Thursday 25 September 2014

ความผิดต่อเสรีภาพ ข่มขืนใจผู้อื่น หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น



ความผิดต่อเสรีภาพและชื่อเสียง
ความผิดในลักษณะ 11 นี้ มีหลายหมวดความผิดด้วยกัน ซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพและชื่อเสียงของบุคคล ที่กฎหมายจำเป็นจะต้องคุ้มครองไม่ให้ถูกใครละเมิด แยกพิจารณาออกเป็น 3 หมวดความผิด

1. ความผิดต่อเสรีภาพ (Offence against Liberty) มาตรา 309-321
2. ความผิดฐานเปิดเผยความลับ (Offence of Disclosure of Private Secrets) มาตรา 322-325
3. ความผิดฐานหมิ่นประมาท (Offence of Defamation) มาตรา 326-333


1. ความผิดต่อเสรีภาพ (Offence against Liberty) มาตรา 309-321
บทนำ

ความผิดต่อเสรีภาพตาม ม.309 เป็นความผิดต่อเสรีภาพกว้าง ๆ ที่บุคคลนั้นมีสิทธิจะกระทำได้โดยที่ไม่อาจถูกขัดขวาง แต่ความผิดต่อเสรีภาพใน ม.310 เป็นความผิดต่อเสรีภาพในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Liberty to Movement) นอกจากความแตกต่างในลักษณะของเสรีภาพแล้ว ความผิดตาม ม. 309 ยังเป็นเป็นการกระทำที่กว้าง ๆ ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องกระทำแบบใด เพราะกฎหมายใช้คำว่า ขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใดหรือ จำยอมต่อสิ่งใด แต่ความผิดตาม ม.310 จำกัดไว้เฉพาะการกระทำที่เป็นการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังเท่านั้น ดังนั้นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังตาม ม.310 จึงถือเป็นบทเฉพาะ และความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นเป็นความผิดบททั่วไป



ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น (Compels the other person)

มาตรา 309 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้าย จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

องค์ประกอบความผิด (Elements of an offence)
1. ผู้ใด Who ever
2. ข่มขืนใจ Compels
ให้กระทำการใด (to do any act)
ไม่กระทำการใด (not to do any act)
จำยอมต่อสิ่งใด (suffer any thing)
3. โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น (by the way putting him in fear of injury to life, body, liberty, reputation or property of him or another person or Commits violence)
4. จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น (so that he does or does not do such act, or suffer such thing)
องค์ประกอบภายใน (Internal element)
เจตนา (Intent)





2. ข่มขืนใจ Compels

ข่มขืนใจผู้อื่น (Compels the other person) หมายถึงบังคับให้ผู้อื่นต้องกระทำหรือไม่กระทำ หรือต้องยอมในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ ซึ่งเป็นการริดรอนเสรีภาพของผู้อื่น เช่น การขู่ว่าให้เขายกมือขึ้น หรือบอกว่าอย่าขยับ หรือการที่เอามีดมาจี้ที่หลังแล้วให้เดินไปในรถ จะเห็นได้ว่าผู้อื่นนั้นต้องกระทำในสิ่งที่เขาไม่อยากจะทำ ไม่ได้กระทำในสิ่งที่เขาอยากทำ หรือต้องยอมในสิ่งที่ไม่อยากจะยอม เป็นการข่มขืนใจ

การข่มขืนใจต้องเป็นการกระทำต่อผู้อื่น หากเป็นการขู่ว่าจะทำร้ายตนเอง ไม่มีคววมผิดตามมาตรานี้ เช่น ขู่ว่าถ้าไม่ยอมตามที่ต้องการแล้วจะไม่กินข้าวหรืออดข้าวตาย หรือลูกขู่ว่าพ่อแม่ว่าหากไม่ให้เงินซื้อไอโฟนรุ่นใหม่ให้จะเอาโครศัพท์เครื่องเก่าไปโยนทิ้ง เหล่านี้เป็นการข่มขืนใจที่จะกระทำต่อตนเองไม่มีความผิด

3. โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเอง หรือของผู้อื่น

การข่มขืนใจผู้อื่นนั้นผู้กระทำอาจจะกระทำโดยวิธีทำให้ผู้ถูกข่มขืนใจกลัว (Fear) หรือเป็นการข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้าย (compels the other person by commits violence ก็ได้

1) การข่มขืนใจให้กลัวนั้นไม่จำกัดวิธีจะทำโดยวิธีการใด เช่น วาจา จดหมาย หนังสือเตือน ข้อความ หรือแม้กระทั้งท่าทางที่ทำให้ผู้ถูกข่มขืนใจเกิดความกลัว และการข่มขู่ว่าจะทำอันตรายในปัจจุบันหรือจะเป็นการข่มขู่ว่าจะทำอันตรายในอนาคตก็ได้

