Tuesday, 3 November 2015

สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบและการยื่นบัญชีระบุพยาน


สิทธิของคู่ความในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบและการยื่นบัญชีระบุพยาน

โดย เฉลิมวุฒิ สาระกิจนิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1), เนติบัณฑิตไทย, นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (กฎหมายอาญา)
อาจารย์ประจำสาขากฎหมายอาญาและกระบวนยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา





คู่ความย่อมมีสิทธิในการนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามที่ตนได้กล่าวอ้างหรือเถียงไว้ตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลได้กำหนดไว้อย่างถูกต้อง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคู่ความจะนำพยานหลักฐานทุกอย่างมาสืบได้โดยไม่มีข้อจำกัด เพราะจะทำให้คดีที่พิพาทกันอยู่นั้นใช้ระยะเวลาในการพิจารณาที่นานไม่จบสิ้น เป็นภาระของศาลและคู่ความ ดังนั้นตามกฎหมายลักษณะพยานทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาจะมีข้อจำกัดในการนำพยานหลักฐานมาสืบ  เช่น ในประมวลกฎหมายวิธuพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 คู่ความฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง ย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน หรือในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่นและให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน
จะเห็นได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา คู่ความที่ได้อ้างข้อเท็จจริงใดเป็นข้ออ้างข้อเถียงของตนแล้วก็ย่อมมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบได้ ตามบัญญัติของกฎหมายนั้น ๆ แต่ก็มีข้อจำกัดในการนำพยานหลักฐานมาสืบทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาดังนี้


quiz พยานวิแพ่ง100 ข้อ

ตอนนี้เปิดให้ทำฟรี ลองเล่นดูได้เลยครับ
Deadline: 11:14pm, March 13 

เข้าเวป https://quizizz.com/join/

ใส่โค๊ด 907471

พยานหลักฐานที่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังในคดีแพ่งและคดีอาญา
      ป.วิแพ่ง มาตรา 86 เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้
      เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือประวิงให้ชักช้า หรือไม่เกี่ยวแก่ประเด็นให้ศาลมีอำนาจงดการสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไป
      เมื่อศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเป็นการจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานอื่นอันเกี่ยวกับประเด็นในคดีมาสืบเพิ่มเติมให้ศาลทำการสืบพยานหลักฐานต่อไป ซึ่งอาจรวมทั้งการที่จะเรียกพยานที่สืบแล้วมาสืบใหม่ด้วยโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ
      มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
        (1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
        (2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 และมาตรา 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

1.พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท
       ใน ป.วิแพ่ง มาตรา 104 ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบนั้นจะเกี่ยวประเด็นและเป็นอันเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
       พยานหลักฐานที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท คือ พยานหลักฐานที่ไม่ได้เกี่ยวกับข้ออ้างหรือข้อเถียงที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท แม้จะเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดี แต่อาจไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกำหนดไว้ก็ได้ ดังนั้นจะต้องพิจารณาให้ดีว่า ประเด็นข้อพาทในคดีนั้นมีประเด็นใดบ้าง และคู่ความได้อ้างหรือเถียงไว้อย่างไร

2. พยานหลักฐานใดที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือประวิงคดีให้ชักช้า
       การประวิงคดี คือ การหน่วงไว้ให้เนิ่นช้า ถ่วงเวลาให้คดีนั้นชักช้า ในปัจจุบันการพิจารณาคดีในศาลต้องกระทำด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม หากคดีใดศาลเห็นว่าคู่ความสืบพยานเพื่อทำให้คดีชักช้า หรือไม่มีความจำเป็นต้องสืบพยานในประเด็นที่ชัดเจนแล้ว ศาลก็มีอำนาจสั่งงดสืบพยานนั้นได้

3. พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบด้วยประการอื่น
3.1  พยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ จะต้องเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
3.2  พยานที่เบิกความโดยไม่สาบานหรือปฏิญาณต่อหน้าศาลรับฟังเป็นพยานไม่ได้
3.3  คำให้การของจำเลยซึ่งไม่ได้ให้การไว้ในฐานะผู้ต้องหา ตาม ม.134 จะนำมาใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาคดีไม่ได้
3.4  ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบถามบุคคลภายนอกโดยที่บุคคลนั้นไม่ได้อยู่ในฐานะพยาน รับฟังเป็นพยานในคดีไม่ได้
3.5  ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์จะอ้างแต่คำเบิกความของพยานในคดีแพ่ง โดยไม่ได้นำพยานดังกล่าวมาเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่าคดีของโจทก์มีมูลไม่ได้

4. หลักฐานที่คู่ความไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้โดยชอบ ตาม ป.วิแพ่ง ม.88 และพยานหลักฐานที่ไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมตามตาราง 2(5) ท้าย ป.วิแพ่ง และพยานเอกสารซึ่งเป็นตราสารที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนตาม ป.รัษฎากร ม.118



การยื่นบัญชีระบุพยาน

1. เหตุใดต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยาน
ศาลในระบบกล่าวหา (Adversarial system) หรือระบบการดำเนินคดีแบบต่อสู้ (Battle) ดังนั้นเพื่อให้คู่ความสามารถต่อสู้คดีกันได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงจำเป็นจะต้องเปิดเผยพยานหลักฐานที่จะนำมาพิสูจน์คดีในชั้นศาลให้อีกฝ่ายได้ทราบด้วย ดังนั้นหากคู่ความต้องการจะอ้างพยานหลักฐานจะต้องมีการยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายได้ทราบว่าจะมีพยานหลักฐานใดเข้าสืบบ้าง

2. กำหนดเวลาในการยื่นบัญชีระบุพยาน
          ในคดีแพ่ง กำหนดเวลาการยื่นบัญชีระบุพยานแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือในคดีที่มีการชี้สองสถาน และในคดีที่ไม่มีการชี้สองสถาน (คดีที่ไม่ต้องมีการชี้สองสถานตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 182)
          คดีที่มีการชี้สองสถาน ปกติคดีแพ่งศาลจะนัดชี่สองสถาน เนื่องจากคดีแพ่งเป็นคดีที่มีความซับซ้อนและมีประเด็นที่พิพาทกันหลายประเด็น ดังนั้นศาลมักจะนัดคูความเพื่อชี่สองสถาน โดยในวันชี้สองสถานศาลจะทำหน้าที่กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ รวมถึงกำหนดให้คู่ความทำหน้าที่นำสืบพยานก่อนหลัง และกำหนดวันสืบพยาน ก่อนวันสืบพยานที่ศาลนัดคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม ป. วิแพ่ง มาตรา 88
          คดีที่ไม่มีการชี้สองสถาน คดีแพ่งบางคดีอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องชี้สองสถาน ศาลก็อาจจะไม่นัดชี้สองสถานก็ได้ ตาม มาตรา 182 (1)-(2) ดังนั้นในคดีที่ไม่มีการชี้สองสถานศาลจะไม่ได้นัดวันสืบพยาน ดังนั้นคู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานนัดแรกไม่น้อยกว่า 7 วัน เช่น ในคดีไม่มีข้อยุ่งยากศาลไม่ชี้สองสถาน แต่กำหนดวันสืบพยายนัดแรก วันที่ 10 ตุลาคม 2558 คู่ความจะต้องยื่นบัญญชีระบุพยานไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันสืบพยาน นั้นคือ วันสุดท้ายที่ต้องยื่นคือ 2 ตุลาคม 2558
          ในคดีอาญาศาลประทับฟ้องไว้พิจารณา แยกพิจารณาคดีที่ไม่ต้องมีการสืบพยาน และคดีที่ต้องมีการสืบพยาน คดีที่จำเลยปฏิเสธ หรือถือว่าปฏิเสธ คดีที่จำเลยรับสารภาพ แต่เป็นคดีที่มีโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป
          คดีที่ไม่มีการสืบพยาน ก็ไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน เนื่องจากจำเลยรับสารภาพแล้วถือว่าคดีไม่มีข้อพิพาท ดังนั้นศาลก็ไม่ต้องาสืบพยาน เว้นเสียแต่ในคดีที่จำเลยรับสารภาพ แต่เป็นคดีที่มีโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ศาลจะต้องสืบพยานเพื่อให้แน่ใจว่าจำเลยรับสารภาพโดยสมัครใจ แต่การสืบพยานในคดีที่จำเลยรับสารภาพจะไม่เต็มรูปแบบ เรียกว่า สืบพยานประกอบคำรับสารภาพ
          คดีที่ต้องสืบพยาน คือ คดีที่จำเลยปฏิเสธ หรือคดีที่จำเลยรับสารภาพแต่มีโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ใน ป.วิอาญากฎหมายไม่ได้กำหนดเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานเอาไว้เหมือนกันคดีแพ่ง ดังนั้นจะต้องนำ ป. วิแพ่งมาใช้บังคับ ตาม ป.วิอาญา มาตรา 15 ดังนั้นในคดีอาญาคู่ความก็ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเช่นเดียวกับคดีแพ่ง จะมีข้อสังเกตบางประการที่ทำให้จำเลยไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน คือ หากในชั้นไต่สวนมูลฟ้องจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว ในชั้นพิจารณาของศาลจำเลยไม่ได้ยื่นอีก ก็ถือว่าจำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานแล้ว

3. ผลของการไม่ยื่นบัญชีระบุพยาน
          มาตรา 86 เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานใดเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้ก็ดี หรือเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ศาลปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้
มาตรา 87 ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใด เว้นแต่
(2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดั่งที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 88 และ มาตรา 90...
พยานที่ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น แม้จะเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ แต่ถือว่าเป็นพยานที่ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของ ป.วิแพ่ง ดังนั้นศาลต้องปฏิเสธไม่รับพยานหลักฐานนั้นไว้ และถือเป็นพยานหลักฐานที่ต้องห้ามไม่ให้รับฟังตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 87(2) อีกด้วย

4. ชนิดของพยานที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
     มาตรา 88 เมื่อคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงที่จะอ้างอิงเอกสารฉบับใดหรือคำเบิกความของพยานคนใด หรือมีความจำนงที่จะให้ศาลตรวจบุคคล วัตถุ สถานที่ หรืออ้างอิงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ศาลตั้งหรือความเห็นของผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
    พยานหลักฐานทุกชนิดทั้งพยานบุคคล พยายเอกสาร และพยานวัตถุ คู่ความต้องระบุในบัญชีระบุพยานเพื่อยื่นต่อศาล หากไม่ได้ระบุไว้ก็จะนำมาสืบไม่ได้ และหากเป็นพยาจเอกสารก็ต้องระบุไว้ด้วยว่า เป็นต้นฉบับหรือสำเนาเอกสาร

5. ขั้นตอนการยื่นบัญชีระบุพยาน
     5.1 การยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน พร้อมทั้งสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวในจำนวนที่เพียงพอ เพื่อให้คู่ความฝ่ายอื่นมารับไปจากเจ้าพนักงานศาล (เอกสารที่ต้องยื่น บัญชีระบุพยาน และสำเนาบัญชีระบุพยาน)
5.2 การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ถ้าคู่ความฝ่ายใดมีความจำนงจะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ให้ยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมและสำเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันสืบพยาน (เอกสารที่ต้องยื่น คำแถลง บัญชีระบุพยานเพิ่มเติม สำเนาบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม)
5.3 การขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม มี 2 กรณี คือ 1) คู่ความฝ่ายใดซึ่งได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว และ 2) คู่ความฝ่ายใดซึ่งมิได้ยื่นบัญชี เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามวรรคหนึ่งหรือ วรรคสองแล้วแต่กรณี ได้สิ้นสุดลงแล้ว...คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำร้องขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยาน และสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวไม่ว่า เวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี และถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ก็ให้ศาลอนุญาตตามคำร้อง (เอกสารที่ต้องยื่น คำร้องขออนุญาต บัญชีระบุพยาน และสำเนาบัญชีระบุพยาน

6. ข้อยกเว้นไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
     6.1 การสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องต่าง ๆ เช่น คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
     6.2 กรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเป็นพยานได้โดยไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน มาตรา 199 วรรคสอง ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การมิได้แจ้งต่อศาลก็ดีหรือศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การนั้นเป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรก็ดี ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ในกรณีเช่นนี้จำเลยอาจถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ระหว่างการสืบได้แต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้
     6.3 สำเนาเอกสารที่คู่ความแนบมาท้ายฟ้องหรือคำร้อง
6.4 เอกสารที่ใช้ประกอบการถามค้านหรือการพิสูจน์ต่อพยาน

7. ข้อสังเกตในการยื่นบัญชีระบุพยาน
     7.1 ในการยื่นบัญชีระบุพยานนั้น คู่ความจะต้องแสดงรายละเอียดในบัญชีระบุพยานด้วย หากเป็นพยานเอกสารควรระบุให้ชัดเจนว่าอ้างต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้น
     7.2 วันสืบพยาน ตาม มาตรา 1 (10) วันสืบพยาน หมายความว่า วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยาน ต้องมีการสืบพยานกันจริง ๆ ด้วย มิใช่วันนัดสืบพยานแล้วเลื่อนคดีไป


7.3 มาตรา 88 ...ให้คู่ความฝ่ายนั้นยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หมายถึง ต้องมีวันคั่นอยู่ระหว่างวันที่ยื่นบัญชีระบุพยานกับวันสืบพยานอย่างน้อย 7 วัน เช่น วันสืบพยานวันที่ 10 ต้องยื่นบัญชีระบุพยานวันที่ 2 เป็นวันสุดท้าย









กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส




ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย

กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน

No comments:

Post a Comment