาจัดมิให้รับมรดกอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายก็ได้
*ในกรณีที่ทายาทถูกกาจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกาจัดเข้ารับมรดกแทนที่ทายาทที่ถูกกาจัดได้ตามมาตรา 1639
แต่เมื่อมาตรา 1607 บัญญัติให้สืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว ซึ่งมีความหมายว่าผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถูกกาจัดมีสิทธิรับมรดกในส่วนของทายาทผู้ถูกกาจัดเหมือนหนึ่งว่าทายาทผู้ถูกกาจัดตายแล้ว จึงเป็นข้อยกเว้นมาตรา 1639
ข้อสังเกต
ปพพ.มาตรา 1607 ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1639 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาทผู้ถูกกำจัดจึงสืบมรดกต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้วตามมาตรา 1607





การตัดมิให้รับมรดก
(Disinheritance)
ม.1608-1609
การเสียสิทธิในการรับมรดก
ความแตกต่างของ
การถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก
การถูกตัดมิให้รับมรดก
การสละมรดก
การตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับ มรดกก็ได้แต่ด้วยแสดงเจตนาชัดแจ้ง
                   (1) โดยพินัยกรรม
                   (2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
          ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
          แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดาทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็น ผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
การตัดมิให้รับมรดก
เหตุใดเจ้ามรดกจึงต้องการตัดมิให้ทายาทรับมรดกของตน
การตัดมิให้รับมรดกนั้นเกิดขึ้นกับทายาทประเภทใดได้บ้าง

ประเภทของการตัดมิให้รับมรดก
การตัดมิให้รับมรดกโดยชัดแจ้ง
ม.1608 วรรค แรก
การตัดมิให้รับมรดกโดยปริยาย
มาตรา 1608 วรรคท้าย
วิธีการตัดมิให้รับมรดก
(1) โดยพินัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(1) การตัดมิให้รับมรดกโดยพินัยกรรม
ต้องเขียนไว้ให้ชัดเจน ไม่เคลือบคลุม
พินัยกรรมต้องสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ต้องเป็นพินัยกรรมฉบับท้ายสุด
(2) การตัดมิให้รับมรดกโดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
มอบไว้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่
จะตัดทารกที่อยู่ครรภ์มารดาไม่ให้รับมรดกได้หรือไม่
การถอนการตัดมิให้รับมรดก
มาตรา 1609 การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้น จะถอนเสียก็ได้
          ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรม จะถอนเสียได้ก็แต่ โดยพินัยกรรมเท่านั้น แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งบัญญัติ ไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้

วิธีการถอนการตัดไม่ให้รับมรดก
1) การตัดไม่ให้รับมรดกนั้นทำได้โดยพินัยกรรม
2)การตัดไม่ให้รับมรดกโดยการทำเป็นหนังสือมอบไว้แกเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
ฏ.5120/2539 มาตรา 1608 ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน แต่ข้อความในพินัยกรรมมิได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่าตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกและเมื่อผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากทรัพย์มรดกที่ยกให้แก่ บ.ตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรม มีสิทธิร้องคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการของผู้ตายได้

การทำโดยเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีผลทันทีเมื่อได้ทำโดยถูกต้องตามกม.มิใช่มีผลต่อเมื่อเจ้ามรดกตาย เพราะหนังสือตัดทายาทโดยธรรมไม่ใช่พินัยกรรม
ฎ.178/2520 ส.ทำหนังสือตัดมิให้ ท.ซึ่งเป็นบุตร ส.ได้รับมรดก ส. โดยปลัดอำเภอออกไปทำให้ที่บ้านในวันหยุดราชการ เมื่อไม่มีกม.บังคับไว้โดยตรงหรือโดยปริยายว่าให้ต้องทำในสถานที่ราชการเท่านั้น และไม่มีกม.มิให้ปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ หนังสือตัดมรดกนี้ใช้บังคับได้

ฎ.1188/2482 การที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมตัดบุตรมิให้รับมรดกนั้น ไม่มีบทกม.ใดให้ถือว่าบุตรนั้นได้ตายแล้ว หลานย่อมไม่มีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่
ฎ.178/2520  การที่ผู้สืบสันดานจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทมีอยู่ 2 กรณีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1639 และไม่มีบทกม.มาตราใดบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้สืบสันดานที่จะเข้าแทนที่การรับมรดกของทายาทโดยธรรมที่ถูกตัดมรดก เมื่อ ท.(ทายาทโดยธรรม) ตายก่อน ส.(เจ้ามรดก) จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ท.จะเข้ารับมรดก ส.แทนที่ ท.ไม่ได้
ฎ.527/2540 พินัยกรรมของ พ.มีข้อความว่าเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียว คำว่า ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้า แสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียว แม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจงรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้ เมื่อ พ.ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้ว จึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1608 วรรคสอง