ดังนั้นการข่มขู่ สาระสำคัญต้องทำให้ผู้ถูกกระทำกลัว หากเป็นการพูดหยอกล้อกัน ก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ เช่น การใช้ปืนปลอมมขู่ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดเป็นการกระทำที่ทำให้ผู้ถูกข่มขืนใจกลัวแล้วเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือการขู่ว่าจะชวนพวกนักเลงมาทำร้ายให้ระวังตัวไว้เป็นการพูดข่มขู่ว่าจะทำอันตรายในอนาคต

การข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวนั้นอาจเป็นการขืนใจที่จะทำอันตรายต่อ ชีวิต เช่น การข่มขู่ว่าจะฆ่า อันตรายต่อร่างกาย เช่น การข่มขู่ว่าจะมาทำร้าย พาพวกมากระทืบ หรือจะปล่อยให้หมากัด อันตรายต่อเสรีภาพ เช่น การข่มขู่ว่าจะจับไปขัง หรือพาคนมาปิดล้อม อันตรายต่อชื่อเสียง เช่น การข่มขู่ว่าจะทำเอาความลับไปบอกคนอื่น  อันตรายต่อทรัพย์สิน เช่น การข่มขู่ว่าจะพาพวกมาทำลายร้าน จะเผาบ้าน

การข่มขู่ให้กลัวนั้นอาจะเป็นการขู่ว่าจะทำต่อผู้ที่ถูกข่มขู่เองหรือของบุคคลใด ๆ ก็ได้ เช่น การข่มขืนใจสามีหากไม่ยอมกระทำตามจะทำร้ายภริยา เป็นต้น

การข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้าย (compels the other person by commits violence) เป็นการข่มขืนใจโดยใช้กำลังประทุษร้าย ไม่ได้ข่มขู่เพื่อให้กลัว แต่เป็นการใช้กำลังบังคับให้ทำ เช่น เอาปืนขู่ให้ขึ้นรถ หรือเอามีดจี้ให้ไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็ม





ประเด็นปัญหา Problem issue

การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ตาม มาตรานี้หรือไม่ เช่น การข่มขู่ว่าจะฟ้องคดีหรือการข่มขู่ว่าจะยึดทรัพย์หากไม่ชำระหนี้

เช่น ตำรวจพูดข่มขู่ว่าจะจับหากฝ่าฝืนกฎหมาย เป็นการพูดตามอำนาจหน้าที่ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ แต่หากเป็นการขู่คนที่เขาไม่ได้ทำผิด เช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ 2013/2536 ผู้เสียหายทั้งสี่เข้าไปเที่ยวในบาร์ซึ่งมีการแสดงให้ชมและได้ สั่งเครื่องดื่มรวม 4 แก้ว ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเก็บเงินของบาร์ได้นำใบเสร็จรับเงินมาเรียกเก็บเงิน 1,000 บาท โดยคิดเป็นค่าเครื่องดื่ม 200 บาท ค่าชมการแสดง 800 บาท ตามอัตราที่ถูกต้องของบาร์ผู้เสียหายทั้งสี่ขอชำระแต่ค่าเครื่องดื่ม   ส่วนค่าชมการแสดงไม่ชำระเพราะได้รับคำบอกเล่า จากผู้ที่ชักชวนเข้าไปเที่ยวว่าไม่ต้องชำระจำเลยไม่ยอมและพูดว่าถ้าไม่ชำระ จะไม่ยอมให้ออกจากบาร์  และสั่งคนปิดประตูบาร์กับเรียกพนักงานชาย 5-6 คน มายืนคุมเชิงรอบโต๊ะข้างหลังผู้เสียหายทั้งสี่แล้วจำเลยพูดว่าจะชำระหรือไม่ ถ้าไม่ชำระมีเรื่องแน่ ผู้เสียหายทั้งสี่กลัวถูกทำร้ายจึงยอมชำระเงิน 1,000 บาท ให้จำเลยถือได้ว่าเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสี่ให้ยอมให้ เจ้าของบาร์ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตราย ต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้เสียหายทั้งสี่ จนผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งถูกข่มขืนใจ ยอมให้เงินค่าชมการแสดง ดังนี้แม้ว่าการกระทำของจำเลยจะสืบเนื่องมาจากการทวงค่าชมการแสดงที่ผู้เสียหายทั้งสี่ได้รับการบริการไปแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับให้ผู้เสียหายทั้งสี่ชำระเงินโดยไม่ชอบด้วยการขู่เข็ญ ว่าจะทำอันตรายต่อผู้เสียหายทั้งสี่เช่นนั้นจำเลยจึงมีความผิดฐานกรรโชก

