Sunday 6 January 2013

การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย




การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย





คำถาม

ในคดีหมิ่นประมาทเรื่องหนึ่งผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน จนพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล ผู้เสียหายได้ขอถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน แต่ไม่ได้ไปขอถอนฟ้องที่ศาล การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย มีผลต่อคดีนี้อย่างไร


....................................................

หลักการในทางอาญา 

คดีอาญาความผิดส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้นั้น เป็นความผิดที่ผู้เสียหายได้รับความเสียหายเดือดร้อนโดยตรง ไม่มีผลกระทบต่อบุคคลอื่นและสังคม สังคมไม่ได้รับผลกระทบและได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำความผิดด้วย จึงเป็นความผิดที่ผู้เสียหายสามารถยอมความ หรือถอนคำร้องทุกข์ได้ อันจะทำให้ความผิดนั้นระงับลง และคดีดังกล่าวหากผู้เสียหายไม่ไปร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะทำการสอบสวนได้ 

กล่าวคือ เมื่อความผิดประเภทนี้เกิดขึ้น ถือเอาความประสงค์ของผู้เสียหายเป็นหลักว่า ผู้เสียต้องการจะดำเนินคดีอาญาหรือไม่ ถ้าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความก็ได้ หรือหากผู้เสียหายต้องการจะดำเนินคดี ผู้เสียหายก็สามารถทำได้โดยการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานสอบสวน เพื่อให้่สอบสวนความผิดนั้นและดำเนินคดีต่อไป

และหากมีการดำเนินคดีอาญาไปแล้ว ผู้เสียหายมีความประสงค์จะยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้องก็ได้ ตามแต่ความประสงค์ของผู้เสียหาย แม้คดีนั้นจะอยู่ในการดำเนินการสอบสวนของตำรวจ หรือคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาผู้เสียหายก็จะยุติการดำเนินคดีโดยการถอนคำร้องทุกข์หรือถอนฟ้องก็ได้

1. การถอนคำร้องทุกข์
มาตรา 126 "ผู้ร้องทุกข์จะแก้คำร้องทุกข์ระยะใด หรือจะถอน คำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้

ในคดีซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัว การถอนคำร้องทุกข์เช่นนั้นย่อม ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวน หรือพนักงานอัยการที่ จะฟ้องคดีนั้น"

การถอนคำร้องทุกข์ ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เมื่อใดก็ได้ กฎหมายไม่ได้กำหนด ดังนั้นแม้คดีจะได้เข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้ว ผู้เสียหายก็ถอนคำร้องทุกข์ได้

2. ผลของการถอนคำร้องทุกข์

มาตรา 39 "สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดั่งต่อไปนี้

(2) ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย"

เมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และคดีนั้นเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว จะมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ เมื่อสิทธิฟ้องคดีอาญาระงับแล้ว แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลก็ตาม การดำเนินคดีอาญานั้นต้องยุติลงทันที โดยผลของ ม.39

แล้วการที่ผู้เสียหายไม่ถอนคำร้องทุกข์ที่ศาลในเมื่อคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล แต่มาถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ได้ร้องทุกข์ไว้ จะมีผลเป็นการถอนคำร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่

ในประเด็นนี้ ศาลได้วินิจฉัยไว้เป็นแนวว่า 

คำพิพากษาที่ 1852/2555

"การถอนคำร้องทุกข์เป็นสิทธิของผู้เสียหาย เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธิของผู้เสียหายเองก็ดี หรือของพนักงานอัยการก็ดี ที่จะนำความผิดอันยอมความได้มาฟ้องผู้กระทำผิดอีกเป็นอันระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) ซึ่งการถอนคำร้องทุกข์ของ ผู้เสียหายที่ 1 หรือโจทก์ร่วมย่อมมีอำนาจที่จะถอนคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ หรือศาลก็ได้ แม้คดีนั้นจะอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ก็ไม่มีบทบัญยัติของกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายต้องถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลเท่านั้น เมื่อผู้เสียหายที่ 1 และโจทก์ร่วมได้ถอนึคำร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบแล้ว ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล สิทธินำคดีความผิดต่อส่วนตัวมาฟ้องจำเลยย่อมระงับไป"

ป.ล.ข้อสอบเนออกอันนี้แน่นอน ไม่สมัยนี้ก็สมัยหน้าครับ 

.............................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา






กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส




ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย

กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน

No comments:

Post a Comment