Monday 19 February 2018

การงดเว้นกับการละเว้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

การงดเว้นกับการละเว้นเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

การงดเว้นกับการละเว้นเป็นการไม่เคลื่อนไหวร่างกายเหมือนกัน และต้องผ่าน 3 ขั้นตอนเช่นเดียวกับการกระทำโดยเคลื่อนไหวร่างกาย คือ ต้องมีการคิด ตัดสินใจ แต่ขั้นตอนสุดท้าย คือไม่เคลื่อนไหวร่างกายตามที่ได้ตัดสินใจเอาไว้ เช่น เห็นลูกซึ่งยังเล็กอยู่กำลังคลานไปยังบันได แต่ก็ไม่เข้าไปช่วยเหลือ ปล่อยให้ตกบันไดถึงแก่ความตาย จะเห็นได้ว่าผู้กระทำนั้นคิดว่าจะไม่เข้าไปช่วย และได้ตัดสินใจว่าจะไม่เข้าไปช่วย และสุดท้ายก็ไม่เข้าไปช่วย เลือกที่จะไม่เคลื่อนไหวร่างกายปล่อยให้ลูกคลานตกบันได เช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกายตามกฎหมายอาญานั้นมี 2 ประเภท คือ การงดเว้นและการละเว้น

การไม่เคลื่อนไหวร่างกายนั้นหาใช่จะเป็นความผิดอาญาเสมอ ต้องปรากฏว่าผู้นั้นมีหน้าที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แต่งดเว้นเสียไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งหน้าที่ต้องกระทำนั้นต้องเป็นหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้ผลเกิดด้วย เช่น บิดามารดาย่อมมีหน้าที่ในการป้องกันความตายของบุตร ดังนั้นเมื่อเห็นบุตรตกอยู่ในภยันตรายจะปล่อยให้บุตรตายไม่ได้ อย่างเช่นตัวอย่างที่ได้ยกไว้ข้างต้น แม่มีหน้าที่แต่งดเว้นเสียไม่ยอมกระทำ ถือว่ามีการกระทำความผิดโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย


ดังนั้นการงดเว้นกับการละเว้นคือการไม่เคลื่อนไหวร่างกายเหมือนกัน แต่การงดเว้นนั้นไม่กระทำในขณะที่ตนเองมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลร้ายไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง เช่น เป็นพนักงานดูแลสระว่ายน้ำคอยช่วยเหลือคนไม่ให้จมน้ำตาย แต่ไม่ยอมช่วยเหลือคนตกน้ำตามสัญญาถือว่างดเว้นการที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผล ส่วนการละเว้นเป็นการไม่กระทำตามหน้าที่โดยทั่ว ไป เช่น เจ้าพนักงานมีหน้าที่ในการจับกุมผู้ที่กระทำความผิดแต่ไม่ยอมจับกุมเพราะทุจริต เป็นการไม่กระทำการตามหน้าที่โดยทั่วไปของตำรวจ เป็นการละเว้น แต่หากเจ้าพนักงานตำรวจคนนั้นได้รับมอบหมายให้ไปทำหน้าที่คุ้มครองพยานสำคัญในคดี เห็นคนร้ายกำลังจะยิงพยานคนดังกล่าวช่วยได้แต่ไม่ยอมช่วย ถือเป็นการงดเว้น เพราะมีหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงในการป้องกันความตายของพยาน




ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา

No comments:

Post a Comment