Friday 23 February 2018

การอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมีหลักการอย่างไร



ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย


font-stretch: normal; line-height: normal; text-align: center;">




78. การอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมีหลักการอย่างไร

มาตรา 195 ข้อกฎหมายทั้งปวงอันคู่ความอุทธรณ์ร้องอ้างอิงให้ แสดงไว้โดยชัดเจนในฟ้องอุทธรณ์ แต่ต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นมาว่า กันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น
    ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ เหล่านี้ผู้อุทธรณ์หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นก็ตาม
ปัญหาข้อกฎหมายเป็นปัญหาเกี่ยวกับการใช้และตีความกฎหมาย ซึ่งโดยหลักแล้วปัญหาข้อกฎหมายจะไม่มีข้อจำกัดในการอุทธรณ์หรือฎีกา แต่อย่างไรก็ตามปัญหาข้อกฎหมายนั้นจะต้องเป็นข้อที่ได้ยกว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ซึ่งหมายถึง มีการกำหนดให้เป็นประเด็นข้อพิพาทที่มีต่อสู้กัน เช่น จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย ต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ ต่อสู้ว่าเป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน เหล่านี้ หากมีประเด็นแล้วในศาลชั้นต้น ย่อมอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้
หากปัญหาข้อกฎหมายนั้นไม่ได้ยกว่ากันมาในศาลชั้นต้น คู่ความย่อมไม่อาจยกข้อกฎหมายอุทธรณ์ต่อศาลได้ เช่น ในศาลชั้นต้นจำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยยื่นอุทธรณ์ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยต้องห้ามตาม มาตรา 195

ปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งนั้น หากเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หรือที่เกี่ยวกับการไม่ ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยอุทธรณ์ แม้ในศาลชั้นต้นไม่ได้ว่ากล่าวกันไว้ก็สามารถยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับคดีอาญาระงับหรือไม่ แม้ในศาลั้นต้นจะไม่ได้ว่ากล่าวกันไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยย่อมยกขึ้นอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน 



No comments:

Post a Comment