ฎ.3254/2533 แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกม. แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ฎีกาที่ 7200/2540 แม้จำเลยจะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นทั้งหมดโดยจำเลยไม่ได้รับมรดกเลย จึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1608 วรรคท้าย ไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ยกอายุความ 1 ปีตามมาตรา 1755 มาใช้ยันต่อ จ.ผู้รับพินัยกรรมและโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของจ .ได้ บุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาท เช่น ผู้สืบสิทธิของทายาท หรือผู้รับโอนทรัพย์มรดกจากทายาท

ฎีกาที่ 43/2492 (ประชุมใหญ่) ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่คนอื่นแต่ผู้เดียว ทายาทโดยธรรมจึงถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1608 วรรคท้าย ฉะนั้น ทายาทโดยธรรมจึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นทายาทตามมาตรา 1755 จะยกอายุความตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้กับผู้รับพินัยกรรมไม่ได้

ฎ.1516/2503 เมื่อเจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท แต่ทายาทอาจเสียสิทธิในมรดกได้ตามกม. เจ้าของที่ดินทำพินัยกรรมยกที่ให้วัด โดยระบุให้ยายและมารดามีสิทธิเก็บกินตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของที่ดินตายแล้ว วัดมิได้ใช้สิทธิแก่ที่ดินนี้ประการใด ปล่อยให้มารดาของเจ้ามรดกครอบครองที่ดินและจดทะเบียนโอนรับมรดกเป็นของตนด้วย ซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 ปีแล้ว ดังนี้ เมื่อปรากฏว่ามารดาของเจ้ามรดกก็ได้รับประโยชน์ตามพินัยกรรมอยู่ด้วย มิได้ถูกตัดมิให้รับมรดก สิทธิเรียกร้องของวัดในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมจึงขาดอายุความไปแล้วตามมาตรา 1754 วรรคท้าย ผู้สืบสิทธิของมารดาเจ้ามรดกย่อมยกอายุความดังกล่าวต่อสู้วัดได้

ฎ.3254/2533 แม้ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายและเป็นผู้ไม่ต้องห้ามตามกม. แต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านแล้ว ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามมาตรา 1608 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย








การสละมรดก
Renunciation of an Estate
การสละมรดก
มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้
          การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้
หลักการสำคัญของการสละมรดก
เป็นการเสียสิทธิในการรับมรดก
การสละมรดกเป็นสิทธิของทายาท
การสละมรดกเป็นการแสดงเจตนาของทายาท
การสละมรดกจะสละใหบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจงให้ใครไม่ได้
การสละมรดกจะสละก่อนเจ้ามรดกตายไม่ได้
การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 2049/2517 การที่ผู้ร้องเจาะจงสละที่ดินมรดกส่วนของผู้ร้องให้จำเลยโดยเฉพาะ    ไม่ใช่การสละมรดกตามความในมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์   แต่การที่ผู้ร้องและจำเลยตกลงกันโดยเป็นหนังสือลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝ่าย     ให้จำเลยเป็นผู้ใช้หนี้ของเจ้ามรดกแก่โจทก์และผู้ร้องยอมสละที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลย    และเมื่อผู้ร้องยอมสละส่วนมรดกของตนให้จำเลย เช่นนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความใช้บังคับได้ และเมื่อผู้ร้องยอมลสละส่วนมรดกของตนให้จำเลยไปแล้วจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้


บุคคลที่มีสิทธิสละมรดก
ทายาทที่มีสิทธิสละมรดก
ทายาทโดยธรรม
ทายาทผู้รับพินัยกรรม
ต้องเป็นทายาทที่มีสิทธิรับมรดกด้วย

วิธีการสละมรดก
มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
1) ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
2) ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือ มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ฎีกาที่ 1610/2513 โจทก์กับจำเลยถูก ต. ฟ้องขอแบ่งมรดกแล้วโจทก์ทำหนังสือมอบให้จำเลยไว้มีใจความว่า โจทก์ขอสละมรดกเพราะไม่ต้องการไปศาลเนื่องจากสุขภาพไม่ดี และไม่มีเงินทองสู้คดี ให้จำเลยออกเงินและสู้คดีไปโดยลำพัง ดังนี้ ไม่มีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 เพราะโจทก์มิได้มอบหนังสือนั้นไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งหนังสือนั้นเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกของโจทก์ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย






เมื่อสละมรดกแล้วจะถอนไม่ได้
มาตรา 1613 วรรค 2
          “การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้
เพราะเหตุใดเมื่อสละมรดกแล้วจึงถอนการสละไม่ได้???

