Tuesday 28 October 2014

พรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร

พรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร


โดย เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
13 ตุลาคม 2014 เวลา 23:10 น.
เวลาอ่านข่าวหรือเห็นข่าวในทีวีเกี่ยวกับการพาเด็กหรือเยาวชนไปกระทำอนาจาร(การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ) เรามักจะได้ยินความผิดสองฐานนี้ปะปนกันอยู่เสมอ คือ

ความผิดฐานพรากเด็กกับพรากผู้เยาว์
http://news.sanook.com/153657http://news.sanook.com/153657
ความผิดสองฐานนี้มีอะไรแตกต่างกันบ้าง ความแตกต่างที่สำคัญคืออายุของผู้เสียหาย (Victim) ในความผิดฐานพรากเด็กผู้ที่ถูกพรากไปต้องอายุไม่เกินสิบห้าปี ส่วนความผิดฐานพรากผู้เยาว์นั้นเป็นการพรากบุคคลที่อายุกว่าสิบห้าแต่ไม่เกินสิบแปดปี

ซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุนั้นเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิด ซึ่งผู้กระทำจะต้องรู้ด้วยว่าบุคคลที่พรากไปนั้นอายุไม่เกินสิบห้าหรือยังไม่เกินสิบแปด

แต่ปัญหาคือในความเป็นจริงจำเลยคงไม่มัวมาถามเด็กหรือผู้เยาว์ก่อนว่า "ตัวเองอายุเท่าไหร่แล้ว" ดังนั้นจำเลยอาจจะต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับอายุว่าตนเองทำไปโดยไม่รู้ว่าคนที่พรากไปนั้นอายุไม่เกินสิบห้าหรือสิบแปด จำลยก็อาจจะไม่มีความผิดได้ เพราะขาดเจตนาในการพรากเด็กหรือผู้เยาว์

แต่ตาม คำพิพากษาฎีกาที่ 1717/2543 จำเลยมีอาชีพรับราชการ ได้พบปะผู้คนมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอประมาณการได้ว่าเด็ก หรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์ กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเอง ดังที่จำเลยเบิกความ เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม มีความผิดตาม มาตรา 227 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม มาตรา 317 วรรคสาม

ในคดีนี้แม้จะรู้แต่ควรจะรู้ได้ว่าผู้เสียหายอายุไม่เกินสิบห้าหรือไม่เกินสิบแปด ก็ถือว่ามีเจตนา (ศาลไม่เชื่อว่าจำเลยไม่รู้)

ความผิดฐานพรากเด็ก เป็นการพรากปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยไม่มีเหตุอันสมควรก็มีความผิดแล้ว ไม่จำต้องพรากไปเพื่อการอนาจาร เช่น พาไปเที่ยวหรือพาไปอยู่ด้วย

แต่หากเป็นการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป "เพื่อการอนาจาร" ถือเป็นเหตุที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น

ส่วนในความผิดฐานพรากผู้เยาวไปเพื่อการอนาจารก็ต้องแยกพิจาณาเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้เยาวไม่เต็มใจไปด้วย กับกรณีที่ผู้เยาวเต็มใจไปด้วย


หากเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย การพรากก็เป็นความผิดแล้ว (จำคุกจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาท) และหากเป็นการพรากไปเพื่อการอนาจารก็ต้องรับโทษหนักขึ้น (จำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสามหมื่นบาท)


แต่หากเป็นกรณีที่ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย การพรากไม่เป็นความผิด ผู้กระทำจะมีความผิดก็ต่อเมื่อเป็นการพรากไปเพื่อหากำไรหรือเพื่อการอนาจาร เช่น หญิงอายุ 17 ปี เต็มใจหนีไปกับชาย หากชายไม่ได้พาไปเพื่อกระทำอนาจารก็ไม่มีความผิด

แต่หากเป็นการพรากไปเพื่อกระทำอนาจาร(การกระทำอันไม่สมควรทางเพศ) ชายก็จะมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
http://www.oholanna.com/ohoNews.php?nID=560http://www.oholanna.com/ohoNews.php?nID=560

No comments:

Post a Comment