Friday, 10 January 2014

ความผิดฐานปล้นทรัพย์ (Gang-Robbery)


ความผิดฐานปล้นทรัพย์ (Gang-Robbery)





       มาตรา 340 ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใด มีอาวุธติดตัวไป ด้วยผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปีและปรับ ตั้งแต่สองหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาทถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณ จนเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิดหรือกระทำ ทรมานผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี ถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต 

     - ปล้นทรัพย์ต้องเป็นตัวการ คือ ร่วมกายและร่วมใจ
     - ซ่องโจร อาจร่วมใจแต่ไม่ได้ร่วมมือ เช่น วันปล้นไม่ได้ไปด้วย (แต่ก็ต้องรับโทษเช่นเดียวกับพวกที่ไปปล้น ม.213)
      ร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป Three persons upwards participate
การร่วมกันกระทำความผิด คือ เป็นตัวการ ตาม ม.83 “ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวาง โทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น”

      หลักของการเป็นตัวการ คือ ร่วมมือ+ร่วมใจ
      ดังนี้สิ่งที่ควรศึกษาเพิ่มเติมจากความผิดฐานชิงทรัพย์ คือ ในเรื่องของตัวการผู้ร่วมกระทำผิด ว่ามีำจำนวนครบตามองค์ประกอบความผิดฐานปล้นทรัพย์หรือไม่


คือความผิดฐานชิงทรัพย์ ที่ร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สามคนขึ้นไป
สาระสำคัญ คือ การพิจารณาว่า มีตัวการ(ม.83) ในการชิงทรัพย์ 3 ครบคน หรือไม่

      โดยพิจารณาเปรียบเทียบระหว่าง ตัวการปล้นทรัพย์กับซ่องโจร


No comments:

Post a Comment