          คำพิพากษาฎีกานี้ศาลตัดสินว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำอันเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายและเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งพอจะเทียบเคียงได้กับความผิดตาม ม.309

4. จนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น

ความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น ตาม ม.309 เป็นความผิดที่ต้องการผล หมายความว่าหากมีการกระทำอันเป็นการข่มขืนใจแล้ว แต่ผู้ถูกข่มขืนใจไม่กระทำตาม หรือไม่หยุดการกระทำ หรือไม่ยอมตามที่ข่มขู่ จะมีความผิดเพียงแค่พยายามกระทำความผิด เช่น ใช้ปืนขู่ให้หยุดรถแต่ผู้นั้นไม่ยอมหยุดรถ เช่นนี้เป็นความผิดเพียงแค่พยายามข่มขืนใจผู้อื่น แต่ถ้าผู้นั้นยอมกระทำตาม หรือยอมตามที่ถูกข่มขู่ก็เป็นความผิดสำเร็จ

แต่มีปัญหาว่าจนผู้ถูกข่มขืนใจนั้นต้องยอมทั้งหมด หรือถ้ายอมเพียงบางส่วนก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว

คำพิพากษาฎีกา 616/2520
ฟ้องขอให้ลงโทษฐานปล้นทรัพย์ ได้ความว่าจำเลยใช้ปืนขู่ให้ผู้เสียหายซึ่งขี่รถจักรยานยนต์หยุดรถ  ผู้เสียหายลดความเร็วลงเตรียมจะจอด พอดีรถจำเลยเสียหลัก  ผู้เสียหายเร่งรถหนีไปได้  ไม่พอฟังว่ามีเจตนาปล้น เป็นความผิดตาม ป.อ. ม.309 ซึ่งบรรยายมาในฟ้อง เป็นส่วนหนึ่งของการปล้นที่ฟ้อง ศาลลงโทษตาม ม.309 ได้
คำพิพากษานี้ตัดสินวางหลักไว้ว่า การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ที่ถูกข่มขืนใจนั้นยอมกระทำตามที่ถูกข่มขู่ แม้จะเพียงบางส่วน(ลดความเร็วลงเตรียมจอด) ก็ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว ไม่ใช่เพียงขั้นพยายาม

คำพากษาฎีกา 1447/2513  
จำเลยกับพวกมีอาวุธปืนติดตัวเข้าไปพูดจาให้ผู้เสียหายคิดบัญชีการเงินที่จำเลยกับผู้เสียหายเข้าหุ้นกันทำการก่อสร้างโดยขู่ว่า ถ้าไม่คิดจะเกิดเรื่อง แต่การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผลเพราะผู้เสียหายไม่ยอมคิดบัญชีให้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุที่ผู้เสียหายไม่กลัวหรือเพราะมีตำรวจมาขัดขวางก็ตาม  จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามกระทำผิดต่อเสรีภาพแล้ว  แต่ไม่เป็นความผิดฐานพยายามกรรโชก
ตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้นั้น ที่ไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์เพราะว่า การที่จำเลยไปข่มขู่เพือให้ผู้เสียหายคิดบัญชีการเงินที่เข้าหุ้นการทำการก่อสร้าง การคิดบัญชีไม่ใช่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน จึงไม่ผิดฐานพยายามกรรโชกทรัพย์ แต่มีความผิดพยายามตาม ม.309 เพราะความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นนี้ ไม่ได้จำกัดว่าการข่มขืนใจนั้นจะเป็นเรื่องใดก็ได้ เป็นเสรีภาพทั่ว ๆ ไปของผู้ถูกข่มขืนใจ
























ผู้ตายและผู้เสียหายทั้งสามถูกกักขังและถูกทำร้ายร่างกายในลักษณะการทรมานอยู่ในห้องพักที่เกิดเหตุเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยไม่มีหนทางหลบเลี่ยงให้พ้นจากการถูกทรมานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้ใดได้เห็นได้ว่าผู้เสียหายทั้งสามและผู้ตายต้องตกอยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน การที่ผู้ตายตัดสินใจกระโดดจากห้องพักเพื่อฆ่าตัวตายนั้นอาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหายอื่น และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายอื่นจึงได้ตัดสินใจกระทำเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทนทุกข์ทรมาน พฤติการณ์ฟังได้ว่าการตายของผู้ตายมีสาเหตุโดยตรงมาจากการถูกทรมานโดยทารุณโหดร้าย
















ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส