Monday 8 January 2018

ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย


ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์นั้นเป็นความผิดที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตาม ม.288 เพราะเหตุที่ได้กระทำตาม ม.289 นั้นถือเป็นเหตุฉกรรจ์ที่ควรต้องได้รับโทษหนักขึ้น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจก่อนว่า เหตุฉกรรจ์กับผลฉกรรจ์นั้นไม่เหมือนกัน เพราะผลฉกรรจ์ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเนื่องมาจากผลของการกระทำ เช่น ในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย หากผลของการทำร้ายร่างกายผู้กระทำได้รับอันตรายถึงสาหัส เช่น แขนขาด ขาขาด ผู้กระทำต้องรับโทษหนักตาม ม.297 ไม่ใช่รับโทษตาม ม.295                    

หากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้กระทำได้กระทำครบองค์ประกอบความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตาม ม.288 และปรากฏว่าการกระทำของนั้นมีเหตุใดเหตุหนึ่งตาม ม.289 (1) - (7) ผู้กระทำก็ต้องรับโทษหนักขึ้นด้วย ซึ่งเหตุฉกรรจ์มีดังต่อไปนี้

(5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย                   


ฆ่าโดยทรมาน หมายถึง ไม่ต้องการให้ตายทันทีแต่ทำให้ได้รับทุกขเวทนาหรือให้ได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย เช่น ใช้เชือกลากไปตามถนนจนตาย จุดไฟเผาในขณะที่ยังไม่ตาย เอามีดแทงให้เลือดไหลปล่อยทิ้งไว้ให้ตายช้า ๆ เหล่านี้เป็นการฆ่าคนตายโดยทรมาน
                    

ฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย พิจารณาจากความรู้สึกของคนทั่วไปว่าทารุณโหดร้ายหรือไม่ เช่น ฆ่ายกครัว ฆ่าหญิงที่มีครรภ์ ใช้เชือกรัดคอเด็ก กระทืบจนตายคาเท้า นายแดงต้องการฆ่านายดำ จึงเอามีดแทงนายดำหนึ่งทีที่กลางอก แล้วปล่อยให้นายดำตายช้า ๆ เช่นนี้เป็นการฆ่าคนจายโดยทรมาน แต่หากว่านายแดงต้องการฆ่านายดำ จึงเอามีดแทงนายดำ 30 ทีที่บริเวรท้องจนนายดำถึงแก่ความตาย เช่นนี้ไม่ใช่เป็นการฆ่าโดยทรมาน เพราะไม่ได้ทำให้ตายอย่างช้า ๆ แต่เป็นการฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย


ตัวอย่างคดีที่น่าสนใจเกี่ยวกับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยทารุณโหดร้าย




เมื่อปี 2552 ช่วงก่อนวันสงกรานต์ มีผู้พบศพ 5 ศพ ในคฤหาสน์หรูย่านบึงกุ่ม สภาพศพเสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 วัน ตำรวจเร่งสืบหาคนร้ายจนจับได้ แต่คดีกลับมีเงื่อนงำ

No comments:

Post a Comment