Monday 7 January 2013

คำรับสารภาพและคำซัดทอดของผู้กระทำผิดในชั้นถูกจับกุม


คำรับสารภาพและคำซัดทอดของผู้กระทำผิดในชั้นถูกจับกุม







ประเด็นปัญหา

นายแดงถูกตำรวจล่าซื้อเมทแอมเฟตตามีน เมื่อสายลับทำการล่อซื้อ ตำรวจจึงแสดงตัวเข้าจับกุมนายแดง นายแดงกลัวว่าตำรวจจะยัดข้อหาเพิ่ม จึงรับสารภาพแต่โดยดีว่า ค้ายาบ้าจริงและนายแดงยังแจ้งต่อตำรวจอีกว่า ยังมีนายดำที่มาด้วยกัน ซึ่งจอดรถรออยู่ที่ลานจอดรถ ทำให้ตำรวจจับดุมนายดำได้อีกคน

คำรับสารภาพและคำให้การซัดทอดของนายแดงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เพียงใดหรือไม่???



................................................

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงข้างต้นแล้วจะเห็นว่า มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น คือ

1. ปัญหาว่าคำรับสารภาพของผู้กระทำผิดที่ถูกจับกุมนั้นรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

2. ปัญหาว่าคำให้การซัดทอดของผู้ถูกจับจะรับฟังไว้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่

หลักการ

คำรับสารภาพของผู้ที่ถูกจับ แม้ปรากฎว่าผู้ถูกจับจะได้กระทำความผิดตามที่ได้รับสารภาพ และให้การรับสารภาพโดยสมัครใจ ไม่ได้มีการบังคัญขู่เข็ญใดๆ เลยก็ตาม หลักการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ห้ามไม่ให้รับฟังคำรับสารภาพดังกล่าว โดยที่เหตุผลที่ไม่ให้รับฟังนั้น เพราะว่า ผู้กระทำผิดที่ถูกจับกุมนั้นยังอยู่ในอาการตกใจ หรืออาจวาดกลัวจากการที่ถูกจับกุม สติของผู้กระทำความผิด อาจจะยังไม่บริบูรณ์ แม้ว่าความจริงผู้กระทำผิดอาจจะไม่ตกใจหรือหวาดกลัวเลยก็ตาม โดยจากหลักการนี้เอง ปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ ม. 84 

มาตรา 84 วรรคท้าย 

"ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความ ผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อ ได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตาม มาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับแล้วแต่กรณี"


จะเห็นว่า ม.84 วรรคท้าย บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับนั้น ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับ ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามเหตุผลที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น 

แต่ถ้าหากว่าเป็นถ้อยคำอื่นที่ไม่ใช่คำรับสารภาพ จะรับฟังได้หรือไม่ คงต้องดูข้อเท็จจริงว่า มีการแจ้งสิทธิตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ เพราะฉะนั้นต่อคำถามในประเด็นที่ 2 คำให้การซัดทอดของผู้ถูกจับจะรับฟังไว้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่ หากมีการแจ้งสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้งเสียก่อนแล้ว ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ หากไม่มีการแจ้งสิทธิก่อน ก็ไม่อาจจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เช่นกัน

ข้อสังเกตุ

1. อย่าสับสนนะครับ สำหรับคำให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัว เป็นคนละขั้นตอนกับการให้คำรับสารภาพในชั้นสอบสวน ซึ่งในชั้นสอบสวนนั้นหากมีการแจ้งสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว คำให้การรับสารภาพนั้นรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

2. ถ้อยคำอื่นในมาตรา 81 นี้หมายความเฉพาะการให้ถ้อยคำในชั้นจับกุมหรือมอบตัวที่ได้มีการบันทักไว้เท่านั้น ไม่ได้หมายความถึงการที่จำเลยไปความในศาล ซึ่งหากจำเลยทั้ง 2 คนถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน โจทก์จะอ้างจำเลยคนใดคนหนึ่งเป็นพยานไม่ได้ ต้องห้ามตาม มาตรา 232

.............................................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา








ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย


No comments:

Post a Comment