Tuesday 5 February 2013

แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับละเมิด




               แนวความคิดเกี่ยวกับการละเมิดนั้นได้ก่อกำเนิดขึ้นมาเป็นเวลานานในยุคเริ่มแรกนั้นความหมายของละเมิดอาจจะมีความแตกต่างจากปัจจุบัน โดยเฉพาะความมุ่งหมายที่ในปัจจุบันนั้นมุ่งเยียวยาผู้เสียหายให้เสมือนความเสียหายไม่ได้เกิดขึ้นเลย[1] ในยุคโรมันนั้นการละเมิด คือหนี้ที่เกิดการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่ได้มีการแยกความรับผิดว่า เป็นความรับผิดทางแพ่งหรือทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันได้มีการแบ่งแยกความรับผิดทางแพ่งและความรับผิดทางอาญาออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายแพ่งและอาญานั้นต่างกัน[2] โดยความรับผิดทางแพ่งที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คือ ละเมิด และด้วยการละเมิดนี้เองเป็นการทำให้เกิดหนี้ที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ถูกละเมิด

                   การกระทำที่จะทำให้เกิดละเมิดบุคคลอื่นได้นั้น ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำ และอยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ ที่ผู้กระทำจะเคลื่อนไหว หรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายของตน การคิดหรือเพียงแต่ตัดสินใจยังไม่ถือเป็นการกระทำ เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจ ตราบใดที่ยังไม่ได้กระทำตามที่คิดที่ตัดสินใจไว้ ก็ถือว่ายังไม่มีการกระทำ การกระทำที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับจิตใจไม่อาจจะเรียกว่ามีการกระทำได้ การกระทำของเด็กทารก การเคลื่อนไหวร่างกายนั้นเกิดจากความไร้เดียงสาไม่อาจจะเรียกว่าเคลื่อนไหวร่างกายภายใต้บังคับของจิตใจ หรือการเคลื่อนไหวเพราะเกิดจากการเจ็บป่วย ละเมอ เป็นการเคลื่อนไหวโดยไร้สติไม่เป็นการกระทำ แต่คนที่มีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือมีจิตฟั่นเฟืองแม้ในทางอาญาจะเป็นเหตุยกเว้นโทษ แต่ในทางแพ่งหากกระทำในขณะที่รู้สำนึกในการกระทำก็ต้องรับผิดในการละเมิด[4]
                   ส่วนการกระทำโดยประมาทนั้น หมายถึงการกระทำโดยไม่ใช่ความระมัดระวังให้เพียงพอ ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้วบุคคลเช่นนั้นอาจใช้ความระมัดระวังได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ และจะต้องไม่ใช่การกระทำโดยตั้งใจหรือเล็งเห็นผล[7] ซึ่งความรับผิดที่เกิดจากการกระทำโดยประมาทนั้นกฎหมายไม่ได้บัญญัติระดับของความประมาทไว้ ว่ากระทำประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นความประมาทเลินเล่อในระดับใดก็เป็นการกระทำอันเป็นละเมิดได้ทั้งนั้น แต่ในส่วนของความระมัดระวังนั้นหากบุคคลใดมีอาชีพในการทำงานนั้น ๆ จะต้องใช้ความระมัดอย่างผู้มีอาชีพ จะใช้ความระมัดระวังอย่างเช่นวิญญูชนที่ไม่ได้ทำอาชีพอย่างตนเองไม่ได้
                   ความรับผิดในการละเมิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อนั้น ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นด้วย หากไม่เกิดความเสียหาย ความรับผิดในการละเมิดก็ไม่อาจมีได้ ความเสียหายต่อผู้อื่นนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 “...ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่า ผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่นนั้น อาจเป็น ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่กฎหมายในเรื่องละเมิดต้องการคุ้มครองให้กับบุคคลทุกคน ไม่ให้มีผู้มีผู้ใดมาทำอันตราย และหากฝ่าฝืน จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน







                   ทฤษฎีรับภัย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎีรับภัยที่สร้างขึ้น (Theorie du risqueree) ถือว่า เมื่อมนุษย์ได้กระทำการใด ๆ แล้วย่อมเป็นการเสี่ยงภัย คือ อาจมีผลดีหรือผลร้ายก็ได้ ผู้กระทำก็ต้องรับผลแห่งการเสี่ยงภัยนั้น ถ้ามีภัยหรือความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการนำเอาหลักความผิด ออกจากหลักเกณฑ์ละเมิด กล่าวคือ นอกจากไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์แห่งการเยียวยาตามกฎหมายแพ่ง และไม่มีขอบเขตกำหนดโดยกฎหมายแล้วยังไม่เปิดโอกาสให้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาความรับผิดด้วยความยุติธรรมอันเป็นเกณฑ์พื้นฐานของความรับผิดอีกด้วย ทฤษฏีนี้มีส่วนดีในเรื่องการคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำกว่าผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย
                   จากแต่เดิมนั้นถือกันว่าความรับผิดในการละเมิดหากมีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ที่ก่อความเสียหายจะต้องรับผิดเสมอ โดยไม่มีสิทธิปฏิเสธความรับผิด โดยถือว่าผู้ที่ได้กระทำการใดขึ้นมาย่อมต้องรับความเสี่ยงภัยจากการกระทำของตน ต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้รับอิทธิพลทางศาสนามากขึ้น และเริ่มมีความเชื่อและถือว่าผู้ที่ทำละเมิดคือผู้ที่ทำผิดศีลธรรมด้วย ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าผู้ใดทำละเมิดหรือไม่ จึงต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบภายในจิตใจด้วย กล่าวคือความรับผิดในทางละเมิดจะมีได้เมื่อการกระทำนั้นเป็นความผิด (Fault) ความผิดในที่นี้คือการที่ผู้กระทำ ได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้ผู้อื่นเสียหายจึงต้องรับผิด




                   ความรับผิดในการละเมิดของผู้อื่น(Vicarious Liability) จึงเป็นบทยกเว้นของกฎหมายละเมิดในสมัยดั้งเดิมที่เน้นความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง ที่ถือหลักว่า “ใครทำ คนนั้นรับ” ดังนั้นเมื่อความรับผิดในการละเมิดของผู้อื่นเป็นข้อยกเว้น ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ต้องรับผิดในการละเมิดของผู้อื่น และต้องตีความบทบัญญัติดังกล่าวอย่างจำกัด โดยพิจารณาเหตุผลประกอบในการตีความบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อคุ้มครองผู้เสียหายที่ต้องได้รับการเยียวยาและเป็นธรรมต่อผู้ที่ต้องรับผิดในการละเมิดของผู้อื่น ซึ่งความรับผิดเพื่อการละเมิดของผู้อื่นนั้นได้แก่กรณีดังต่อไปนี้[10]






















กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้




108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส
https://sites.google.com/view/chalermwut/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%A2%E0%B8%99