ผลของการสละมรดก
มรดกในส่วนของทายาทที่สละนั้น กลับมาเป็นกองมรดก
ทายาทโดยธรรมสละมรดก
ทายาทผู้รับพินัยกรรมสละมรดก
หากเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทั้งสองฐานะ จะสละฐานะใดฐานะหนึ่งได้หรือไม่ อย่างไร???
กรณีผู้รับพินัยกรรมไม่เป็นทายาทโดยธรรมด้วย
กรณีผู้รับพินัยกรรมเป็นทายาทโดยธรรมด้วย
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย และผู้สืบสันดานของทายาทผู้สละมรดกมีสิททธิสืบมรดกแทนได้
มาตรา 1615 การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้า มรดกตาย
          เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละ มรดกนั้นจะได้รับแต่ผู้สืบสันดานนั้น ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์ในนามของผู้สืบสันดานนั้น
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย และผู้สืบสันดานของทายาทผู้สละมรดกมีสิททธิสืบมรดกแทนได้


การที่ทายาทสละมรดกนั้น มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้า มรดกตาย
เพราะเหตุใดกฎหมายจึงบัญญัติให้การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกตาย???
ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละ มรดกนั้น
การสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย และผู้สืบสันดานของทายาทผู้สละมรดกมีสิททธิสืบมรดกแทนได้
การสืบมรดก ตาม ม.1615 มีความแตกต่างอย่างไรกับการรับมรดกแทน???
ผู้รับพินัยกรรมสละมรดก
มาตรา 1617 ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้นั้นรวมตลอดทั้ง ผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้สละแล้วนั้น
ผู้รับพินัยกรรม
ผู้สืบสันดานของผู้รับพินัยกรรม
กรณีทายาทโดยธรรมไม่มีผู้สืบสันดาน หรือผู้รับพินัยกรรมสละมรดก
มาตรา 1618 ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป
ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดาน
ผู้รับพินัยกรรมได้สละมรดก
ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ ได้สละมรดกนั้น ๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป




การสละมรดกในอนาคต
มาตรา 1619 ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใดซึ่งสิทธิ อันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้
เพราะเหตุใดกฎหมายจึงห้าม???
จะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิ อันหากจะมีในภายหน้า
ในการสืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
คำพิพากษาฎีกาที่ 466/2505 การสละมรดกก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นการขัดต่อมาตรา 1619 ย่อมเสียไปและไม่มีทางแสดงเจตนาให้กลับมีผลขึ้นได้อีกอย่างไร ถ้าหากภายหลังที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วยังมีความตั้งใจสละมรดกอยู่เช่นเดิม ก็ต้องมีการแสดงเจตนาใหม่ให้ถูกต้องตามวิธีการตามมาตรา 1612 อีกชั้นหนึ่งจึงจะผูกพัน
คำพิพากษาฎีกาที่    2167/2518 ผู้ร้องกับ ป.ทำสัญญากันไว้ว่า ผู้ร้องไม่ขอเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของ ป.สละสิทธิทุกอย่างที่มีสิทธิจะพึงได้ ดังนี้ มิใช่เป็นการสละมรดก ซึ่งจะทำได้ต่อเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว
การสละมรดกของบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 1611 ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่งมาตรา 32 แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณีและได้รับอนุมัติจากศาลแล้วคือ
          (1) สละมรดก
          (2) รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข
การสละมรดกของบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
หากไม่ปฎิบัติตาม ม.1611 จะมีผลอย่างไร???
บุคคลวิกลจริต หมายความรวมถึงคนไรความสามารถที่ศาลได้มีคำสั่งแล้วหรือไม่ ???
บุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้ตามความหมายแห่งมาตรา 32 หมายความรวมถึงบุคคลเสมือนไร้ความสามารถด้วยหรือไม่???
วัดสละมรดกได้หรือไม่
กรณีวัดได้รับทรัพย์สินมาเนื่องจากภิกษุถึงแก่มรระภาพ ตาม ม.1623
วัดได้รับทรัพย์มาตามพินัยกรรมของผู้ตาย วัดสละมรดกได้หรือไม่
แผ่นดินสละมรดกได้หรือไม่
มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อ บุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน

สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
สิทธิทายาทโดยธรรมรับมรดกนอกพินัยกรรมหรือพินัยกรรมที่ไม่มีผลบังคับ
มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
          ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

กรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือไร้ผลทั้งหมด
ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือ
ทำพินัยกรรมไว้แต่ไม่มีผลบังคับได้
ให้ปันทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย



คำพิพากษาฎีกาที่ 6595/2538 พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ทำขึ้นมาตรา 1703 เป็นต้น ดังนี้ การแบ่งปันทรัพย์มรดก ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกจึงต้องแบ่งปันให้แก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 เช่น ก.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่ ข. แต่ ข.ตายก่อน ก. ต่อมา ก.ตาย ดังนี้ ต้องแบ่งปันมรดกของ ก. ให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกม.ของ ก.ต่อไปตามมาตรา 1620 วรรคแรก ,
กรณีที่พินัยกรรมมีผลบังคับบางส่วน
ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือ มีผลบังคับได้แต่เพียงบางส่วน
ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมหรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มีผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

การรับพินัยกรรมไม่ทำให้เสียสิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรมอีก
มาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัย กรรมเป็นอย่างอื่น แม้ทายาทโดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่ง อย่างใดตามพินัยกรรม ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาส่วนโดย ธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจน เต็มอีกก็ได้
ตัวอย่าง
เจ้ามรดกมีบุตรสองคน ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านให้บุตรคนโต และมีทรัพย์นอกพินัยกรรมเป็นเงินอีก 2,000,000 บาท ดังนี้ บุตรคนโตนอกจากได้ที่ดินและบ้านตามพินัยกรรมแล้ว ยังมีสิทธิได้ส่วนแบ่งในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 (1) ,1633 สำหรับทรัพย์นอกพินัยกรรมร่วมกับบุตรคนรองคนละกึ่งหนึ่งเป็นเงิน 1,000,000 บาท ด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ 815/2492พินัยกรรมยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่บุคคลสองคนให้ได้คนละครึ่งและระบุว่าคนอื่นจะเรียกร้องขอแบ่งปันทรัพย์นั้นไม่ได้นั้น เมื่อปรากฏว่าผู้รับพินัยกรรมคนหนึ่งตายผู้ทำพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกให้คนที่ตายย่อมตกไปตามมาตรา 1698(1) และต้องบังคับตามมาตรา 1699 วรรคสอง กล่าวคือ มรดกส่วนที่ยกให้คนที่ตายนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ทำพินัยกรรม ไม่ใช่ตกทอดแก่ผู้รับพินัยกรรมอีกคนหนึ่งทั้งหมด

สิทธิในการรับมรดกของภิกษุ
มาตรา 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้อง ภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754
          แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
เรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่ เป็นทายาทโดยธรรม
เหตุใดที่กฎหมายจึงบัญญัติให้สึกออกจากสมณเพศก่อน
หากฝ่ายภิกษุถูกฟ้องเสียเองจะต้องสึกหรือไม่
เฉพาะคดีฟ้องเรียกเอามรดกเท่านั้น
พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรม
พระภิกษุต้องสึกหรือไม่
ทรัพย์สินของภิกษุ
มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่าย ไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใด ตามกฎหมายก็ได้
ข้อพิจารณา
ภิกษุนั้นจะต้องถึงแก่มรณภาพขณะเป็นสมณเพศอยู่
ทรัพย์สินที่ภิกษุได้มาก่อนบวช ตกแก่ทายาทของพระภิกษุ
ทายาทโดยธรรมหรือทายาทผู้รับพินัยกรรม


ทรัพย์สินที่ภิกษุได้มาระหว่างอยู่ในสมณเพศ
กรณีทำพินัยกรรมไว้
ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1816/2542  ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ ถึงแก่มรณภาพตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส.จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดก ให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทในฐานะ ผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วมแม้โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หากจำเลยที่ 2ได้นำที่พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์

