ก่อการร้าย (terrorism) ถือเป็นภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติที่กำลังแพร่หลาย และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
มีการจี้เครื่องบินพาณิชย์เข้าชนตึกเวิลเทรดเซนเตอร์ ในมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรับอเมริกา |
ความหมายของการก่อการร้าย
การหนดความหมาย
(Definition) ของการก่อการร้ายเป็นปัญหาซ้อนปัญหา
ยากที่จะกำหนดความหมายหรือคำนิยามได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้ที่ได้ให้ความหมายไว้
โดยส่วนใหญ่ก็ยังมีความแตกต่างกัน อย่างเช่นความหมายของการก่อการร้ายดังต่อไปนี้
Definition of Terrorism
ใน
U.S.
Code of federal Regulation การก่อการร้าย (Terrorism) “เป็นการใช้กำลังและความรุนแรงโดยผิดกฎหมายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับ
รัฐบาล ประชาชน พลเมือง หรือในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือสังคม”
Walter
Laqueurw ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “ การก่อการร้ายเป็นการใช้กำลังประทุษร้าย
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือสังคม
กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา
“การก่อการร้ายเป็นการใช้ความรุนแรงอันละเมิดทางกฎหมายเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวโดยมีเจตนาในการบังคับหรือขู่เข็ญรัฐบาล
หรือชุมชนพลเมือง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมือง ศาสนา
หรือตามลัทธิความเชื่อของตน
Grant
wardlaw เป็นการกระทำหรือขู่เข็ญว่าจะกระทำความรุนแรงโดยบุคคลหรือกลุ่มคน
ไม่ว่าจะกระทำในนามเจ้าหน้าที่หรือต่อต้านเจ้าหน้าที่
ถ้าได้กระทำให้เกิดความกลัวต่อกลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง
โดยมีความมุ่งหมายเพื่อบังคับกลุ่มเป้าหมายนั้นไปสู่ความต้องการในทางการเมืองของผู้กระทำความผิดนั้น
ความหมายของการก่อการร้ายในประเทศไทย
ตาม ป.อ. มาตรา 135/1-135/4
เจตนารมณ์ของการบัญญัติ
คุณธรรมที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง คือ ความสงบสุขของประชาชนความหมายของการก่อการร้ายของไทย
เป็นการกระทำความผิดโดย
ภาพความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย |
1.
ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย
หรือเสรีภาพของผู้อื่น
2.
ทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
3.
ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไม่ว่าของรัฐ บุคคลใด
หรือแก่สิ่งแวดล้อมโดยเป็นการกระทำ เพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือองค์กรระหว่างประเทศ หรือสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน
ลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นการก่อการร้ายพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.
Target:
เป้าหมายในการกระทำความผิดมุ่งไปยังประชาชนผู้บริสุทธิ์
ไม่ได้เจาะจงกระทำต่อกลุ่มคนใดคนหนึ่ง
2.
Object
: วัตถุประสงค์ของการก่อการร้าย ทำให้เกิดความกลัวต่อประชาชนพลเมือง
เช่น เหตุการณ์ 9/11 และไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide)
3.
Motive:
มูลเหตุชักจูงใจ ส่วนใหญ่กระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมืองหรือศาสนา
ไม่ใช่มูลเหตุจูงใจส่วนตัว
4.
