Monday 9 October 2017

บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้แก่บุคคลใด

บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้แก่บุคคลใด


         มาตรา 28 บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
            (1) พนักงานอัยการ
            (2) ผู้เสียหาย

          จากมาตรา 28 จะเห็นได้ว่า บุคคลที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้มี 2 ประเภท คือ พนักงานอัยการ และผู้เสียหายเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีหลักการดำเนินคดีตามหลักการการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State Prosecution) และการดำเนินคดีอาญาโดยเอกชนผู้เสียหาย (Private Prosecution) โดยที่ไม่มีการจำกัดประเภทคดีที่ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง ผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีอาญาทุกคดีที่ตนเป็นผู้เสียหาย แต่การดำเนินคดีอาญาโดยหลักแล้วเป็นอำนาจและหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล ที่พนักงานอัยการมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ร่วมยุติการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อคดีได้ ตาม มาตรา 32 เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหายโดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใด ๆ ในกระบวนพิจารณา พนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้น ๆ ได้





พิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้

  ตัวอย่างที่ 1 นายหนึ่งและนายสองถูกนายสามทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องนายสามต่อศาลในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และคดีได้อยู่ในระหว่างพิจารณาคดีของศาล ดังนี้นายสองจะยื่นฟ้องนายสามเป็นจำเลยในความผิดดังกล่าวได้อีก เพราะการฟ้องคดีของนายหนึ่งหาตัดสิทธิในการฟ้องคดีของนายสองไม่ เช่นเดียวกับกรณีที่อัยการฟ้องคดีต่อศาล ก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีนั้นอีก

          ตัวอย่างที่ 2 นายหนึ่งและนายสองถูกนายสามทำร้ายร่างกายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส นายหนึ่งได้ยื่นฟ้องนายสามต่อศาลในความผิดฐานทำร้ายร่างกาย และศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนี้นายสองจะยื่นฟ้องนายสามเป็นจำเลยในความผิดดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการลงโทษซ้ำสองในความผิดเดียวกัน (Double Jeopardy) ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการดำเนินคดีอาญา ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปใน มาตรา 39

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำผิดก่อนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก


เนื้อหาส่วนหนึ่งนำมาจากหนังสือถามตอบวิอาญา เล่ม 1 สนใจซื้อได้ที่แอพ MEB และ OOKBEE นะครับ








กฎหมายอาญาภาคทั่วไป
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
กฎหมายอาญาเบื้องต้น คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป อ่านเข้าใจง่าย ใช้เวลาไม่นานในการอ่านก็เข้าใจกฎหมายอาญาได้



108 คำถามกฎหมายอาญา
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือ 108 คำถามกฎหมายอาญา เล่มที่ 1 (ภาคทั่วไป) จัดทำขึ้นมาโดยผู้เขียนประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษำ รวมถึงผู้ที่สนใจกฎหมายอาญาภาคทั่วไปได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายอำญาภาคทั่วไป ซึ่งคำถามทั้งหมดครอบคลุมเนื้อหา กฎหมายอำญาภาคทั่วไป เป็นการเรียนกฎหมายอาญาโดยอาศัยการถามตอบ เมื่ออ่านครบแล้วจะทำให้เข้าใจกฎหมายอาญา โดยที่ไม่รู้สึกเหมือนอ่านตำรา


ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด ความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ความผิดฐานทำร้ายร่างกายสาหัส




ถามตอบวิอาญา เล่ม 1
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
ถามตอบวิอาญา เนื้อหากระบวนยุติธรรมทางอาญาก่อนถึงชั้นศาล หลักการสำคัญในทางอาญา ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา ผู้เสียหาย อำนาจสอบสวน อำนาจฟ้องคดี การระงับคดีอาญา การจับ ขัง จำคุก ค้น ปล่อย

กฎหมายสำหรับสอบตำรวจ
เฉลิมวุฒิ สาระกิจ
www.mebmarket.com
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นคำอธิบายกฎหมาย ไม่ใช่หนังสือเรียบเรียงกฎหมายที่มีแต่ตัวบทกฎหมาย พระราชบัญญัติ เนื้อหาครอบคลุม 3 วิชาหลักสำหรับการสอบตำรวจ คือ กฎหมายอาญาภาคทั่วไป กฎหมายอาญาภาคความผิด กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพยานหลักฐาน

No comments:

Post a Comment