Wednesday, 15 April 2015

เหตุยกเว้นโทษ : เด็กกระทำความผิด

 เหตุยกเว้นโทษ : เด็กกระทำความผิด


            เหตุยกเว้นโทษสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี และไม่เกิน 15 ปีนั้น กฎหมายพิจารณาถึงตัวผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก ยังไม่รู้ผิดชอบชั่วดีเหมือนกันกับผู้ใหญ่ที่มีประสบการณ์และรู้ผิดรู้ชอบ เด็กนั้นตามอายุแล้วยังเป็นวัยที่ยังไร้เดียงสา ถึงจะหลงผิดกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่าเด็กเหล่านั้นกระทำความผิดตามความนึกคิดแบบเด็ก ซึ่งอาจจะขาดการไตร่ตรองถึงผลที่จะตามมา อีกทั้งการลงโทษทางอาญาแก่เด็กที่กระทำความผิดยังเป็นโทษมากกว่าเป็นผลดี เพราะจะเป็นการผลักดันให้เด็กที่หลงผิดกลายไปเป็นอาชญากรรมที่รุนแรงขึ้นในอนาคตซึ่งแนวคิดนี้กลายเป็นนโยบายทางอาญาที่ในแต่ละประเทศนำไปใช้เพื่อยกเว้นโทษให้กับผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็ก แต่จะมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของอายุ ว่าจะยกเว้นโทษให้เด็กอายุเท่าไหร่ ซึ่งแต่เดิมของไทยนั้นยกเว้นโทษให้สำหรับเด็กที่อายุไม่เกิน 7 ปี แต่ต่อมาก็ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยในปัจจุบันยกเว้นโทษให้สำหรับเด็กที่กระทำความผิดที่มีอายุไม่เกิน 10 ปี

1) การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี ตาม ม.73

            มาตรา 73 เด็กอายุยังไม่เกินสิบปีกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ

            จะเห็นได้ว่าตาม ม.73 นั้นยกเว้นโทษให้สำหรับเด็กที่อายุไม่เกินสิบปีที่กระทำความผิดกฎหมาย โดยถือเอาอายุในวันที่กระทำความผิดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากว่าตอนที่กระทำความผิดนั้นยังเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบปีแม้ต่อมาในระหว่างการดำเนินคดีเด็กจะมีอายุเกินสิบปีแล้วก็ได้รับการยกเว้นโทษเช่นเดิม แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ทั้งเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายและเด็กที่เป็นผู้กระทำความผิด ดังนั้นตามวรรคสองของ ม.73 จึงกำหนดให้ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายด้วย[1]

2) การกระทำความผิดของเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ม.74

            การกระทำความผิดขอเด็กที่มีอายุกว่าสิบแต่ไม่เกิน 15 ปี กฎหมายก็กำหนดให้เป็นเหตุยกเว้นโทษเช่นเดียวกัน มาตรา 74 เด็กอายุกว่าสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะดำเนินการดังต่อไปนี้ โดยถือหลักในการพิจารณาเช่นเดียวกัน จะแตกต่างกันก็แต่เพียงการกระทำความผิดของเด็กตาม ม.74 นั้นกฎหมายให้อำนาจศาลสามารถออกคำสั่งกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ แก่เด็กและผู้ปกครองของเด็ก เพื่อไม่ให้เด็กที่กระทำความผิดกลับมากระทำความผิดซ้ำและหลงผิดไปมากกว่าเดิม ซึ่งมาตรการทางศาลตามมาตรานี้ไม่ใช่โทษทางอาญา เพราะกฎหมายยกเว้นโทษทางอาญาให้ไปแล้ว แต่เป็นมาตรการเพื่อความปลอดภัยที่ศาลสามารถนำมาใช้ได้เพื่อคุ้มครองเด็ก เช่น (1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็ก บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือน หรือ (5) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียน หรือสถานฝึกและอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรมเด็ก เป็นต้น







            [1] พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546










กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส

No comments:

Post a Comment