Legitimacy:
ความชอบด้วยกฎหมาย
รัฐที่ชอบด้วยกฎหมายไม่อาจกระทำการอันเป็นการก่อการร้ายในประเทศตนเองได้ การกระทำของรัฐแม้จะกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์แต่ก็ไม่ใช่ก่อการร้าย
แต่เป็นอาชญากรรมส่งครามหรืออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ
ประเทศไทยกับการก่อการร้าย
ประเทศไทยไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของการก่อการร้าย
แต่มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะที่เป็นประเทศที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
การก่อการร้ายในไทยปัจจุบันความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การก่อการร้ายในประเทศไทยอดีต เผาศาลากลาง เผาโรงเรียนวางระเบิดสถานีรถไฟ
เรียกค่าคุ้มครองhttp://www.youtube.com/watch?v=WLGO5wtenhE
ปัจจุบัน
ปล้นปืนที่เจาะไอร้อง มัสยิดกรือเซะ เหตุการณ์ตากใบ ฆ่าเจ้าหน้าที่ พระ ผู้พิพาษา ฆ่าชาวไทยพุธ
ที่มาของการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
ม.135/1-4 ปี 2546 มีการคุกคามก่อการร้าย(สามจังหวัดภาคใต้) เป็นการร่วมมือกับสหประชาชาติ
UN เพื่อไม่ให้กลุ่มก่อการร้าย ใช้ประเทศไทยเป็นฐานก่อการร้ายและกบดาน
ความผิดก่อการร้ายในประเทศไทย
(พรก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2546 โดยการ เพิ่ม ม. (1/1) ในมาตรา 7
และเพิ่ม ม.135/1 - 135/4
ความผิดก่อการร้ายในประเทศไทย
มาตรา
135/1 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความผิดอาญา ดังต่อไปนี้
(1)
ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใดอันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
หรืออันตรายอย่างร้ายแรงต่อร่างกาย หรือเสรีภาพของบุคคลใดๆ
(2)
กระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ ระบบการขนส่งสาธารณะ
ระบบโทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ
(3)
การกระทำการใดอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของรัฐหนึ่งรัฐใด
หรือของบุคคลใดหรือต่อสิ่งแวดล้อม
อันก่อให้เกิดหรือน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญ
ถ้าการกระทำนั้นได้กระทำโดยมีความมุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญหรือบังคับรัฐบาลไทย
รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
หรือเพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานก่อการร้าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลาดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงหนึ่งล้านบาท
การกระทำในการเดินขบวน
ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ
หรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย
ม.135/1
กำหนดถึงการกระทำความผิดอาญาฐานใดบ้างที่จะเป็นการก่อการร้ายบ้าง
โดยที่ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ
เพื่อบังคับหรือขู่เข็ญรัฐบาลไทย
รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศให้กระทำหรือไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
เพื่อสร้างความปั่นป่วนเพื่อให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน
ข้อยกเว้นของความผิดฐานก่อการก่อการร้าย
การกระทำในการเดินขบวน
ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ
หรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย
มาตรา 135/2 ผู้ใด
(1)
ขู่เข็ญว่าจะกระทำการก่อการร้าย
โดยมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะกระทำการตามที่ขู่เข็ญจริง หรือ
(2)
สะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดการหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย
ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำความผิดใดๆ
อันเป็นส่วนของแผนการเพื่อก่อการร้าย หรือยุยงประชาชนให้เข้ามีส่วนในการก่อการร้าย
หรือรู้ว่ามีผู้ก่อการร้ายและกระทำการใดอันเป็นการช่วยเหลือปกปิดไว้
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี
หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท
มาตรา
135/3 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตาม มาตรา 135/1 หรือ มาตรา 135/2
ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้นๆ
ถือเป็นข้อยกเว้น
ม.86 ที่โดยหลักแล้วผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดอาญาจะรับโทษเพียงแค่
2 ใน 3
มาตรา
135/4
ผู้ใดเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งมีมติของหรือประกาศภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติกำหนดให้เป็นคณะบุคคลที่มีการกระทำ
อันเป็นการก่อการร้ายและรัฐบาลไทยได้ประกาศให้ความรับรองมติหรือประกาศดังกล่าวด้วยแล้ว
ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท
การก่อการร้าย (Terrorism) กับความผิดทางการเมือง (Political Crime)
ความผิดฐานก่อการร้าย
(Terrorism)
มีความคล้ายกับความผิดทางการเมือง (Political Crime) เพราะอาจมีมูลเหตุจูงใจ (Motive) ทางการเมืองเหมือนกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างกันจนเป็นเส้นแบ่งความผิดทั้งสองประเภทออกจากกัน
คือ วัตถุที่ประสงค์ (Object) ความผิดทางการเมืองนั้นมุ่งกระทำเพื่อตอบโต้หรือคัดค้านรัฐบาลหรือฝ่ายที่ปกครองประเทศ
แต่ความผิดฐานก่อการร้ายมุ่งกระทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกหวาดกลัว (Terror)
ในหมูประชาชนด้วยกัน
ความผิดฐานก่อการร้ายจึงมีลักษณะการกระทำที่รุนแรงและมีความโหดเหี้ยม
เช่น การลอบวางระเบิด ระเบิดพลีชีพ ฆ่าตัดคอ เป็นต้น
การชุมนุมประท้วงในประเทศ
แม้จะมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้กระทำการใดที่จะก่อให้เกิดความหวาดกลัวต่อประชาชน
ตราบนั้นก็ยังไม่ถือว่าเป็นการก่อร้ายได้
ความผิดของผู้ชุมนุมและแกนนำจึงเป็นเพียงแค่ความผิดทางการเมือง (Political
Crime)
..........................................................
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ, อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งข้อมูลอ้างอิง อัศวิน ศุกระศร, ความผิดฐานก่อการร้ายในประเทศไทย : มาตรการป้องกันและปราบปราม, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2546
No comments:
Post a Comment