คำพิพากษาฎีกาที่ 1175/2508 คนตายได้ทำพินัยกรรมยกศพของตนให้แก่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งในขณะนั้นก็คือมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ แต่พอถึงเวลา โรงพยาบาลศิริราชไปขอรับศพเพื่อไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้ตายที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม ญาติพี่น้องไม่ยอม ไม่อยากให้คนเอาศพของบรรพบุรุษไปผ่าไปเฉือน เขาต้องการจัดการศพตามประเพณี ผู้ตายในคดีนี้นับถือศาสนาคริสต์ ก็คือต้องการเอาไปฝัง ทางโรงพยาบาลศิริราชเขาก็อ้างพินัยกรรม ทางด้านทายาทก็มาฟ้องศาล ในการมาฟ้องศาลทายาทตั้งรูปคดีอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 เป็นหลัก ที่บอกว่ากองมรดกหมายรวมถึงทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย แต่ว่าทางโจทก์หรือทายาทของผู้ตายถือว่าศพไม่ใช่เป็นทรัพย์ เมื่อศพไม่ใช่เป็นทรัพย์ก็ไม่ได้เป็นมรดกที่คนอื่นจะเอาไปได้ตามพินัยกรรม แต่ในเรื่องของศพมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 1649 เกี่ยวกับการจัดการทำศพว่าใครเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพบ้าง แต่ในพินัยกรรมเขามิได้ระบุคนจัดการศพ กำหนดแต่เพียงอุทิศศพให้โรงพยาบาลศิริราช เพราะฉะนั้นทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 เป็นผู้มีหน้าที่จัดการศพของผู้ตาย ทายาทก็อาศัยอำนาจตามมาตรานี้อ้างเพื่อเอาศพไว้ ศาลฎีกาไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ว่า ศพเป็นทรัพย์สินหรือว่าเป็นมรดก แต่ศาลฎีกาได้เลือกข้อกฎหมายอีกข้อหนึ่งในเรื่องของพินัยกรรม ตามมาตรา 1646 “ที่บัญญัติว่าบุคคลใดจะแสดงเจตนากำหนดการโดยพินัยกรรม กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อตนตายก็ได้ศาลฎีกาก็บอกว่าคนตายเขากำหนดว่าจะให้จัดการศพเขาอย่างไร คือให้โรงพยาบาลศิริราชเอาไปใช้เป็นอาจารย์ใหญ่เพื่อประโยชน์ในการศึกษานิสิตแพทย์เพราะไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อกำหนดพินัยกรรมนี้ใช้ได้โดยทางศิริราชก็มีสิทธิเอาศพไปใช้เป็นอาจารย์ใหญ่ได้ ถือว่าเป็นไปตามพินัยกรรม ลูกหลานจะเอาศพคืนไม่ได้

การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1632 “ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้าย การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน ส่วนที่ 1 แห่งหมวดนี้
ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้าย

การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรม
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
มาตรา 1633 ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 นั้นชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าใน ลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629  ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
ถ้าใน ลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด



มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่ง ของสายหนึ่ง ๆ ตามบทบัญญัติในลักษณะ  2 หมวด 4 นั้นให้ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้
          (1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่ โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
          (2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
          (3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันใน
ตามบทบัญญัติในลักษณะ 2 หมวด 4
การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท โดยธรรมในลำดับและชั้นต่าง ๆ
(1) ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุด เท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่ โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
(2) ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
(3) ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิ ได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด
คู่สมรส
มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการ รับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่งต่อไปนี้
          (1) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับ มรดกแทนที่แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้ส่วนแบ่ง เสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
          (2) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มี ทายาทตาม มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
          (3) ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้น ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม
          (4) ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมี ชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

พิจารณาตัวอย่าง
นายแดงเจ้ามรดก มีกองมรดกเป็นทรัพย์สิน 3 ล้านบาท ขณะถึงแก่ความตายนายแดง มีทายาทดังนี้ มีบุตร 2 คน และภริยา 1 คน
ให้นิสิตแบ่งกองมรดกของนายแดงแก่ทายาท

พิจารณาตัวอย่าง
นายแดงเจ้ามรดก มีกองมรดกเป็นทรัพย์สิน 3 ล้านบาท นายแดงมีภริยา 1 คน และบุตร 2 คน คือนายดำกับนายขาว แต่นายดำลูกชายคนที่ 1 เสียชีวิตไปก่อนนายแดง โดยที่ไม่มีผู้สืบสันดาน
ดังนี้ให้นิสิตแบ่งกองมรดกของนายแดงแก่ทายาท

