กระทำความผิดเพราะบันดาลโทสะ
โดยเฉลิมวุฒิ สาระกิจน.บ.(เกียรตินิยมอันดับ ๑), น.บ.ท., น.ม.(กฎหมายอาญา)อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
นอกจาการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมแล้วต้องไม่ใช่การสมัครใจเข้าวิวาทหรือต่อสู้กัน หากเป็นการสมัคใจเข้าวิวาทหรือต่อสู้กันแล้ว จะอ้างว่าถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้
ดังเช่นใน คำพิพากษาฎีกาที่ 8347/2554 ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีเรื่องทะเลาะโต้เถียงกับจำเลยซึ่งนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านใกล้ที่เกิดเหตุ จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก ในวันเกิดเหตุเมื่อผู้เสียหายออกจากร้านไปแล้ว ผู้เสียหายร้องตะโกนท้าทายจำเลยให้ออกไป จะฟันให้คอขาด จำเลยจึงรีบวิ่งไปหาผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหาย และเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าสู้ภัยทั้งที่ยังไม่มีภยันตรายมาถึงตน จึงเป็นการกระทำโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยก่อน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้เสียหายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และแม้จำเลยมีความไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้เสียหายเองก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะ
ดังเช่นใน คำพิพากษาฎีกาที่ 8347/2554 ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีเรื่องทะเลาะโต้เถียงกับจำเลยซึ่งนั่งดื่มสุราอยู่ที่ร้านใกล้ที่เกิดเหตุ จึงเชื่อว่าเป็นสาเหตุให้จำเลยไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก ในวันเกิดเหตุเมื่อผู้เสียหายออกจากร้านไปแล้ว ผู้เสียหายร้องตะโกนท้าทายจำเลยให้ออกไป จะฟันให้คอขาด จำเลยจึงรีบวิ่งไปหาผู้เสียหาย ถือได้ว่าจำเลยสมัครใจเข้าวิวาทและต่อสู้กับผู้เสียหาย และเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าสู้ภัยทั้งที่ยังไม่มีภยันตรายมาถึงตน จึงเป็นการกระทำโดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ แม้ผู้เสียหายจะทำร้ายจำเลยก่อน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้เสียหายสมัครใจวิวาทกัน ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจที่จะอ้างสิทธิป้องกันได้ตามกฎหมาย และแม้จำเลยมีความไม่พอใจผู้เสียหายเป็นอย่างมาก แต่เมื่อจำเลยสมัครใจที่จะไปต่อสู้กับผู้เสียหายเองก็ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน การกระทำของจำเลยไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นการกระทำโดยเหตุบันดาลโทสะ
ป.ล. หลักบันดาลโทสะในประเด็นของการไม่ได้สมัครใจเข้าวิวาทและไม่ขาดตอนนั้น สามารถนำไปใช้วินิจฉัยในเรื่องของการป้องกันตาม ม.68 ซึ่งมีหลักการสำคัญคล้ายกัน กล่าวคือ ในเรื่องป้องกัน ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้ต้องไม่ได้สมัครใจเข้าวิวาท และจะอ้างป้องกันได้ต้องได้กระทำไม่ขาดตอนกับภยันตรายที่เกิดขึ้นด้วย
เนื้อหานำมาจากหนังสือคำอธิบายกฎหมายอาฐาภาคทั่วไปของผมนะครับ หากสนใจอ่านเอกสารฉบับเต็มแนะนำให้ซื้อจากลิ้งด้ารล่างครับ จะครบถ้วนและเมื่อมีการแก้ไขสามารถโหลดเล่มใหม่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
No comments:
Post a Comment