ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายสมควรลงโทษจำคุกหรือไม่
กระแสสังคมเริ่มมีการเรียกร้องให้ความผิดที่กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้นสมควรถูกลงโทษจำคุก สถานหนักด้วย อยากให้โทษหนัก ๆ เช่น คดีแพรวา แต่ทำไมหลาย ๆ คดีศาลจึงไม่ก็ไม่ได้จำคุกจำเลยจริง ๆ แต่ให้รอลงอาญาไว้เสียส่วนใหญ่
ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เสียก่อนว่าความผิดที่กระทำโดยประมาทกับความผิดที่กระทำโดยเจตนานั้นแตกต่างกัน ไม่ใช่เพราะผลของการกระทำซึ่งอาจจะเหมือนกันได้
เช่น เจตนาขับรถชนคนให้ตาย กับขับรถไม่ระมัดระวังชนคนตาย ทั้ง 2 กรณี ผลของการกระทำความผิด คือ มีคนตายเหมือนกัน แต่กฎหมายลงโทษ 2 กรณีนี้ไม่เท่านั้น
กฎหมายลงโทษบุคคลตามความชั่วร้ายของจิตใจ แน่นอนว่าคนที่กระทำความผิดโดยเจตนาย่อมมีความชั่วร้ายของจิตใจมากกว่า ย่อมต้องลงโทษหนักกว่าคนที่กระทำความผิดโดยไม่เจตนาแต่ไม่ระมัดระวัง
คำถามต่อมา กฎหมายลงโทษผู้กระทำความผิดเพื่ออะไร
1. เพื่อแก้แค้นทดแทน
2. การลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง
3. ลงโทษเพื่อตัดโอกาสกระทำผิด
4. ลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู
2. การลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง
3. ลงโทษเพื่อตัดโอกาสกระทำผิด
4. ลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู
การลงโทษจำคุก (จริงๆ) กับคนที่กระทำโดยประมาทนั้นสามารถข่มขู่ยับยั้งคนที่ขับรถไม่ให้ขับโดยประมาทได้หรือไม่
การลงโทษจำคุก (จริงๆ) กับคนที่กระทำโดยประมาทนั้นสามารถตัดโอกาสผู้กระทำความผิดไม่ให้ขับรถชนคนตายได้อีก(ตราบเท่าที่อยู่ในคุก)
การลงโทษจำคุก (จริงๆ) กับคนที่กระทำโดยประมาทนั้นลงโทษสามารถแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดได้จริงหรือไม่ คนที่ติดคุกออกมาแล้วจะขับรถโดยประมาทอีกหรือไม่
แต่ที่ได้ผลมากที่สุด สำหรับการลงโทษจำคุกสำหรับกรณีที่ผู้กระทำความผิด คือ ได้รับการแก้แค้นทดแทนผู้กระทำความผิด กับการที่ผู้กระทำความผิดต้องติดคุก
กำลังตั้งคำถามว่า การลงโทษจำคุกกับความผิดที่กระทำโดยประมาท เหมาะสมหรือไม่ ผู้เสียหายได้อะไร ผู้กระทำความผิดได้อะไร และสังคมควรได้อะไร มากกว่าต้องเห็นคนเสียชีวิตแล้วเสียใจ และสะใจเมื่อเห็นคนที่ประมาทต้องติดคุก
No comments:
Post a Comment