Friday 6 July 2018

ข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นกับเงื่อนไขการลงโทษทางภววิสัยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

 ข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นกับเงื่อนไขการลงโทษทางภววิสัยเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


โดยเฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร ์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ข้อเท็จจริงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคท้ายบัญญัติไว้ว่า “บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใด บุคคลนั้นจะต้องได้รู้ข้อเท็จนั้น” หมายความว่า เมื่อกฎหมายจะลงโทษคนตามระดับความชั่วร้ายของจิตใจหรือลงโทษบุคคลหนักขึ้นเพื่อต้องการคุ้มครองบุคคลบางประเภท เช่น ความผิดฐานฆ่าบุพการี ฆ่าเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 289 ซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานฆ่าคนตายธรรมดา ตามมาตรา 288 ดังนั้น หากผู้กระทำไม่รู้ว่าเป็นการฆ่าบุพการี หรือไม่รู้ว่าเป็นการฆ่าเจ้าพนักงาน เข้าใจว่าเป็นการฆ่าคนตายธรรมดาเท่านั้น กรณีเช่นนี้โดยผลของมาตรา 62 วรรคท้ายจะลงโทษผู้กระทำหนักขึ้นไม่ได้ ต้องลงโทษฐานฆ่าคนตายธรรมดา มาตรา 288 เท่านั้น เพราะเขาไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าเป็นการกระทำต่อบุพการี หรือต่อเจ้าพนักงาน


ตัวอย่างที่ 1 ความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปปล้นทรัพย์ นายหนึ่งและนายสองไม่ทรายเลยว่า นายสามพกปืนไปปล้นทรัพย์ด้วย เมื่อปล้นทรัพย์ได้มาแล้ว ทั้งสามถูกตำรวจจับและค้นตัวนายสามเจอปืนที่พกไป แม้นายสามจะไม่ได้ใช้ปืนนั้นทำการปล้นทรัพย์เลยก็ตาม ทั้งสามคนมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยต้องรับโทษหนักขึ้น เพราะเป็นการปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย ตามมาตรา 340 วรรคสอง[1] นายหนึ่งและนายสองแม้ไม่รู้ว่านายสามพกปืนไปก็ต้องรับโทษหนักขึ้นด้วย เพราะเป็นเงื่อนไขการลงโทษทางภววิสัย

ตัวอย่างที่ 2 นายหนึ่งนำรถจักรยานยนต์ไปขายให้นายสอง โดยบอกกับนายสองว่า เป็นรถที่ตนเองไปขโมยมา นายสองเห็นว่าถูกดีจะนำมาแยกชิ้นส่วนขาย ปรากฏว่าตำรวจตามมาพบ แล้วจับนายหนึ่งและนายสองได้ นายหนึ่งสารภาพว่ารถคันดังกล่าวไม่ได้ลักมา แต่ได้ชิงทรัพย์มา แล้วนำมาขายให้กับนายสอง กรณีเช่นนี้ นายสองจะมีความผิดฐานรับของโจรตาม มาตรา มาตรา 357 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง


ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท”

กรณีนี้ ตามมาตรา 357 วรรคสองเป็นเงื่อนไขการลงโทษทางภววิสัยซึ่งผู้กระทำไม่จำเป็นต้องรู้ เมื่อปรากฎว่ารถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ นายสองรับซื้อไว้แม้ไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการชิงทรัพย์ นายสองก็มีความผิดฐานรับของโจร ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 357 วรรคสอง




[1] มาตรา 340 วรรคสอง ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองแสนสี่หมื่นบาทถึงสี่แสนบาท




ถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือถาม-ตอบ กฎหมายอาญาภาคทั่วไปจัดทำขึ้นมาโดยประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษา รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอาญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหากฎหมายอาญาภาคทั่วไป ผู้เขียนตั้งใจเขียนให้อ่านเข้าใจง่าย เป็นการตั้งคำถามและอธิบายหลักการตามกฎหมาย รวมถึงมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนกฎหมายอาญา

No comments:

Post a Comment