พิจารณาตัวอย่าง
นายแดงเจ้ามรดก มีกองมรดกเป็นทรัพย์สิน 5 ล้านบาท ขณะถึงแก่ความตายนายแดง มีทายาทดังนี้ มีบุตร 2 คน และภริยา 1 คน และบิดามารดาของนายแดงก็ยังมีชีวิตอยู่
ดังนี้ให้นิสิตแบ่งกองมรดกของนายแดงแก่ทายาท

พิจารณาตัวอย่าง
นายแดงเจ้ามรดก มีกองมรดกเป็นทรัพย์สิน 5 ล้านบาท ขณะถึงแก่ความตายนายแดง มีทายาทดังนี้ มีภริยา 1 คน และบิดามารดาของนายแดงก็ยังมีชีวิตอยู่ และพี่สาว 1 คน และน้องชายอีก 1 คน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับนางแดง
ดังนี้ให้นิสิตแบ่งกองมรดกของนายแดงแก่ทายาท




พิจารณาตัวอย่าง
นายแดงเจ้ามรดก มีกองมรดกเป็นทรัพย์สิน 5 ล้านบาท ขณะถึงแก่ความตายนายแดง มีทายาทดังนี้ มีภริยา 1 คน และพี่สาว 1 คน และน้องชายอีก 1 คน ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมแต่บิดากับนายแดง
ให้นิสิตแบ่งกองมรดกของนายแดงแก่ทายาทโดยธรรม

การรับมรดกแทนที่
มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตายถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
มาตรา 1640 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้


การรับมรดกแทนที่
ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อน เจ้ามรดกตาย
ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่
ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัด มิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับ มรดกแทนที่
และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคล เป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

คำพิพากษาฎีกาที่   436/2518 บิดาโจทก์กับจำเลยเป็นบุตรเจ้ามรดก โจทก์รับมรดกแทนที่บิดาโจทก์
                   โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ   บ.บุตร ป.เจ้ามรดก บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาเล่าเรียน ถือได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ บ.บิดาได้รับรองแล้ว รับมรดก ป.แทนที่ บ.ได้
*คำพิพากษาฎีกาที่ 2307/2527 โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.และบ.เป็นผู้แจ้งการเกิดโดยระบุในสูติบัตรว่าบ.เป็นบิดา และระบุว่าโจทก์มีชื่อสกุลของ บ. รับเลี้ยงดูจน บ.ถึงแก่กรรม ดังนี้ ถือได้ว่า บ.รับรองว่าโจทก์เป็นบุตร โจทก์จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ   บ.ตาม ป.พ.พ.ม.1627 และมีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกของ   ก.มารดา บ. เมื่อ บ.ถึงแต่กรรมก่อน ก.โจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาของ บ.จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้ตาม ม.1639   

บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ ของผู้รับบุตรบุตรบุญธรรมหรือไม่
นายแดง มีบุตร 2 คน คือนาย จันทร์กับอังคาร นายจันทร์รับนาย A เป็นบุตรบุญธรรม ต่อมานายจันทร์ตายก่อนนางแดง ดังนี้เมื่อนายแดงตายแล้ว นาย A จะรับมรดกแทนที่ของนายจันทร์ได้หรือไม่ อย่างไร
บุตรของบุตรบุญธรรมจะรับมรดกแทนที่กรณีที่ บุตรบุญธรรมตายก่อนเจ้ามรดกได้หรือไม่
นายแดงมีบุตร 1 คน คือนายจันทร์ และยังรับนายอังคารเป็นบุตรบุญธรรมอีกด้วย นายอังคารตายก่อนนายแดง นาย A ซึ่งเป็นบุตรของนายอังคารจะรับมรดกแทนที่นายอังคารได้หรือไม่

ข้อห้ามไม่ให้มีการรับ มรดกแทนที่
มาตรา 1641 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้ แก่ทายาทนั้นเท่านั้นห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

มาตรา 1642 การรับมรดกแทนที่กันนั้น ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่าง ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรม
ผู้รับพินัยกรรม
ข้อห้ามไม่ให้มีการรับมรดกแทนที่
มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบ สันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่
เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง
ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่งนั้นไม่
สรุปบุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
1. ผู้บุพการีของเจ้ามรดก
2. ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
3. ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของผู้นั้นไม่มีสิทธิ
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย บุตรบุญธรรมไม่มีสิทธรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม


No comments:

Post a Comment