Monday 20 January 2014

ความผิดฐานยักยอกทรัพย์










แต่ถ้าได้ทรัพย์มาอยู่ในความครอบครองอย่างแท้จริงแล้ว เบียดเบียนเอาทรัพย์นั้นเป็นยักยอกทรัพย์ คำพิพากษาฎีกาที่ 2610/2519  ป.รับราชการและอยู่บ้านห่างไกลจากนาที่ทำ จึงมอบให้จำเลยควบคุมดูแลกระบือ 2 ตัวและรถจักรยาน 2 ล้อรักษาไว้ใช้งานที่นา การยึดถือครอบครองอยู่ที่จำเลย จำเลยเอาทรัพย์นั้นไป  เป็นยักยอก ไม่ใช่ลักทรัพย์ดังที่บรรยายฟ้อง ลงโทษฐานยักยอกไม่ได้ / ผู้เสียหายได้มอบกระบือและรถจักรยาน 2 ล้อให้จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแล รักษาโดยเก็บรักษาไว้ที่นาเพื่อใช้ทำนาและไร่ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวผู้เสียหายได้มอบหมายให้จำเลยยึดถือครอบครองทรัพย์นั้นแทนผู้เสียหาย การยึดถือครอบครองทรัพย์จึงอยู่ที่จำเลย หาใช่ยังอยู่ที่ผู้เสียหายไม่ เมื่อจำเลยเอาทรัพย์นั้นไปให้แก่บุคคลอื่น จึงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หาใช่ลักทรัพย์ตามฟ้องไม่ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงตามฟ้องในข้อสาระสำคัญซึ่งโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จะลงโทษจำเลย ตามฟ้องไม่ได้







คำพิพากษาฎีกาที่ 2544/2529 จำเลยเขียนเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเขียนตัวอักษรว่าหนึ่งหมื่นบาท แต่เขียนตัวเลขเป็น 100,000 บาท แล้วนำมาขอเบิกเงินจากธนาคาร พนักงานธนาคารสำคัญผิดในตัวเลข จ่ายเงินให้จำเลยไป 100,000 บาท เมื่อพบว่าจ่ายเงินเกินไป ได้ตามไปขอคืน จำเลยไม่ยอมคืนให้ เมื่อพนักงานธนาคารแก่จำเลยไป ก็โดยสำคัญผิดว่าจำเลยสั่งจ่ายเงินตามเช็ค 100,000 บาท ซึ่งความจริงจำเลยสั่งจ่ายเช็คเป็นเงินเพียง 10,000 บาท ถือได้ว่าเป็นการส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไป แม้ว่าจะด้วยประการใดตาม เมื่อเงินดังกล่าวตกมาอยู่ในความครอบครองของจำเลยแล้ว จำเลยเบียดบังเอาเป็นของตน จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ.ม.352
ทรัพย์สินหาย คือ ทรัพย์ที่หลุดไปพ้นจากความยึดถือของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยไม่ได้ตั้งใจ  หากไม่ใช่ทรัพย์สินหาย เอาไปเป็นลักทรัพย์ ไม่ใช่ยักยอก คำพิพากษาฎีกาที่ 1363/2503 ทรัพย์สินหายเป็นเรื่องที่ทรัพย์หลุดพ้นไปจากความยึดถือของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองโดยมิได้ตั้งใจ ไม่ใช่เรื่องสละการครอบครอง ถ้าเก็บเอาไปโดยรู้หรือควรรู้ว่า ทรัพย์นั้นเจ้าของกำลังติดตาม หรือจะติดตามเพื่อเอาคืน ก็เป็นลักทรัพย์ ถ้าไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ก็เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์สินหาย จำเลยรู้หรือควรรู้ว่ารถทหารคว่ำปืนจมน้ำอยู่ แล้วถือโอกาสตนปลอดผู้คน ไปงมเอาปืนที่อยู่ในระหว่างเจ้าของกำลังติดตามเพื่อเอาคืน จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์


คำพิพากษาฎีกาที่ 1858/2528 จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคาร ก. สาขาสุขุมวิท ได้ปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้าหลายคน โดยไม่มีหลักทรัพย์เป็นประกัน อันเป็นการเกินอำนาจที่ธนาคาร ก. โจทก์ร่วมได้ให้ไว้ ฝ่ายตรวจสอบฯ ของโจทก์ร่วมทราบ และได้แจ้งให้จำเลยจัดการแก้ไข  จำเลยได้โอนหนี้ของลูกค้าดังกล่าวไปเป็นหนี้ของบริษัท บ. รายเดียว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ร่วมมีทางจะได้รับชำระหนี้จากบริษัท บ.และจากหลักทรัพย์ต่างๆ ที่บริษัท บ.เสนอเป็นประกันหนี้โดยสิ้นเชิง และการที่จำเลยปล่อยสินเชื่อดังกล่าว จำเลยไม่ได้รับประโยชน์แต่อย่างใดดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วมแต่อย่างใดไม่ และฟังไม่ได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.353